แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove