นิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ นิ่วน้ำดี เกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่และชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลืองนิ่วถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วที่ถุงน้ำดี รักษานิ่วถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี ภาษาอังกฤษเรียก Gallstone หรือ Cholelithiasis คือ ภาวะขาดความสมดุลของสารประกอบในน้ำดี จึงทำให้เกิดการตกผลึกเป็นก้อนนิ่ว ขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี โดยทั่วไปโรคนี้ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ เป็นโรคของผู้ใหญ่ พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ข้อสังเกตุสัญญาณว่าเรามีโอกาศเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี มีข้อสังเกตุ ดังนี้

  1.  มีอาการปวดท้อง จุกเสียด และแน่น บริเวณลิ้นปีี่หรือใต้ชายโครงด้านขวา
  2. มีอาการอาหารไม่ย่อย และ อิ่มง่าย หลังจากกินอาหารที่มีความมัน
  3. มีอาการคลี่นไส้และอาเจียน พร้อมกับมีไข้
  4. มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

สาเหตุของการเกินนิ่วในถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี จะเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับตับ ซึ่งตับจะสร้างน้ำดี และนำไปเก็ยที่ถุงน้ำดี เมื่อร่างกายต้องการน้ำดีเพื่นนำไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีจะส่งน้ำดีผ่านทางท่อน้ำดี ไปยังลำไส้เพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหาร การเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี เกิดจากการสะสมสารประกอบในน้ำดีที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดการตกผลึก เป็นนิ่ว และเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดก้อนนิ่วที่ถุงน้ำดี มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะคอเล็สเตอรัลสูง ในคนอ้วนทำให้ความสามารถการบีบตัวของถุงน้ำดีน้อยลง
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ระดับคอเลสเตอรัลในน้ำดีสูง
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • เพศ ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสการเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากการตั้งครรถ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้คอเรสเตอรัลสูง
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้การสะสมคอเรสเตอรัลมีมากขึ้น
  • การกินยาลดไขมัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี สามารถแบ่งชนิดของนิ่วได้ 3 ชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) สามารถพบได้ร้อยละ 80 ของสาเหตุการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ลักษณะจะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือ เขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากในน้ำดี และถุงน้ำดีไม่สามารถบีบออกได้มากพอ จนเกิดการสะสม
  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสี หรือ บิลิรูบิน (pigment stones) พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง หรือ คนที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจาง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วนโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถพบอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บริเวณช่วงท้องส่วนบน หรือ ชายโครงด้านขวา มีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบัก หรือ บริเวณไหล่ด้านขวา
  • มีอาการอาเจียน และ คลื่นไส้
  • มีอาการด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • มีไข้
  • มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ มีแนวทางการรักษา คือ การผ่าตัดถุงน้ำดี การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง  การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนในกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การรักษาเริ่มต้นด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การลดกรดในกระเพราอาหาร ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดี และให้ผู้ป่วยงดการรับประทานอาหารมัน ๆ
  • การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี การใช้ยาสามารถรักษาได้ผลกับนิ่วบางชนิดเท่านั้น และผู้ป่วยยังต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL )  เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ป่วยจะปวดท้อง และมีอัตราการรักษาสำเร็จไม่สูง การรักษาด้วยวิธีทนี้ปัจจุบันแพทย์ไม่นิยมใช้
  • การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ( Cholecystectomy ) เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่มีผลข้างเคียง และ ต้องป้องกันและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography – ERCP) ใช้สำหรับการรักษาในผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี

การป้องกันการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • ควบคุมอาหาร ลดการกินอาหารที่มีความมัน มีคอเสเตอรัลสูง รวมถึงอาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคนิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ เช่น นิ่วน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี หรือ นิ่วในถุงน้ำดี การเกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่ และ ชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง

ฝีที่ตับ ภาวะติดเชื้อที่ตับ สัญญานเตือนโรคฝีในตับ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน เกิดได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและป้องกันการเกิดฝีในตับโรคฝีที่ตับ โรคฝีตับ โรคตับ โรคติดเชื้อ

โรคฝีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver abscess เป็นภาวะการติดเชื้อที่ตับจนเกิดฝี ลักษณะ มีหนองขึ้นที่ตับ ฝีสามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งจุด การเกิดฝีที่ตับ นั้นอาจเกิดร่วมกับอวัยวะอื่นๆได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อโรค โรคนี้ไม่ใช่โรคที่พบได้ทั่วไป แต่สามารถเกิดได้กับ คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ

สาเหตุของการเกิดฝีที่ตับ

การเกิดโรคฝีที่ตับ นั้นเกิดจากการติดเชื้อโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด หรือ เชื้อรา แต่สาเหตุของการเกิดฝีที่ตับนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีอัตราสูงที่สุด พบว่า ร้อยละ 80 ของผุ้ป่วยเิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่า เชื้อโรคที่พบบ่อย คือ เชื้อแบคทีเรีย E. coli รองลงมา คือ แบคทีเรีย Klebsiella ในส่วนของการเกิดฝีที่ตับจากเชื้อบิด นั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคบิด ที่เรียกว่า “ โรคบิดมีตัว ” พบร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากการติดเชื้อบอด และ การเกิดฝีที่ตับจากเชื้อรา พบว่ามีอัตราการเกิดจากเชื้อรา ร้อยละ 10 และมักเกิดจากเชื้อราของตับในกลุ่ม Candida มักจะพบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝีที่ตับของ กลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และ โรคเอดส์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝีที่ตับ

สำหรับโอกาสที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคฝีที่ตับ จะเป็นลักษณะของการอักเสบในช่องท้องอย่างรุนแรง ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การเกิดอุบัตติเหตุกระทบกระเทือนต่อตับ การถูกกระแทกอย่างรุนแรง การถูกแทงที่ท้อง รวมถึงการติดเชื้อโรค โดยสามารถสรุปสาเหตุปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มีดังนี้

  • การเกิดภาวะอักเสบที่ช่องท้อง เช่น การเกิดโรคไส้ติ่ง การเกิดหนองในช่องท้อง เป็นต้น
  • การติดเชื้อโรคในกระแสเลือด จนเกิดการแพร่กระจายสู่ตับ
  • การเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้การทำงานของตับอ่อนแอ และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • การเกิดแผลในช่องท้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  • การอักเสบที่ระบบน้ำดี เช่น โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
  • การเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ จะเกิดในคนที่มีอาการป่วย เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

อาการผู้ป่วนโรคฝีที่ตับ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคฝีที่ตับ นั้น จะมีไข้ และปวดท้องตอนบนด้านขาว และ พบมีอาการอื่นร่วมด้วย โดยมีอาการให้สังเกตุ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร
  • เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดลง และผอมลงมาก
  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง อาการจากระบบน้ำดี
  • มีอาการหนาวสั่น

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีที่ตับ

สำหรับการวินิจฉัยโรคฝีที่ตับ นั้น แพทย์จะทำการซักประวัติต่างๆ เช่น อาการที่เกิดขึ้น ประวัติการเกิดโรคก่อนหน้านี้ ประวัติการเดินทาง ที่อยู่อาศัย จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกาย อย่างละเอียด ดูการทำงานของตับ การตรวจภาพของตับด้วยการทำอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ และ ต้องดูดหนองที่ตับ เพื่อหาเชื้อโรคที่ติดเชื้อ รวมถึงตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคฝีที่ตับ

สำหรับการรักษาโรคฝีที่ตับ นั้นต้องทำการระบายหนองออกจากตับ รวมกับการให้ยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งการให้ยานั้นจะให้ทั้งทางการกินและ ให้ยาฆ่าเชื้อโรคผ่านทางหลอดเลือดดำด้วย นอกจากนั้นแล้ว จะทำการรักษาอาการอื่นๆ ที่เกิดรวม เช่น ให้ยาแก้ปวด ให้น้ำเกลือ เพื่อทดแทนสารอาหารที่เสียไป

โรคฝีที่ตับ นั้นจัดว่าเป็นที่มีความโรครุนแรงสูงแต่สามารถรักษาให้หายได้  โดยปัจจัยการรักษาอยู่ที่ สภาพร่างกายและจิตใจของผุ้ป่วยด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคฝีที่ตับมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกัน โดยต้องระวัง การเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และ การดื้อยา

การป้องกันการเกิดโรคฝีที่ตับ

สำหรับการป้องกันโรคฝีที่ตับ นั้นต้องเริ่มจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการกระแทก ทำให้เกิดการติดเชื้อภายในช่องท้อง โดยข้อควรปฏิบัติในการป้องกันการเกิดโรคฝีที่ตับ มีดังนี้

  • ให้รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหาร ให้ล้างมือให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหาร รวมถึงหลังจากการเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วย
  • รักษาความสะอาดของอาหารที่จะรับประทาน เพื่อป้องกันโอกาสของการติดเชื้อโรค
  • ไม่รับประทานอาหารที่มีโอกาสมีเชื้อโรค เช่น อาหารสุกๆ ดิบๆ
  • การรับประทานยา ให้อยู่ในการสั่งยาของแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง

ฝีที่ตับ โรคอันตรายเกิดจากการติดเชื้อของตับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน สัญญานเตือนโรคฝีในตับ สามารถเกิดได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาฝีในตับ และ การป้องกันการเกิดฝีในตับ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove