หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับ นิ้วเท้าชา เกิดจากการนั่งนานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้

  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการนั่งอยู่กัยที่นานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลัง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค

ข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ข้อกระดูก อากาของโรคปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก มีหนองที่ข้อกระดูก แนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

โรคข้ออักเสบ โรคข้อ โรคกระดูก โรคข้อและกระดูก

หากท่านมี อาการปวดข้อกระดูก มี อาการแดง ร้อน ตามข้อกระดูกแล้ว อย่าพึ่งคิดว่าเป็น โรคเก๊าท์ อาการปวดข้อกระดูก มีหลายโรค ซึ่ง โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นอีก โรคที่มีอาการปวดตามข้อ รวมอยู่ด้วย และความอันตรายของโรคก็มีมาก หากไม่รักษาอาจพิการถึงเสียชีวิตได้

โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ เรียก Septic arthritis โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่พบส่วนใหญ่ เป็นเชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) อาการที่พบ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก และจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการทุพลภาพสูง หากสงสัยว่าเรากำลังมีอาการปวดข้อ เป็นข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ กัน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก รวมถึงโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ มาทำความรู้จัก สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ อาการของโรคเป็นอย่างไร การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้วินิจฉัยจากอะไร การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ จะมีอาการปวดข้อกระดูก เนื่องจากมีหนอง ซึ่งเราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อหนองใน มาดูรายละเอียดของสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  1. สาเหตุของข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 3 ช่องทาง คือ ติดเชื้อจากแผลจากผิวหนังและกระแสเลือด  ติดเชื้อจากภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ
  2. สาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อหนองในแท้ เชื้อโรคจากโรคหนองในแท้ มีอันตรายสูง เป็นอันตราย หากเกิดการติดเชื้อโรคหนองในที่ข้อกระดูก อัตราการตายและการทุพพลภาพสูง กลุ่นคนที่ต้องระวังการติดเชื้อจากหนองใน คือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้มีประจำเดือน ผู้ขาดคอมพลีเมนต์  และผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี

อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

เราจะแยกอาการของ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ตามสาเหตุของการติดเชื้อ เป็น อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั่วไป และ อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน รายละเอียดของอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ซึ่งข้อที่พบบ่อย คือ ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือและข้อศอก นอกจากอาการปวด บวม แล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่นด้วย แต่อาการนี้จะหายเองภายใน 45 วัน
  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ลักษณะของอาการปวดจะย้ายที่ไปเรื่อยๆ ข้อกระดูกที่พบว่าปวด คือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้าและข้อนิ้วมือ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ นั้น โดยเริ่มต้นสามารถทำได้โดย การสอบถามอาการของผิดปรกติจากผู้ป่วย และประวัติต่างๆ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหมือนโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว เพื่อให้เกิดความแน่ใจ สามารถทำได้โดยการตรวจเชื้อโรค จากการเจาะน้ำข้อกระดูกไปตรวจ การเจาะCBC และการตรวจทางรังสีวิทยา โดยรานละเอียด ดังนี้

  1. การเจาะน้ำที่ข้อกระดูกไปตรวจ ดูระดับน้ำตาล หากมีระดับน้ำตาลต่ำ มีโอกาสเจอเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  2. การเจาะ CBC เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาว
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกรอบ ๆ ข้อ หากพบว่าบางลงหลังการติดเชื้อได้ 7 วันและจะพบว่าช่องว่างระหว่างข้อแคบลงหลังจากติดเชื้อได้ 14 วัน แสดงว่ามีการติดเชื้อ

การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การรักษาภาวะข้ออักเสบจากการติดเชื้อโรคนั้น สามารถทำการรักษาโดยการดูดหนองออกจากข้อกระดูกให้หมดและใช้ยาปฏิชีวนะ และรักษาโดยการประคับประครองอาการแทรกซ้อน ตามลำดับ รายละเอียดของการรักษา มีดังนี้

  • เจาะข้อกระดูก เพื่อทำการระบายหนองออกจากข้อกระดูก การเจาะจะง่ายหากเป็นข้กระดูกหัวเข่า แต่ถ้าเป็นข้อกระดูกอื่นๆ เช่น ข้อสะโพก หรือหัวไหล จะเจาะยาก ต้องใช้การเจาะด้วยการส่องกล้อง
  • จากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะหนองอาจไม่หมด ซึ่งเชื้อโรคสามารถเจิญเติบโตต่อได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระยะแรกจะให้ยาโดยการฉีด จากนั้นหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ จะให้ยา เพื่อฆ่าเชื้อให้หมดและไม่กลับมาเจริญเติบโตในข้อกระดูก
  • จากนั้นเป็นระยะเวลาของการประคับประคองการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น การใช้ยาแก้ปวด เฝ้าระวังการช็อกจากการขาดน้ำ

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

  • ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน ดังนั้น ต้องระวัง และป้องกัน หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคหนองใน
  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อนั้น เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือดทางแผล ดังนั้น หากเกิดแผลต้องระวังการติดเชื้อ ทำความสะอากแผลให้สะอาด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนที่เพียงพอทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายทำงานปรกติ และร่างกายแข็งแรง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

อาการปวดทำให้ผู้ป่วย โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ทรมาน การแก้อาการปวด ช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เราจึงของแนะนำ สมุนไพร ช่วยแก้ปวด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ

โรคข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย อาการโรคข้ออักเสบ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากการติดเชื้อ มีหนองที่ข้อกระดูก โรคระบบข้อและกระดูก สาหตุ อาการ รักษาอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove