ต้อเนื้อ ต้อลม ก้อนเนื้อที่เยื่อบุตาขาว เกิดจากอยู่ในแดดจ้านานๆ ทำให้มองภาพไม่ชัด ระคายเคืองดวงตา รักษาได้ด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ พบบ่อนในเกษตรกรทำงานในที่แจ้งต้อเนื้อ ต้อลม โรคตา โรคดวงตา

โรคต้อเนื้อในประเทศไทย

ต้อเนื้อ เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศเขตร้อนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กันดาร และมีฝุ่นลมจัด (ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนั่นแหละครับ ส่วนประเทศที่มีอากาศหนาวจะไม่ค่อยพบคนเป็นโรคนี้) โรคนี้จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในบ้านเราแทบทุกภาคของประเทศ แต่จะพบเป็นกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ เป็นต้น มักพบหรือเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี (ยังไม่ค่อยพบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ พบได้เหมือนกันแต่น้อยมาก และยังไม่พบโรคนี้เลยในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี) ส่วนอัตราการเกิดโรคนี้ในผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้พอ ๆ กัน

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุของการเกิดต้อเนื้อต้อลม พบว่าเกิดจากดวงตาถูกรังสียูวีนานอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลต่อเซลล์เยื่อบุตาขาวสร้างโปรตีนและไขมันมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนหรือแผ่นหนาบนเยื่อบุตาขาว ต้อเนืิ้อต้อลมเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดจัดตลอดทั้งปี

อาการของโรคต้อเนื้อ

อาการต้อเนื้อต้อลมเกิดจากอะไร เราพบว่าโรคนี้มักจะเกิดกับคนที่ ทำงาน หรือใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้ง ต้องเจอกับแสงแดดจัดเป็นเวลานาน อาการของโรคต้อเนื้อต้อลม คือ จะมีก้อนเนื้อบริเวณตาขาว เวลาเจอฝุ่น เจอลม เจอฝุ่น  จะระคายเคืองมาก ถ้าหากต้อเนื้อลามไปถึงบริเวณตาตำ จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลงลง

การรักษาโรคต้อเนื้อ

สำหรับการรักษาโรคต้อเนื้อต้อลม เราสามารถแบ่งการรักษา 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. ใช้ยาหยอดตา เพื่อลดการระคายเคือง ลดการตาแดง และลดการอักเสบ
  2. ผ่าตัดเอาต้อเนื้อ การผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ใช้การกล้องจุลทรรศน์ เพื่อลอกต้อเนื้อออก และในผู้ป่วยบางรายต้อเนื้อจะกลับมาใหม่ได้ และมักมากกว่าเดิม ต้อเนื้อที่เกิดขึ้นมาใหม่ จะแดงหนา และ มีอาการอักเสบมากกว่าเดิม และการลอกต้อเนื้อใหม่นี้จะยากกว่าเก่ามาก สำหรับการผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 3 วิธี คือ
    1. การลอกต้อเนื้อ เรียก Bare sclera เป็นการตัดเนื้อออกจากเยื่อตาขาว และ ลอกต้อส่วนที่ติดอยู่บนตาดำออก ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากๆ หรือในผู้ป่วยที่ไม่มีการอักเสบ
    2. การลอกต้อเนื้อ และ นำเยื่อบุตามาแปะ เรียก Conjunctival graft โดยวิธีนี้จะทำตามการลอดต้อเนื้อ ร่วมกับการตัดเอาเยื่อตาขาวจากด้านบนของลูกตา มาแปะที่ตาขาว และเย็บด้วยไหม วิธีนี้จะสามารถป้องกันการกลับมาเกิดของต้อเนื้อได้
    3. การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ เรียก Amnion graft จะใช้เยื่อหุ้มรกมาแปะแทนเยื่อบุตา วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ต้อเนื้อมี่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งการใช้เยื่อบุตามาแปะอาจจะไม่เพียงพอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อเนื้อ

  • โรคนี้ส่วนมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าต้อเนื้อจะยื่นเข้าไปปิดตาดำจนมิด ก็อาจจะบังสายตาทำให้มองไม่ถนัดได้ ซึ่งมักจะใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากต้อเนื้อจะค่อย ๆ งอกลุกลามขึ้นอย่างช้า ๆ (โดยปกติก่อนจะถึงขั้นเป็นมากจนปิดตาดำ ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ก่อนแล้ว เว้นแต่ในคนแก่ที่มักรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจปล่อยปละละเลยจนปิดตามิดทั้ง 2 ข้าง ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งการผ่าตัดลอกออกในกรณีนี้จะทำได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก)
  • ต้อเนื้อนี้อาจทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองต่อฝุ่น ลม ได้มากขึ้น และทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และน้ำตาไหลได้บ้างเป็นครั้งคราว (การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองนี้ได้)
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก คือ การเกิดแผลเป็นที่กระจกตา ซึ่งอาจพบในรายที่เป็นมากและปล่อยให้มีการอักเสบบ่อย ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคต้อเนื้อต้อลม คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในที่ทีกลางแจ้งหรือแสงแดดจ้า ใช้แว่นกันแดด เพื่อให้สายตาและป้องกันฝุ่น หลีกเลี่ยงการให้ลมกระแทกตา

การป้องกันการเกิดโรคต้อเนื้อ

สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อเนื้อต้องป้องกัน การถูกกระทบจากปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อเนื้อ รายละเอียด ดังนี้

  • การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แสงแดดจัด ๆ
  • หลีกเลี่ยงการถูกลมกรรโชกกระทบดวงตา
  • ป้องกันการถูกสารละคายเคืองกระทบดวงตา เช่น แสงแดด ลม ฝุ่น และควัน
  • ควรพักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาหนักๆ
  • หากเกิดอาการแสบตา ให้ล้างตาและใบหน้าให้สะอาด

ต้อเนื้อ ต้อลม ก้อนเนื้อที่เยื่อบุตาขาว อยู่ที่แสงแดดจ้าเป็นเวลานานหลายปี ทำให้มองภาพไม่ชัด ระคายเคืองดวงตา สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ โรคสำหรับเกษตรกรทำงานในที่แจ้ง

เบาหวานขึ้นตา ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ส่งผลให้ประสาทจอตาขาดเลือก สายตาพล่ามัว มีเลือดออกในวุ้นตา ลานตาบวมน้ำ วิธีรักษาเบาหวานขึ้นตามีแนวทางอย่างไรเบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ ภาษาอังกฤษเรียก Diabetes retinopathy  เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา มีรายละเอียดอย่างไร สาเหตุ การป้องกัน กานรักษา

ระยะการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

ในบางผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานขึ้นตาในระยะแรก จะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ(macula) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

การรักษาอาการเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการรักษา โดยเบื้องต้น ต้องควบคุมโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

โรคเบาหวานขึ้นตา คือ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ส่งผลให้ประสาทจอตาขาดเลือก สายตาพล่ามัว มีเลือดออกในวุ้นตา ลานตาบวมน้ำ วิธีรักษาเบาหวานขึ้นตามีแนวทางอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove