แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) ติดเชื้อโรคที่ต่อมทอนซิล ทำให้เจ็บคอบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวต่อมทอนซิลอักเสบ โรคติดเชื้อ ต่อมทอนซิล เจ็บคอ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) คือ ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการ เจ็บคอ เจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

วันนี้เราขอเสนอ โรคต่อมทอลซิลอักเสบ ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักกับเจ้าต่อมทอนซิลก่อน ว่ามันคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร ต่อมทอนซิล ภาษาอังกฤษ เรียก tonsils คือ ต่อมตัวหนึ่งในร่างกาย อยู่บริเวณคอ มีหน้าที่ ดักจับและทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางคอ ต่อมทอนซิลจึงเป็นต่อมที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ่อยที่สุดในร่างกาย รองจากผิวหนัง ในตัวต่อมทอนซิล เป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มต่อมน้ำเหลือง ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด โดยปรกติต่อมทอนซิล จะมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ

ต่อมทอนซิล ในคนคอมีอยู่ 3 ตำแหน่งคือ ต่อมทอนซิลที่อยู่ด้านข้างของช่องปาก เรียก พาลาทีนทอนซิล(palatine tonsil) ต่อมทอนซิลที่อยู่บริเวณโคนลิ้น เรียก ลิงกัวทอนซิล(lingual tonsil) และ ต่อมทอนซิลที่ช่องหลังโพรงจมูก เรียก อาเดียนอยทอนซิล (adenoid tonsil)

การที่ ต่อมทอนซิลอักเสบ นั้น หมายถึง ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ซึ่งการอักเสบอาจจะสามารถลามไปถึงโคนลิ้น และที่ด้านหลังโพรงจมูกได้ สามารถลามจนเกิดโรคคออักเสบได้

สาเหตุของการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

โดยมากเกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่  และบางส่วนเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคจะอาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้จากการหายใจและการสัมผัสเชื้อโรคในช่องทางต่างๆ และมีเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ชื่อ บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส  กลุ่มเอ(group  A beta-hemolytic streptococcus) ซึ่งทำให้เกิดหนองที่ต่อมทอนซิลได้

อาการของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

จะมีอาการคล้ายกับคออักเสบทั่วไป โดยผู้ป่วยจะเจ็บคอ และจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง โดยปรกตอแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมากกว่า 2 วัน ทำให้การกลืนน้ลาย หรืออาหารทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ป่วยบางรายอาจเจ็บหู มีการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร มีกลิ่นปาก เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำการรักษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ การรักษาทั่วไป การให้ยารักษาโรค การรักษาโรคแทรกซ้อน และการผ่าตัด รายละเอียดของการรักษาในระดับต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาในระดับทั่วไป แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดทำงาน และหยุดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้หยุดพักผ่อน และหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรค ให้ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ ให้รักษาความสะอาดของสุขอนามัยต่างๆ รวมถึงอาหาร ทานยาลดไข้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ อมยาอมแก่เจ็บคอ และหากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ให้เข้ารับยาปฏิชีวนะ จากแพทย์
  • การรักษาในระดับใช้ยารักษา ซึ่งหาการพักผ่อน การทานอาหารเบาๆและสะอาดยังไม่ทำให้อาการดีขึ้น จำเป็นต้องให้ยารักษาเพิ่ม ซึ่งให้ยารักษาตามอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
  • การรักษาในระดับรักษาอาการแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ เช่น เกิดหนองที่ต่อมทอนซิล โรคหัวใจ โรคไต ภาวะการหายใจอุดตัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที
  • การรักษาในระดับที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด  สังเกตุจากการที่ต่อมทอนซิลเกิดอักเสบ เป็นหนอง และไม่ตอบสนองการรักษา ทำให้ต่อมทอนซิลโต มีโอกาสทำใหเเกิดมะเร็งที่ต่อมทอนซิลหรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จำเป็นต้องผ่าตักเอาเนื้อร้ายออก

การป้องกันการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยง การสัมผัสกับเชื้อโรค และการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยรายละเอียดดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเกิดโรคก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันรักษาให้หายได้เอง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายอ่อนเพลีย ก็จะทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม เจ็บคอ

อาการหนึ่งเมื่อเกิด โรคต่อมทอนซิลอักเสบ คือ อาการมีไข้ ซึ่งเราขอนำเสนอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ช่วยลดไข้ เมื่อเรามีไข้หากไม่ทำการควบคุมไข้ไม่ให้สูงก้จะ ช่วยลดอาการช็อก เนื่องจากความร้อนในร่างกายสูงเกินไป สมุนไพรช่วยลดไข้ มีดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove