ตาแห้ง Dry Eyes น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดันโรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ

โรคตาแห้ง คือ โรคเกี่ยวกับตา ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ดวงตาให้มีความชุ่มชื่นและเคลือบกระจกตาไม่พอ หรือมีปริมาณน้อยเกินไป อาการตาแห้ง สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว โรคตาแห้งถือเป็นโรคทางตาชนิดหนึ่ง

ตาแห้ง เป็นภาวะฟิล์มน้ำตา ที่ฉาบอยู่บริเวณส่วนหน้าของลูกตา ไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้เกิดการระคายเคือง ส่งผลต่อการแสบตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา และไม่สบายตา โดย ฟิล์มน้ำตา นั้น มี 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นไขมัน คือ ชั้นนอกสุด ชั้นสารน้ำ  เป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตา และ ชั้นสุกท้าย คือ ชั้นน้ำเมือก สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา

สาเหตุของโรคตาแห้ง

สาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้งนั้น มีสาเหตุจากการเกิดโรคหลากหลายสาเหตุ โดยจะแยกเป็นข้อๆ รายละเอียด ดังนี้

  1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเพศหญิง และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรค Sjogren’s Syndrome จะพบว่ามีอาการตาแห้ง
  2. การใช้ยาในกลุ่ม ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาหวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูงที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ ยาชนิดดังกล่าวอาจทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  3. อาการเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อ หรือการแพ้ยา ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ เกิดจากความผิดปรกติของการสร้างน้ำตา
  5. ส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ ทำให้ทำงานไม่ได้สมดุล จึงมีการสร้างน้ำตาน้อยลง
  6. การเสื่อมของร่างกายตามอายุ โดยส่วนที่เกิดการเสื่อม คือ ต่อมน้ำตา
  7. เกิดจากภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบต่อมน้ำตา
  8. การทำเลสิก ซึ่งเกิดการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระจกตา ทำให้ไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  9. การใช้คอนแทคเลนส์
  10. เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา ส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำตา
  11. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตา ยาที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น

อาเการของโรคตาแห้ง

สำหรับ อาการของโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกฝืดที่ตา ระคายเคืองเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตา ในบางคนขี้ตาจะเป็นเหมือกเหนียวในผู้ป่วยที่ใช้คอนแทคเลนส์ ถ้ามีอาการตาแห้ง ก็จะระคายเคืองมากขึ้น บางครั้งมี อาการน้ำตาไหล เนื่องจากน้ำตาปกติน้อย ทำให้ต่อมน้ำตาทำการบีบน้ำตาออกมาจนมาก อาการของโรคตาแห้งนั้น เราได้แยกเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา มีดังนี้

  • มีอาการฝืดที่ดวงตา ลักษณะคล้ายกับว่าไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงที่ดวงตา
  • มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา
  • มีความไม่สบายตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • มีอาการผิดปรกติของสายตา เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว
  • มีความผิดปรกติของการมองเห็นภาพ เช่น มีอาการภาพซ้อน

โดยอาการต่างๆ เหล่านี้ ที่กล่าวมาในข้างต้น จะเป็นมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวี รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่มีลมพัดแรง อยู่บนเครื่องบิน อยู่ในห้องแอร์ เป็นต้น

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับการรักษาโรคตาแห้งนั้น ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง หมั่นกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการระคายเคือง และให้ดื่มน้ำเสมอ เพื่อรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ปิดท่อระบายน้ำตาจะช่วยให้น้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น เราจะสรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้งให้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม หรือ ปัจัยเสี่ยงที่ทำให้ลมโดนตา แต่หากจำเป็น ให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกัน
  2. ทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ เป็นต้น
  3. อาการตาแห้งเกิดอาการดวงตาขาดน้ำหล่อลื่นดวงตา ให้ใช้สารชดเชยน้ำตา เช่น น้ำตาเทียม และ ยาที่เป็นสารน้ำเหลืองจากเลือด ( Serum ) ของตัวเราเอง เรียก Autologus serum หรือ ใส่แว่นตาที่ทีให้ตาชุม่ชื่น เรียก Moist chamber
  4. ใช้ยาหยอดตาช่วยเพื่อลดการอักเสบของดวงตา แต่การใช้ยาหยอดตา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  5. ใช้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เรียก Immunosuppressant ยากดภูมิคุ้มกันโรคจะช่วยลดการอักเสบของดวงตา
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตาดวงตา เป็น อาหารที่มีโอเมกา 3 จะช่วยให้ภาวะตาแห้งดีขึ้นได้
  7. การผ่าตัดเื่อทำการลดการระเหยของน้ำตา มีการผ่าตัด 4 ลักษณะ เพื่อรักษาอาการตาแห้ง ประกอบด้วย
    1. การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก
    2. การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร
    3. การใช้คอนแทคเลนส์ ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Scleral lens เป็นคอนแทคเลนส์ที่ช่วย อุ้มน้ำตาให้มากขึ้น
    4. การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

การป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแห้งต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของอาการตาแห้งทั้งหมด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • หากต้องให้สายตาอย่างหนัก ต้องหาเวลาพักสายตาในทุกๆ 60 นาที
  • กระพริบตาบ่อยๆให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง
  • หากระคายเคืองตาให้ใช้น้ำตาเทียมหยอด เพื่อลดการระคายเคือง
  • ไม่ควรสวมคอนเทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมแว่นกันแดนเมื่อต้องออกแดดนานๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือย
ลูกเดือย
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม

ตาแห้ง ( Dry Eyes ) น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา ไม่สบายตา วิธีรักษาโรคตาแห้งต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดัน

โรคตาแดง conjuntiva เยื่อบุตาอักเสบ มี 2 แบบ ตาแดงเฉียบพลัน และ ตาแดงเรื้อรัง เกิดจากอาการป่วยไข้ อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา รักษาอย่างไรโรคตาแดง ดวงตาอักเสบ โรคตา โรคติดต่อ

โรคตาแดงเป็นโรคตาชนิดหนึ่ง เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ( conjuntiva ) โรคตาแดงที่พบมี 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง โรคตาแดง คือ ภาวะตาขาวเป็นสีแดงผิดปรกติ ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดโรคหลายสาเหตุ เช่น อาการป่วยไข้  อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้อาการต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดอาการตาแดง คือ เยื่อตา บริเวณตาขาว เกิดการอักเสบ จากการติดเชื้อโรค

สาเหตุของโรคตาแดง

สาเหตุของภาวะตาแดง เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น โดยสาเหตุที่ทำให้เยื้อตาอักเสบ คือ เกิดจากติดเชื้อ แต่เชื้อเหล่านี้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ และจะหายไปเองภายใน 14 วัน  ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา การใช้น้ำตาเทียม การใช้เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัส

อาการของโรคตาแดง

สำหรับอาการของโรคตาแดง  อาการที่เห็นชัด คือ คันตา ขี้ตาใสเหมือนน้ำตา ขี้ตาเป็นเมือกขาว ขี้ตาเป็นหนอง ตาแดง หากพบว่าตาเป็นสีแดง มีอาการคัน และมีขี้ตาลักษณะดังกล่าวมาในข้างต้น สันนิฐานได้เลยว่าเป็นตาแดง โดยเราจะแยกอาการของการเกิดโรคตาแดงเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ดังนี้

  • อาการคันที่ตา ซี่งมักจะเกิดจากการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยการคันตานั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ว่าจะมากหรือน้อย  และ สาเหตุหนึ่งของอาการคันตาที่ไม่ใช่สาเหตุของภูมิแพ้ จะเกิดจาก โรคหอบหืด หรือ อาการผื่นคัน
  • ขี้ตามีลักษณะใส จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ โรคภูมิแพ้
  • ขี้ตามีลักษณะเป็นเมือกขาว จะเกิดจากตาแห้ง หรือ อาการของโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตามีลักษณะเป็นหนอง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • อาการตาแดงที่เกิดขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง หรือ ข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะอาการเช่นนี้จะเกิดกับอาการของโรคภูมิแพ้
  • อาการปวดตา หรือ มีอาการสายตาสู้แสงแดดจ้าไม่ได้ เป็นอาการตาแดงที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น โรคต้อหิน อาการม่านตาอักเสบ เป็นต้น หากพบว่ามีอาการปวดที่ตา ให้รีบพบแพทย์ด่วน
  • อาการสายตาพล่ามัว หากแม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์

การรักษาโรคตาแดง

สำหรับโรคตาแดง นั้นโดยปรกติแล้วร่างกายจะรักษาตัวเอง อาการตาแดงจะหายไปได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตาแดงมากระทบซ้ำ โดยแนวทางในการรักษาโรคตาแดง มีดังนี้

  1. ในกรณีโรคตาแดงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรีย จะใช้ยาปฏิชีวนะ ประกอบด้วย ยาหยอดตา หรืออาจจะมียาป้ายตา ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องยาแบบฉีดและรักปรทานร่วมด้วย
  2. ในกรณีโรคตาแดงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเชื้อไวรัส จะใช้ยาต้านไวรัส และให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการคัน ยาแก้ปวด ส่วนมากการตาแดงจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง
  3. ในกรณีเป็นโรคตาแดงที่มีสาเหตุจากโรคภูมิแพ้ แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้

การป้องกันโรคตาแดง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแดง ให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดอาการอักเสบหรือ  ระคายเคืองที่เยือตา โดยเราได้แยกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  1. ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  2. ล้างมือให้บ่อย
  3. ใส่แว่นป้องกันในการทำกิจกรรมต่างๆที่จะมีสารมาระคายเคืองดวงตา
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง
  5. อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  6. อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  7. อย่าสัมผัสมือ ของผู้ป่วยโรคตาแดง

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุม
มะรุม
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม

โรคตาแดง ( conjuntiva ) เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ มี 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง วิธีรักษาโรคตาแดง สาเหตุของการเกิดโรค เช่น อาการป่วยไข้ อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา เป็นต้น

 


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove