มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร กินเค็มจัด ของหมักดอง อาการอุจจาระมีเลือด อุจจาระมีสีดำ น้ำหนักลด ปวดท้อง ก้อนเนื้อที่ลิ้นปี่มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็ง

มะเร็งกระเพาะอาหาร คือ โรคจากการเกิดเนื้อร้ายชนิดหนึ่ง ที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายหรือเซลล์นั้นเกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ จนเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร แต่สามารถกระจายตัวไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด รังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองได้ มะเร็งกระเพาะอาหารมีสาเหตุของโรคอย่างไร อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคทำอย่างไร สำหรับคนที่กลัวโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต้องทำอย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การเกิดโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยต่างๆ โดยสามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากพบว่าญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารต้องหมั่นตรวจสุขภาพบ่อยๆ
  • การติดเชื้อแบตทีเรีย เฮลโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อโรคที่ทำใหเเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสามารถลามเกิดเนื้อร้ายในกระเพาะอาหารได้
  • การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด เป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งหลายรวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
  • การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง อาหารรมควัน อาหารที่มีดินประสิวเจือปน เป็นต้น
  • กินผักและผลไม้น้อย เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีกากใยอาหาร ที่ช่วยในการล้างและทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการเกิดโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า ๒๐ ปี
  • การเกิดเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้ ซึ่งเนื้องอกบางชนิดสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั้น สามารถแบ่งระยะของโรคได้ เป็น 4 ระยะ ตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งรายละเอียดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 เนื้อร้ายอยู่ในชั้นเยื่อเมือกถึงชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหาร ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าเยื่อบุช่องท้อง แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น ม้าม ลำไส้เล็ก ตับอ่อน และเยื่อบุช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 เนื้อร้ายมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วอวัยวะภายในของร่างกาย

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มต้นนั้น มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด มีลักษณะอาการ คล้ายกับโรคกระเพาะอาหารธรรมดา หรือ โรคแผลที่กระเพาะอาหาร ซึ่งลักษณะ อาการ ดังนี้ อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังกินข้าว คลื่นไส้เล็กน้อยแต่มักไม่อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก เป็นต้น

เมื่อเกิด มะเร็ง รุนแรงมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ลักษณะอาการ คือ มีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จะพบว่าเกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ตาเหลือง ตัวเหลือง มีน้ำในช่องท้อง หายใจลำบาก เป็นต้น

วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารของแพทย์ทำอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ทางแพทย์จะมีวิธีในการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะซักประวัติ เช่น ลักษณะของอาการปวดท้อง สีของอุจจาระ ประวัติการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน
  • ทำการเอกซเรย์กลืนแป้ง
  • อัลตราซาวน์ระบบภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อดูร่องรอยของโรค
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง เพื่อดูร่องรอยของโรคที่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิ
  • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เบาหวาน การทำงานของไต การทำงานของตับ และดูระดับเกลือแร่ในเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งชนิดซีอีเอ (CEA)
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอกและปอด
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

รักษามะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหารนั้น มีวิธีการในการรักษาอยู่ 4 วิธี คือ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา และการประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะใช้การรักษาอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีดังนี้

  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีแรกที่จะใช้ในการรักษา การผ่าตัดนั้นจะทำการผ่าตัดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารออกจากร่างกายออกก่อน
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การใช้เคมีบำบัดนั้นทำเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อร้าย ซึ่งการใช้เคมีบำบัดจะทำร่วมกับการฉายรังสี
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการรังสี ทำเพื่อบรรเทาอาการและลดการแพร่กระจายของเนื้อร้าย
  • การรักษาด้วยการประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายและอวัยวะอื่นๆที่ได้รับผลกระทบค่อยๆฟื้นตัวและหายเอง

ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นยังไม่มีวิธีใดที่มีประสิทธิภาพ 100 % แต่การลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารปิ้งย่าง หลีกเลี่ยงการกินของหมักดอง หลีกเลี่ยงกินอาหารเค็มจัด เลิกการดื่มเหล้าและเลิกการสูบบุหรี่  รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำ

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) คิือ การเกิดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร สาเหตุของโรคจากการกิน เค็มจัด ของหมักดอง อาหารเจือปนดินประสิว มะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะแรกคล้ายโรคกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อแสดงอาการชัดเจน จะมีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลง ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ การรักษาและดูแลเมื่อเป็นมะเร็ง

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) เกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีก้อนที่คอ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก สามารถลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มะเร็งต่อมไทยรอยด์ โรคมะเร็ง ต่อมไทยลอยด์ โรคต่อมไร้ท่อ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ความรุนแรงของโรคไม่มาก การรักษาได้ผลสูงถึงร้อยละ 80 หากรักษาได้ทันท่วงที สามารถหายและอยู่ได้ถึง 10 ถึง 20 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ความรุนแรงของโรคจะสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ว่าคืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อร้ายที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน และ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน รายละเอียดของชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน ภาษาอังกฤษ เรียก Differentiated carcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ถึง ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน พบว่ามะเร็งชนิดนี้ มีไม่มาก ประมาณร้อยละ 5

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ คนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 80 ปี และโอกาสของการเกิดผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคได้ 3 ปัจจัยใหญ่ คือ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์  โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์บางชนิด มีรายงานว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้
  2. สิ่งแวดล้อม รังสีกัมมันตรังสีมีและรังสีไอออนไนซ์ผลต่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์
  3. การรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์

อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคคอพอก คือ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ไม่มีอาการปวด แต่ในบางครั้งก๋มีอาการปวด เมื่อกดที่ก้อนเนื้อจะมีเสียงแหบ  เนื่องจากก้อนเนื้อลุกลามไปถึงเส้นประสาท ทำให้หายใจลำบาก อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและหลอดอาหารได้ จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะถ้าไม่รักษาให้ทันอจากลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก ได้

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งสิ้น 4 ระยะโดย รายละเอียดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 1 มีโรคเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ และมีการลุกลามไปที่โรคกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 2 มะเร็งมีการเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก ศีรษะ สมองและตับ มากที่สุด ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 3 ระยะนี้มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ ลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 4 ระยะนี้มะเร็งมีการลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย และแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือด เข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

การตรวจโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สามารถตรวจได้จาก การสังเกตุอาการเบื้องต้น จากนั้นตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต เพื่อดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับแคลเซียม เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

การรรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ นี้ มีวิธีที่ใช้อยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การให้กินรังสีแร่ไอโอดีนและการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาทั้ง 3 วิธี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน การผ่าตัดจะเป็นขั้นตอนแรกในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่ในการผ่าตัดนิยมผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ส่วน
  • การให้กินแร่รังสีไอโอดีน เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลายน้ำ จะช่วยไม่ให้มะเร็งลุกลามหลังจากผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว ซึ่งการรักษาโดยให้กินแร่รังสีไอโอดีน อาจต้องกินมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เนื่องจากร่างกายถูกตัดต่อมไทรอยดืออกไป จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนการขาดหายไปอย่างเพียงพอ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) การเกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก หากไม่รักษามะเร็งจะลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก สาเหตุของโรค อาการและระยะของโรค การรักษาทำอย่างไร โรคระบบฮอร์โมน โรคนี้ต้องกินยาตลอดชีวิต มะเร็งต่อมไทรอยด์ รักษาได้ ปัจจัยของการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove