มะระ Bitter melon สมุนไพร ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทาน ลักษณะของต้นมระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของมะระ

ต้นมะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น มะระ เป็นพืชล้มลุก อายุเพียงปีเดียว ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน มีเถาเลื้อยยาวตามพื้นดินหรือตามต้นไม้ เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ สรรพคุณของมะระ บำรุงดวงตา บำรุงกระดูก แก้กระหายน้ำ รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ช่วยขับสารพิษ แก้หวัด ลดไข้ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ รักษาผิวหนัง รักษาสิว บำรุงน้ำดี ช่วยสมานแผล ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

มะระในประเทศไทย

สำหรับมะระในประเทศไทย นิยมปลูกมะระตามรั่วบ้าน เพื่อรับประทานผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระเป็นอาหาร ในประเทศไทยมีปลูกมากในภาคเหนือ ซึ่งมะระ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระจีน และ มะระขี้นด รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระจีน ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวขรุขระ เนื้อมาก นิยมนำมาทำอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ เป็นต้น รวมถึงรับประทานเป็นผักสด
  • มะระขี้นก ลักษณะพิเศษ คือ ผลมีขนาดเล็ก รสขมมาก สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารรวมถึงทานเป็นผักสดได้

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ  เป็น ไม้เถา พืชตระกุลเดียวกับแตง พืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว การขยายพันธุ์ของมะระ จะขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถา ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียว มีขนเ และลำต้นจะสามารถเกาะตามต้นไม้หรือเสาได้โดยใช้รากเป็นตัวเกาะ
  • ใบมะระ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ในเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว ใบสีเขียว มีขนสากๆ
  • ดอกมะระ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ลักษณะคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีเหลือง ก้านดอกยาว
  • ผลมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง ผิวผลมะระขรุขระเป็นร่อง มีเนื้อผลหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ ลักษณะเมล็ดแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน เมล็ดอยู่ภายในผลจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระ นิยมรับประทานผลสดของมะระเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาผลสดมะระจีน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ผล เถา เมล็ด ราก ใบ ซึ่งนำเอาไปใช้ประโยชน์ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สารารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ รักษาโรคกระเพาะอาหารช่วยแก้อาการบิด
  • เถาของมะระ ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย  ช่วยแก้อาการบิด
  • เมล็ดของมะระ สามารถช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย ช่วยขับพยาธิตัวกลม
  • ใบสดของมะระ มีรสขม นำมาลวก หรือต้มดื่ม สามารถใช้เป็นยาฟอกเลือด ยาระบาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการฟกช้ำ ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ช่วยขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ
  • ผลสดของมะระ นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสขม นำมารับประทาน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ มีเบต้าแคโรทีนช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ดวงตาสดใส ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน มะระช่วยแก้ตับ ม้ามพิการ บำรุงน้ำดี  ผลของมะระนำมาคั้นเอาน้ำใช้อมแก้อาการปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ นำมาบดให้ละเอียด โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง
  • ผลสุกของมะระ นำมาทาหน้ารักษาสิวได้

โทษของมะระ

หากไม่อยากกินมะระที่ขมมากนัก ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อ คือเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะจะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

มะระ ( Bitter melon ) คือ สมุนไพร พืชสวนครัว ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทาน ลักษณะของต้นมระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove