ท่าภูเขา Mountain Pose ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย แก้ปวดหลังปวด แก้ปวดฝ่าเท้า ช่วยกล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรง ผู้ฝึกต้องไม่เป็นโรคความดันต่ำ
โยคะพื้นฐาน ท่าภูเขา คือ การยืนในลักษณะเป็นภูเขา ที่มีความมั่นคง หนักแน่น แต่ตระหง่านขึ้นสู่ฟ้า และสุดท้ายความสงบนิ่ ซึ่งหลายๆ เข้าใจผิดว่า ท่านี้คือการยืนตรงธรรมดา เก็บก้นกบ แขม่วท้อง เท่านั้น แต่ความเป็นจริง ถ้าฝึกยืนท่านี้ จะช่วยในการจัดระเบียบร่างกาย เนื่องจากต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆอย่างเต็ม การปฏิบัตเพียง 5 นาที ก็เหนื่อยได้ ในขณะที่ยืนนั้นการเก็บก้นกบ หลายคนทำไม่ได้ โดยหาก้นกบไม่เจอ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการฝึก
วิธีทำโยคะท่าภูเขา
โดยยืนตรงเท้าชิดกัน เหยียดหัวเข่าให้ตึง เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ยืดอกขึ้น แผ่นหลังเหยียดตรง ต้นคอตั้งตรง สายตามองตรง ระหว่างนี้ รักษาสมดุลของร่างกาย ไม่ให้ล้ม แขนสองข้างพนมมือ และค่อยๆยกขึ้นเหนือศีรษะ ค้างเอาไว้ จากนั้นค่อยๆผ่อนมือลง จากนั้นทำแบบเดิม 3-4 ครั้ง จากนั้นหยุดพัก
หากเรายืนได้ถูกต้องฝ่าเท้าจะมีแรงกดแน่น กล้ามเนื้อขาจะเกร็งเพื่อส่งแรง หน้าท้องด้านหน้าส่วนล่างจะถูกใช้เพื่อเก็บก้นกบ ยืดอก ขึ้น ลำคอเหยียดตรง ตามองไปข้างหน้า เราจะสัมผัสได้ถึงแนวเส้นตรงจากข้อเท้าขึ้นไปถึงเข่า จากเข่าถึงสะโพก เลยไปถึงไหล่ จนถึงใบหู และไล่ขึ้นไปจนกลางกระหม่อม จะรู้สึกเกิดพลังงานจากเท้าไปถึงกลางกระหม่อม
เรื่องการเก็บก้นกบนั้นไม่ใช้แค่การม้วนก้นกบไปข้างหน้า หรือ การแอ่นเชิงกราน แต่ต้อง รดึงก้นกบลงพื้นในลักษณะที่เชิงกรานแอ่นไปด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมการเดิน และรองรับส่วนของกระดูกต้นขา เมื่อเราเก็บก้นกบลงมาหาพื้น จะช่วยให้เรายืนอย่างมั่นคง แต่เราจะเดินยากขึ้น ดังนั้น การเก็บก้นกบ จึงมีความสำคัญสำหรับการปฏิบัติท่านี้อย่างมาก นอกจากท่าภูเขาจะเป็นท่าเริ่มต้นของดยคะพื้นฐานในท่ายืน แล้วท่าภูเขายังเป็นพื้นฐานของการปฏิบัตโยคะพื้นฐานในท่ายืน
ท่าภูเขามีประโยชน์อย่างไร คือ ช่วยให้บุคลิกภาพดี ลำตัวตั้งตรง กล้ามเนื้อต้นขา หน้าท้อง และข้อเท้าแข็งแรง ลดอาการปวดหลังและฝ่าเท้า
ข้อห้ามฝึกสำหรับในการฝึกท่าภูเขา คือ ห้ามทำท่านี้ในคนที่มีอาการปวดศีรษะ คนที่นอนไม่หลับ และคนที่มีภาวะความดันต่ำ
สำหรับ โยคะท่าภูเขานั้น ท่านี้เป็นท่าพื้นฐานของโยคะ เป็นท่าแรกของการไหว้พระอาทิตย์ ที่รวมจิตใจและร่างกายเป็นหนึ่งเดียวก่อนที่จะเริ่มการฝึก เป็นท่าของอาสนะท่ายืนทุกท่า ช่วยฝึกการเก็บก้นกบได้เป็นอย่างดี เป็นพื้นฐานการฝึกโยคะ อาสนะที่ มั่นคง และปลอดภัย โยคะท่าภูเขา จะเป็นลักษณะ การยืนเหมือนภูเขา ให้ความมั่นคงและหนักแน่น และสงบนิ่ง หลายๆคนมักมองข้ามท่านี้ โดยนึกว่าท่านี้คือการยืนตรงธรรมดา
หลายคนได้ยินครูพูดถึงการเก็บก้นกบ แต่นึกว่าการเก็บก้นกบ คือการแขม่วท้องเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วสำหรับผู้ฝึกใหม่ ถ้าฝึกยืนในท่านี้ โดยสามารถจัดระเบียบร่างกาย และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆอย่างเต็มที่ แค่ 5 นาทีก็จะรู้สึกเหนื่อยได้ จนเมื่อกล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายเริ่มคุ้นเคยจึงจะสามารถยืนได้อย่างสงบ ในขณะที่บางคนยืนยังไงก็ไม่เข้าใจเรื่องเก็บก้นกบสักที หาก้นกบไม่เจอ และอาจใช้เวลาหลายเดือนถึงจะเข้าใจ
ถ้าเรายืนท่านี้ถูก เราจะรู้สึกฝ่าเท้ามีแรงกดแน่นลงกับพื้นไม่ใช่แค่วางเฉยๆ กล้ามเนื้อขามีการเกร็งเพื่อส่งแรง หน้าท้องด้านหน้าส่วนล่างในระดับลึกถูกใช้งาน เพื่อใช้ในการเก็บก้นกบ อกยืด ขึ้น ลำคอเหยียดตรง ตามองตรงไปข้างหน้า เราจะสัมผัสได้ถึงแนวเส้นตรงจากข้อเท้า ขึ้นไปถึงเข่า จากเข่าถึงข้อสะโพก เลยไปถึงไหล่ จนถึงใบหู และไล่ขึ้นไปจนกลางกระหม่อม รู้สึกพลังงานที่ตรงผ่านเท้าเราขึ้นไปกลางกระหม่อมเลยทีเดียว มาดูเรื่องการเก็บก้นกบ ไม่ใช้การม้วนก้นกบไปข้างหน้า หรือการแอ่นเชิงกราน แต่คือการดึงก้นกบลงพื้น (Neutral) ปกติร่างกายเราจะยืนตรง ในลักษณะที่เชิงกรานแอ่นไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเตรียมพร้อมการเดิน รองรับส่วนของกระดูกต้นขาในการเคลื่อนไหว ตรงกันข้าม เมื่อเราเก็บก้นกบลงมาหาพื้น จะช่วยให้เรายืนอย่างมั่นคงขึ้น แต่เราจะเดินยากขึ้น ดังนั้นการเก็บก้นกบจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้เราอยู่ในอาสนะต่างๆได้อย่างมั่นคง นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันหลังล่าง
นอกจากท่าภูเขาจะเป็นท่าเริ่มต้นของท่ายืนอื่นๆแล้ว ท่าภูเขายังเป็นพื้นฐานที่ดีอย่างมากสำหรับท่าแพลงค์ ชาตุรังกา ท่า Headstand ฯลฯ เพราะใช้การจัดระเบียบร่างกายแบบเดียวกับหมด เพียงแต่ปรับทิศทาง และใช้ส่วนอื่นในการสัมผัสพื้นแทนเท้า เท่านั้นเอง
ท่าภูเขา ( Mountain Pose ) ท่านี้ ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย แก้ปวดหลังปวด แก้ปวดฝ่าเท้า ช่วยกล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรง ผู้ฝึกต้องไม่เป็นโรคความดันต่ำ ปวดศรีษะ หรือ นอนไม่หลับ
โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี
แหล่งอ้างอิง
- Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
- Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
- Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102