ฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus อาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นทั่วตัว รักษาอย่างไรโรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคฝีดาษ เกิดขึ้นครั้งแรงใน ปี พ.ศ. 2301 และ สำหรับประเทศไทยมีการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตคนไทยเสียชีวิตจากโรคฝีดาษมากกว่า 15,000 คน โรคฝีดาษถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากพบการติดเชื้อต้องมีการแจ้งความต่อหน่วยงานสาธารณสุข แต่ในปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

โรคฝีดาษเกิดจากร่างกายติดเชื้อเชื้อไวรัสวาริโอลา ( Variola Virus ) ซึ่งไวรัสขนิดนี้สามารถติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีเชื้อโรค ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนั้น กลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น คนใกล้ชิดกับผู้ป่วย การหายใจ สััมผัสละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อการใช้เครื่องนอน เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วย ล้วนเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งสิ้น

อาการโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษ มีระยะฟักตัว 5 – 17 วัน และเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน หลังจากนั้นจึงจะเห็นอาการของโรคอย่างชัดเจน ลักษณะของอาการจะมีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง และหากเกิดในในเด็กจะมีอาการอาเจียน อาการชัก และหมดสติ ด้วย หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา ทั่วทั้งตัว โดยจะมีอาการคันมากและผื่นจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง จากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดใน 2 สัปดาห์ต่อมา ระยะของการเกิดโรคฝีดาษจะแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก ระยะออกผื่น และ ระยะการติดต่อของโรค ซึ่งแต่ละระยะจะแสดงอาการต่างๆ มีดังนี้

  • ฝีดาษระยะเริ่มแรก อาการในระยะนี้ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ หลังจากนั้นบางรายอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นใน 2 วันแรกโดยผื่นขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ฝีดาษระยะออกผื่น หลังจากมีไข้สูงและแสดงอาการในระยะเริ่มแรกประมาณ 3 ผู้ป่วยจะแสดงอาการผื่นขึ้น ซึ่งผื่นจะเริ่มขึ้นที่หน้า และจะลามไปที่แขน หลัง และขา หลังจากนั้นผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน และผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส ในวันที่ 5 ตุ่มน้ำใสจะขุ่น ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้ง และกลายเป็นสะเก็ดในวันที่ 12 ถึง 13 ของการเกิดโรค
  • ฝีดาษระยะติดต่อ การติดต่อของโรคสามารถเกิดได้ตั้งแต่ช่วยสัปดาห์แรกจนถึงระยะแผลแห้งเป็นสะเก็ด

การรักษาโรคฝีดาษ

แนวทางการรักษาโรคฝีดาษ ปัจจุบันนี้ยังยารักาาโรคได้โดยเฉพาะเจาะจง แต่สามารถหายเองได้ ซึ่งแนวทางการรักษาจะใช้การประคับประครองตามอาการของโรค ป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆที่จะทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากพบมีผู้ป่วยโรคฝีดาษต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคแต่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้นลักษณะอาการ คือ การติดเชื้อโรคและเกิดแผลตามร่างกาย ซึ่งในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่อ่อนแอและเกิดแผลที่ร่างกาย จึงเป็นช่องทางในการติดเชื้ออื่นๆร่วม ซึ่งเป็นอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ลักษณะของอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. ภาวะแทรกซ้อนที่กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

แนวทางการป้องกันโรคฝีดาษ ปัจจุบัน สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซี่งหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร่างกายจะสร้างภูมิต้านทางโรคและอยู่ได้ 3 – 5 ปี หากได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจะอยู่นานขึ้น การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

เลปโตสไปโรซิส leptospirosis โรคฉี่หนู ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียโดยมีหนูเเป็นพาหะนำโรค พบบ่อยในฤดูฝน อาการมีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง การรักษาทำอย่างไรโรคฉี่หนู โรคติดเชื้อ โรคเลปโตสไปโลซิส โรคติดต่อ

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส ภาษาอังกฤษ เรียก leptospirosis คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรียกลุ่ม Leptospira ซึ่งมีสัตว์เป็นภาหะนำโรค เช่น หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง เป็นต้น ซึ่งเชื้อโรคอยู่ในฉี่ของสัตว์ โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเชื้อแบคทีเรียเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการตับอักเสบ ลักษณะอาการสำคัญของโรคหากมีประวัติการลุยน้ำขังหรือลุยโคลน มีิอาการมีไข้สูงฉับพลัน ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว ปวดน่อง สามารถสงสัยได้ว่าอาจติดเชื้อโรคฉี่หนู ให้เข้ารับการตรวจโรคและรักษาให้ทันท่วงที

บุคคลที่มีความเสี่ยงเกิดโรคฉี่หนู

  • กลุ่มคนที่ทำงานขุดลอกท่อระบายน้ำ
  • กลุ่มคนที่ทำงานเกษตรกรชาวนา ชาวสวน ชาวไร ที่อยู่ในพื้นที่บ่อน้ำ
  • กลุ่มผู้ประสบภัยอยู่ในสภาพแวดล้อมน้ำท่วมขัง

สาเหตุของโรคฉี่หนู 

สำหรับสาเหตุหลักของการติดโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira ที่มีพาหะนำโรค คือ หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง ซึ่งเชื้อโรคจะอยู่ที่ไตของสัตว์เมื่อสัตว์ฉี่ออกมากเชื้อโรคจะปะปนในน้ำและโคลน หากคนไปสัมผัสน้ำและโคลนดังกล่าว มีโอกาสได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายมี 2 ลักษณะ คือ ทางตรงการสัมผัสสัตว์หรือโดนกัด และ ทางอ้อมการสัมผัสน้ำหรือโคลนที่เจือปนปัสสาวะของสััตว์มีเชื้อโรค

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

สำหรับอาการของโรคฉี่หนู หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ 2-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ภาวะไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาท และ เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ว่าเป็นความเสี่ยงอาการของโรคฉี่หนู มีดังนี้

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ตาแดงจากภาวะเยื่อบุตาอักเสบ
  • ปวดเมื่อยตามตัว กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงโดยเฉพาะที่น่อง
  • มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น จุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  • ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งอาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

ระยะของการเกิดโรคฉี่หนู

โรคฉี่หนูสามารถแบ่งระยะการเกิดโรค 2 ระยะ คือ ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด และ ระยะร่างกายสร้างภูมิ หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหัว บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา ซึ่งบางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีไข้สูง ร่วมกับเยื่อบุตาแดง
  • ระยะร่างกายสร้างภูมิ  หลังจากมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการมีไข้ขึ้นอีกครั้ง และจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตรวจพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะ1-2 วันของระยะโรคนี้ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ระยะนี้กินเวลา 4-30 วัน

การรักษาโรคฉี่หนู

สำหรับแนวทางการรักษาโรคฉี่หนูในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนู

สำหรับการป้องกันโรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่เครื่องมือป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ และให้กำจัดหนูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยการป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูครับปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลน หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ
  • หากมีบาดแผลที่ขา หรือส่วนที่สามารถสัมผัสน้ำได้ ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • รีบล้างเท้าและร่างกายหลังจากสัมผัสน้ำหรือโคลน โดยให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง
  • ให้ระมัดระวังการสัมผัสน้ำไม่สะอาด เช่น การกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และ ปรุงสุก การเก็บอาหารต้องเก็บให้มิดชิด
  • พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น ให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้

เลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis ) หรือ โรคฉี่หนู ภาวะติดเชื้อจากแบคทีเรียโดยมีหนูเเป็นพาหะนำโรค พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ลักษณะอาการมีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove