กาฬโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis จากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ทำให้นิ้วเน่าจากการขาดเลือดกาฬโรค โดนหมัดหนูกัด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

การติดเชื้อกาฬโรคในคน

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ วิธีรักษากาฬโรค

อาการของกาฬโรค

สำหรับอาการของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย Bubonic plague, Septicemic plague และ Pneumatic plague รายละเอียดของแต่ละกลุ่มอาการมีดังนี้

  • Bubonic plague  อาการชนิดนี้พบบ่อย อาการจะแสดงหลังจากถูกหมัดหนูกัด ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเข้าไปต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะของต่อมน้ำเหลืองจะแสดงอาการ บวม ถ้ากดจะรู้สึกเจ็บอาการปวดจะมากขึ้น และจะขยับแขน ขาไม่ได้ในเวลาต่อมา สังเกตุง่ายๆจาก ต่อมน้ำเหลืองโต กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • Septicemic plague อาการชนิดนี้ เชื้อโรคจะเข้าไปในกระแสโลหิต จะทำให้ผู้ป่วย ไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก หนูก้น ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อค และนิ้วเน่า จากการขาดเลือด
  • Pneumatic plague อาการชนิดนี้พบไม่มากแต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการสูดเอาเชื้อโรคเช้าทางจมูก ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง ไ่ม่มีแรง ไอและมีเสมหะ เจ็บหน้าอก มีอาการอวก

การรักษากาฬโรค

สามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาป้องกันเมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นกาฬโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน

โรคแทรกซ้อนของกาฬโรค

สำหระบโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค ประกอบด้วย นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง เกิดปอดบวม การหายใจล้มเหลว โลหิตเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกาฬโรค สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ และต้องรักษาสุขอนามัย ให้สะอาด และกำจัดแหล่งอาหารของหนู ไม่ให้มีหนูอยู่ในที่พัก การดูแลตนเอง และการป้องกันกาฬโรค ได้ดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

กาฬโรค ( Peapue ) โรคติดต่อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis เกิดจากโดนหมัดหนูกัด หนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยอาจช็อค และ นิ้วเน่าจากการขาดเลือด การรักษากาฬโรค

ซิฟิลิส ( Syphilis ) เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศโรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคซิฟิลิส ติดต่อสู่คนได้อย่างไร โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ สามารถติดต่อกันได้ในระยะแรก เพราะว่าในระยะนี้ยังไม่มีอาการให้เห็น และผู้ป่วยจะเริ่มมีหูด ในระยะต่อมา นอกจากการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังพบว่า สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสเชื้อโรคทางการสัมผัสมือ นั่งโถส่วมร่วมกัน ผิวหนังมี่มีแผล และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

  • เชื้อที่เป็นสาเหตุ : เกิดจากเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ทรีโพนีมาพัลลิดุม” (Treponema pallidum) มีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) เชื้อชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้นและตายได้ง่ายในที่ที่มีความแห้ง และถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • การติดต่อ : สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 และถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็จะมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์โดยผ่านทางรกและในขณะคลอดได้ด้วย ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักจะเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ
    • เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือเข้าผ่านทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะและทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
    • เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสเป็นเชื้อที่อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) : ประมาณ 10-90 วัน (โดยเฉลี่ยคือประมาณ 21 วัน)

อาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส อาการมี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และTertiary

  • อาการระยะแรก(Primary Syphilis) ผู้ป่วยจะเป็นแผลที่ริมแผลแข็ง หลังจากนั้นประมาณไม่เกิน 3 เดือนจะมีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลจะนูน จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่กดแล้วไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้ แต่เชื้อโรคจะยังอยู่ในกระแสเลือด ผู้ป่วยต้องตรวจเลือด
  • อาการในระยะที่ 2(Secondary Syphilis) ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ จากสาเหตุข้ออักเสบ มีผื่นสีแดงน้ำตาล ตาม มือ เท้าแต่ไม่คัน มีหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย ผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก มีอาการผมร่วง มีไข้ คั้นเนื้อคั้นตัว อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • อาการในระยะที่ 3 (Latent Stage) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น อาการของโรคเหมือนระยะที่สอง
  • อาการในระยะที่ 4 (Late Stage) เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง อาจทำให้ตาบอด และกระดูกหักง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

การตรวจว่าเราติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ เราสามารถทำได้โดย เอาหนองจากแผลไปตรวจเชื้อ หรือการตรวจเลือด

การรักษาโรคซิฟิลิส

สามารถรักษาได้โดยการให้ยา Penicillin และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนด

  • สำหรับซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดย การรักษาสุขอนามัย ป้องกันไม่ให้แผลตามร่างกายติดเชื้อ และใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว และทราบผลเลือดของคู่นอนด้วยว่าปกติ ไม่ติดเชื้อ

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ เมื่อเชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย โรคซิฟิลิส มี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และ Tertiary


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove