โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส leptospirosis ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย มีหนูเเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง โรคฉี่หนู เล็ปโตสไปโรซิส โรคติดเชื้อ โรคจากหนู

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส ภาษาอังกฤษ เรียก leptospirosis โรคที่มากับน้ำท่วม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบททีเรียทำให้เกิดการอักเสบของตับ การอักเสบของไต อาการที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว หากเป็นมากจะมีอาการดีซ่านและปัสสาวะได้น้อย โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคฉี่หนู เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในของโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ สัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั่วโลก

สาเหตุของการเกิดโรคฉี่หนู 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira ที่มีพาหะนำโรค คือ หนู ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้จะมีเชื้อโรคที่ไต เมื่อ ฉี่ออกมาก เชื้อโรคก็ออกมาด้วย เมื่อเชื้อโรคปะปนกับน้ำและโคลน หากคนไปสัมผัส และ รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดโรคขึ้น โดยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การเข้าสู่ร่างกายทางตรง และ การเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรับเชื้อโรคโดยตรง จากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนกัด เป็นต้น
  2. การรับเชื้อโรคทางอ้อม เช่น การรับเชื้อจากการสัมผัสน้ำหรือโคลนที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ โดยเชื้อโรคจะเข้าทางผิวหนังผ่านแผล นอกจากแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกาย ผ่านเยื่อบุในปาก ตา จมูก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

สำหรับอาการของโรคฉี่หนู หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ 2-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ภาวะไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาท และ เสียชีวิตในที่สุด

  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

ระยะของการเกิดโรคฉี่หนู นั้นมี 2 ระยะ คือ ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด และ ระยะร่างกายสร้างภูมิ หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหัว บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา ซึ่งบางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีไข้สูง ร่วมกับเยื่อบุตาแดง
  • ระยะร่างกายสร้างภูมิ  หลังจากมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการมีไข้ขึ้นอีกครั้ง และจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตรวจพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะ1-2 วันของระยะโรคนี้ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ระยะนี้กินเวลา 4-30 วัน

การรักษาโรคฉี่หนู

สำหรับการรักษาโรคฉี่หนู หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนู

สำหรับการป้องกันโรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่เครื่องมือป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ และให้กำจัดหนูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยการป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูครับปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลน หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ
  • หากมีบาดแผลที่ขา หรือส่วนที่สามารถสัมผัสน้ำได้ ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • รีบล้างเท้าและร่างกายหลังจากสัมผัสน้ำหรือโคลน โดยให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง
  • ให้ระมัดระวังการสัมผัสน้ำไม่สะอาด เช่น การกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และ ปรุงสุก การเก็บอาหารต้องเก็บให้มิดชิด
  • พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น ให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้

โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อที่มีหนูเเป็นพาหะนำโรค โรคที่มากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ ไตอักเสบ อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง การรักษาและการป้องกันโรคฉี่หนู

กาฬโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis จากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ทำให้นิ้วเน่าจากการขาดเลือดกาฬโรค โดนหมัดหนูกัด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

การติดเชื้อกาฬโรคในคน

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ วิธีรักษากาฬโรค

อาการของกาฬโรค

สำหรับอาการของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย Bubonic plague, Septicemic plague และ Pneumatic plague รายละเอียดของแต่ละกลุ่มอาการมีดังนี้

  • Bubonic plague  อาการชนิดนี้พบบ่อย อาการจะแสดงหลังจากถูกหมัดหนูกัด ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเข้าไปต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะของต่อมน้ำเหลืองจะแสดงอาการ บวม ถ้ากดจะรู้สึกเจ็บอาการปวดจะมากขึ้น และจะขยับแขน ขาไม่ได้ในเวลาต่อมา สังเกตุง่ายๆจาก ต่อมน้ำเหลืองโต กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • Septicemic plague อาการชนิดนี้ เชื้อโรคจะเข้าไปในกระแสโลหิต จะทำให้ผู้ป่วย ไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก หนูก้น ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อค และนิ้วเน่า จากการขาดเลือด
  • Pneumatic plague อาการชนิดนี้พบไม่มากแต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการสูดเอาเชื้อโรคเช้าทางจมูก ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง ไ่ม่มีแรง ไอและมีเสมหะ เจ็บหน้าอก มีอาการอวก

การรักษากาฬโรค

สามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาป้องกันเมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นกาฬโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน

โรคแทรกซ้อนของกาฬโรค

สำหระบโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค ประกอบด้วย นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง เกิดปอดบวม การหายใจล้มเหลว โลหิตเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกาฬโรค สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ และต้องรักษาสุขอนามัย ให้สะอาด และกำจัดแหล่งอาหารของหนู ไม่ให้มีหนูอยู่ในที่พัก การดูแลตนเอง และการป้องกันกาฬโรค ได้ดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

กาฬโรค ( Peapue ) โรคติดต่อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis เกิดจากโดนหมัดหนูกัด หนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกตามปาก จมูก ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยอาจช็อค และ นิ้วเน่าจากการขาดเลือด การรักษากาฬโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove