ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ภาวะอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ปวดบวมข้อมือหรือโคนนิ้วหัวแม่มือ พบในคนทำงานออฟฟิตและสตรีวัยกลางคนปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคข้อและกระดูก ชาแขนชาข้อมือ

โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ เป็น กลุ่มอาการของโรคที่เกิดกับเอ็นและข้อมือ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ  ที่อยู่บริเวณข้อมือ หรือ โคนนิ้วหัวแม่มือ มีอาการปวด และ บวม มีอาการหนาตัวของเส้นเอ็น โรคนี้พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าเพศชาย และพบมากในคนช่วงอายุ 30 ถึง 50 ปี

อาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ นั้น จะมีชื่อเรียกต่างกันตามจุดที่เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น เช่น

  • หากเกิดการอักเสบที่จ้อศอก เรียก โรคข้อศอกนักเทนนิส ( tennis elbow ) เป็น การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก พบมากใน นักกีฬาที่ใช้การตี ช่างไม้ และ ช่างทาสี เป็นต้น
  • หากเกิดที่ข้อหัวไหล่ เรียก โรคข้อไหล่นักว่ายน้ำ ( swimmer’s shoulder ) เป็น การอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณไหล่ พบบ่อยในนักกีฬาที่ใช้หัวไหล่มาก เช่น นักว่ายน้ำ นักเทนนิส และ นักยำน้ำหนักเป็นต้น
  • หากเกิดอาการอักเสบที่ข้อมือ เรียก โรคเดอเกอร์แวง ( de Quervain’s disease ) หรือ โรคปลอกเอ็นหุ้มข้อมืออักเสบ เป็นอาการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้ม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต ที่ต้องใช้ข้อมือและนิ้วหัวแม่มือบ่อย
  • หากเกิดที่นิ้ว เรียกว่า โรคนิ้วล็อก ( trigger finger ) เป็นอการอักเสบของเส้นเอ็นที่บังคับการงอของนิ้วมือ พบบ่อยในนักกีฬาที่ต้องจับไม้แน่นๆ เช่น นักกีฬาเทนนิส นักกีฬาแบดมินตัน นักกอล์ฟ และคนทำสวน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคปลอกหุ้มข้อมืออักเสบ

สำหรับสาเหตุของการอักเสบที่เส้นเอ็นและปลอกหุ้มข้อมือนั้น มักเกิดการใช้งานข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ หนักและไม่ถูกวิธี นอกจากนี้พบว่าเกิดจากอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บ ทำงานหนัก หรือ การทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเอ็นที่ข้อมืออย่างหนักและซ้ำ อย่างเป็นประจำ

อาการของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

สำหรับอาการที่พบ สำหรับผู้ที่ีมีอาการอักเสบที่เอ็นข้อมือ คือ จะมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ ลักษณะเป็นๆหายๆ และบางครั้งเจ็บไปถึงข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น เมื่อต้องหยิบจับสิ่งของ และอาจมีอาการบวมตรงโคนนิ้ว จะปวดมากขึ้น ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือ การบิดเสื้อผ้า การยกขันน้ำ การกวาดพื้น เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายมีก้อนบริเวณข้อมือ

การรักษาอาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การรักษาโดยไม่ใช้วิธีการผ่าตัด และ การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาโดยการไม่ใช้วิธีการผ่าตัด เช่น

  1. หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือ นิ้วมือ และกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือหยิบจับ
  2. ใส่เฝือกอ่อนเพื่อดามบริเวณโคนของนิ้วมือ เพื่อลอการเคลือนไหว อันเป็นสาเหตุของการเจ็บปวด
  3. ทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบ จะช่วยกดอาการเจ็บปวดลงได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
  4. การนวด โดยการประคบร้อนและการประคบเย็น จะช่วยให้ผ่อนคลายความปวด

การรักษาโดวิธีการผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลค่อนข้างดี แต่การผ่าตัดจะทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยการบ่งชี้ว่าต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีอาการปวดมาก ต้องเข้ารับการฉีดยาสเตียรอยด์ แต่อาการไม่ดีขึ้น โดยการผ่าตั้นนั้นแพทย์จะฉีดยาชา ใช้ยางยืดรัดแขน เพื่อห้ามเลือด ใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็น อยู่ให้แยกจากกัน และเย็บแผล หลังจากการผ่าตัด ต้องทำการล้างผลทุกวัน และตัดไหมภายใน 10 วัน และต้องพบแพทย์เพื่อตรวจทุก 1 ถึง 2 สัปดาห์ในระยะแรก

ภาวะแทรกซ้อนที่พบจากการรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบจากการผ่าตัด

  • เกิดอาการเจ็บบริเวณผ่าตัด และ เกิดพังผืดใหม่หลังผ่าตัด
  • เกิดแผลเป็นคีลอยด์
  • มีโอกาสเสี่ยงเกิดอันตรายต่อเส้นประสาท ทำให้มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน
  • เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ นูนขึ้นเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือ

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

  1. ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว ที่จะทำให้ปว และเจ็บปวดเส้นเอ็น
  2. บริหารข้อมือเป็นประจำ และต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
  3. หลีกเลี่ยงการใช้งานของข้ออย่างหนัก เพื่อป้องกันการเกิดการอักเสบอีกครั้ง

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

กระวาน ใบกระวาน สมุนไพร สมุนไพรไทยกระวาน โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพาโหระพา
ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดันมะดัน
ต้นมะยม มะยม สรรพคุณของมะยม สมุนไพรมะยม ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคข้อและกระดูก การอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ปวดบวม บริเวณข้อมือ หรือ โคนนิ้วหัวแม่มือ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต พบมากในสตรีวัยกลางคน

กระดูกบาง กระดูกพรุน กระดูกเปราะ ภาวะมวลกระดูกบาง โรคในสังคมผู้สูงวัย อาการปวดกระดูก กระดูกแตกหักง่าย พบในสตรีวัยหมดประจำเดือนและผู้สูงอายุ การรักษาทำอย่างไร โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ โรคข้อและกระดูก

โรคกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกเปราะ ( Osteoporosis ) คือ ภาวะมวลกระดูกของร่างกายต่ำกว่ามาตรฐาน โดย มวลกระดูกของโรคกระดูกบาง ประมาณ -1 ถึงน้อยกว่า -2.5 sd  หากไม่รักษา ก็จะทำให้เกิดโรคกระดุกพรุน แต่สำหรับบางคนสามารถเกิดกระดูกพรุน โดยไม่เกิดภาวะกระดูกบางมาก่อน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน กระดูกจะแตกหักง่าย

โรคกระดูกพรุน คือ สภาวะที่กระดูกมีปริมาณเนื้อกระดูกต่ำลง เพราะว่าแคลเซี่ยมในร่างกายต่ำลง มีผลให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทางกระดูกและไข้ข้อ โรคข้อและกระดูก

ชนิดของโรคกระดูกพรุน

สำหรับโรคกระดูกพรุนที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของโรคจากสาเหตุของกระดูกพรุน 2 ชนิด คือ โรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และ โรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ รายละเอียด ดังนี้

  • โรคกระดูกพรุน ชนิดปฐมภูมิ ( Primary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากสุขภาพของมวลกระดูกผิดปรกติเอง เกิดจากภาวะการขาดฮอร์โมนเพศตามวัยและการเสื่อมของร่างกายตามวัย สามารถแบ่งได้ใน 2 กลุ่มผู้ป่วย คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ( Postmenopausal osteoporosis หรือ Osteoporosis type I )  และ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( Senile osteoporosis หรือ Osteoporosis type II )
  • โรคกระดูกพรุน ชนิดทุติยภูมิ ( Secondary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากภาวะอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากตัวกระดูกเอง เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเกี่ยวกับระบบฮอร์โมนร่างกาย การขาดสารอาหาร การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการสูบบุหรี่

สาเหตุของการเกิดโรคกระดุกพรุน

สำหรับกลไกการเกิดโรคกระดูกพรุน นั้นในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนัก แต่พบว่าเกิดจาก การขาดความสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก ( Osteoblast ) และ เซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ( Osteoclast ) ซึ่ง สาเหตุของการเสียสมดุลจำเกิดการทำลายมวลกระดูกมีปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เซลล์ในร่างกายและการทำงานของระบบกระดูกก็เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน
  • การขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งฮอร์โมนเพศ จะช่วยการสร้างเซลล์กระดูก หากเกิดภาวะประจำเดือนหมด จะทำให้ฮอร์โมนเพศหยุดการสร้างและ ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
  • การขาดสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างกระดูก โดยสารอาหารสำคัญต่อกระดูก เช่น โปรตีน แคลเซียม และ วิตามินดี
  • การขาดการออกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้กระตุ้นการเคลื่อนไหว และจะช่วนกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก
  • พันธุกรรม จากสถิติพบว่าในคนที่ครอบครัวมีคนเกิดโรคนี้ คนในครอบครัวคนอื่นๆ มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าปรกติ
  • โรคแทรกซ้อนจากโรคที่เกี่ยวกับการสร้างฮอร์โมน เช่น โรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

สำหรับอาการโรคกระดูกพรุน ปวดกระดูกตรงบริเวณที่มีความผิดปกติ เช่น กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง หลังค่อม การทรงตัวไม่ดีล้มได้ง่าย โดยทั่วไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่าย เช่น ปลายกระดูกแขน กระดูกข้อมือ และ เกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง ส่วนกระดูกพรุนสำหรับผู้สูงอายุ มักเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก

การรักษาโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กระดูกกลับมาดีเหมือนเดิมได้ สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกพรุนเท่านั้น แต่วิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคกระดูกพรุน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน โดยวิธีการ ออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย

การดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

ผู้ป่วนโรคกระดูกพรุน ต้องรับประทานอหารเสริม เช่น กินวิตามินเกลือแร่ หรือ ยา ตามแพทย์แนะนำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้หนักเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์

การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด เช่น เลิกการดื่มสุรา เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ เข้ารับการตรวจมวลกระดูกอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะต้องมีคนคอยดูแลเพราะกระดูดที่แตกง่ายหักกง่ายนี้ ผู้ป่วยเพียงแค่เดินแรงก็สามารถทำให้กระดูกหักได้เลย ภาวะกระดูกพรุ่นเป็นโรคภายในร่างกาย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี ก็จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้

สมุนไพรบำรุงกระดูก พืชผักสมุนไพร ที่มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก เป็นสมุนไพร ที่มีแคลเซียม สูง ซึ่งมี ดังนี้

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพวผักแพว
ซ่อนกลิ่น สมุนไพร สรรพคุณของซ่อนกลิ่น ประโยชน์ของซ่อนกลิ่นซ่อนกลิ่น
เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอมเห็ดหอม
ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้าผักคะน้า
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สรรพคุณของโด่ไม่รุ้ล้มว่านโด่ไม่รู้ล้ม
ถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียวถั่วเขียว

โรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเปราะ คือ ภาวะมวลกระดูกบาง โรคในสังคมผู้สูงวัย อาการปวดกระดูก กระดูกแตกหักง่าย พบมากใน สตรีหมดประจำเดือน และ ผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove