อ้วน ( Obesity ) ภาวะน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปรกติ อ้วน 3 ชนิด อ้วนทั้งตัว อ้วนลูกแอบเปิล อ้วนลูกแพร์

โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคไม่ติดต่อ ภาวะอ้วน

โรคอ้วน หรือ ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ภาษาอังกฤษ เรียก Obesity เป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพนธุกรรมได้ เกิดจากไขมันสะสมในร่างกายมาก โดยปรกติแล้วในเพศชาย จะมีไขมันสะสมที่ไม่เกิน 23 % และในเพศหญิงจะมีไขมันสะสมไม่เกิน 30 % ซึ่งการคำนวนว่าเรามีภาวะน้ำหนักเกิน หรือไม่สามารถทำได้โดย นำน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง และ คูณ 2 จะได้ค่าดัชนีมวลกาย ซึ่ง ค่าปรกติจะอยู่ที่ 18.5 – 23 หากค่าเกินแสดงว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน ถ้าต่ำกว่าค่าปรกติ แสดงว่าน้ำหนักน้อยกว่าปรกติ

ประเภทของโรคอ้วน

สามารถแบ่งลักษณะของการอ้วนได้ 3 ลักษณะ อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล อ้วนแบบลูกแพร์ และอ้วนทั้งตัว รายละเอียดของการอ้วนในลักษณะต่างๆ ดังนี้

  1. อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล ภาษาอังกฤษ เรียก apple-shape obesity เป็นลักษณะอ้วนลงพุง ซึ่งขนาดของรอบเอวจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของสะโพก เกิดจากการสะสมของไขมันที่ช่องท้องจำนวนมาก
  2. อ้วนแบบลูกแพร์ ภาษาอังกฤษ เรียก pear-shape obesity ลักษณะการอ้วนแบบนี้พบมากในเพศหญิง เป็นลักษณะอ้วนชนิดสะโพกใหญ่ เกิดจากการสะสมของไขมันที่สะโพกและน่องมาก
  3. อ้วนทั้งตัว ภาษาอังกฤษ เรียก generalized obesity เป็นลักษณะของการที่ไขมันสะสมในทุกส่วนของร่างกาย

ในปัจจับัน โรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของปัญหาทางสาธารณสุขของทั่วโลก การที่น้ำหนักตัวเกินทำให้เกิดการสะสมของโรคต่างๆ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เหมือนกับโรคเบาหวาน ที่อันตรายของโรคคือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วน โอกาสที่จะเกิดโรคดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีปัญหาในการหายใจ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรดอ้วน

ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ พฤติกรรมการกิน ซึ่งมีการบริโภค อาหารประเภทแป้ง ไขมัน และอาหารที่มีใยอาหารน้อย รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย นอกจากปัญหาเรื่องการกิน ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน การกินยาบางชนิด ซึ่งเราจะแยกสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนเป็นข้อๆ ได้ 5 ข้อดังนี้

  1. โรคอ้วนจากสาเหตุภายนอก คือ พฤติกรรมการรับระทานอาหาร ที่มีไขมันมากเกินไปทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกายมาก เกิดเป็นโรคอ้วน
  2. โรคอ้วนจากสาเหตุภายใน คือ ความผิดปรกติของร่างกายเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ต่างๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง สังเกตุจากจะมีไขมันตามบริเวณต้นแขน ต้นขาและหน้าท้อง มากกว่าปรกติ
  3. โรคอ้วนจากสาเหตุของกรรมพันธุ์ ในพ่อแม่ที่มีภาวะอ้วน พบว่า 80% มีลูกอ้วน
  4. โรคอ้วนจากการกินยาบางชนิด การกินยาประเภทฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือการกินยาคุมกำหนิด มีโอกาสเกิดโรคอ้วนได้
  5. โรคอ้วนจากปัจจัยทางเพศ เราพบว่าเพศหญิงมีโอกาสอ้วนมากกว่าเพศชาย
  6. โรคอ้วนจากปัจจัยอายุ เมื่ออายุมากขึ้นการเผาผลาญของร่างกายลดลง พบว่าเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป จะอ้วนง่าย

การรักษาโรคอ้วน

สามารถทำได้ โดยหลักการคือ การควบคุมอาหาร และหากภาวะอ้วนไม่ได้เกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสม ก็ให้รักษาตามสาเหตุของโรคอ้วน ซึ่งการรักษาสามารถทำได้โดย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยาช่วยดูดซึมไขมัน และการผ่าตัด เป็นต้น

โรคอ้วนเกิดจากภาวะการกินเป็นหลัก การรักษาโรคอ้วนด้วยสมุนไพร ก็มีมาช้านาน การใช้ สมุนไพรที่ช่วยลดน้ำหนักมีอะไรบ้าง เราขอเสนอ สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก มีดังนี้

มะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูมมะตูม ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง
แก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกรแก้วมังกร หม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อนหม่อน
กระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพรกระถิน
พริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริกพริก
เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอมเห็ดหอม
ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้าผักคะน้า

โรคอ้วน ( Obesity) คือ ภาวะการมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตราฐาน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากมีไขมันสะสมในร่างกาย โรคอ้วน แบ่งได้ 3 ชนิด คือ อ้วนทั้งตัว อ้วนลูกแอบเปิล อ้วนลูกแพร์ สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนเป็นอย่างไร โรคอ้วนมีกี่ชนิด ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วน โรคแทรกซ้อนของคนอ้วน การรักษาโรคอ้วน สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก

โรคไทรอยด์ ( Thyroid gland ) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลักคือ ผลิตฮอร์โมน ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จึงหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ และการขาดไอโอดีน หรือการมีไอโอดีนในร่างกายมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคกับต่อมไทรอยด์ได้

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid ) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

สำหรับอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ นั้น ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid carcinoma) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้อย่างไร เมื่อเราพบว่าร่างกายมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน
เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย
หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove