ไมยราบ ใบไมยราบจะหุบตัวได้หากโดนสัมผัส ลักษณะของต้นไมยราบเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง
ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ คือ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผักกระเฉด
ต้นไมยราบ ( Sensitive plant ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของไมยราบ คือ Mimosa pudica L. พืชตระกูลถั่ว วัชพืช พืชคลุมดิน สมุนไพร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหารในเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้บิด ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดข้อ ป้องกันและรักษาไตพิการรักษาโรคเริม รักษาโรคงูสวัด
ต้นไมยราบ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาโดย กรมทางหลวง ใช้ในการนำมาใช้คลุมหน้าดิน มักแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งจะสูงถึง 1 เมตร ต้นมีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็ก และมีขนหยาบ ๆ ปกคลุมที่ลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ รวมไปถึงช่อดอก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
ลักษณะของต้นไมยราบ
ไมยราบ เป็น พืชล้มลุก พืชคลุมดิน ยาวประมาณ 1 เมตร มีขนหยาบปกคลุมที่ลำต้น ท้องใบ แกนก้านใบแลช่อดอก ใบของต้นไมยราบเป็นแบบแขนก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4 เซ็นติเมตร มีดอกจำนวนมาก กลีบดอกรูประฆังแคบและมีขนแข็งตามขอบ
- ใบไมยราบ จัดเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมกับก้านใบ มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมี 2 ใบ มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร โดยใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 25 คู่ ลักษณะคล้ายรูปขอบขนานหรือคล้าย ๆ รูปเคียวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
- ดอกไมยราบ ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกที่บริเวณซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมนกลม มีความยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน และมีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม
- ผลไมยราบ มีลักษณะเป็นฝักแห้ง แบน ยาวเรียว ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรง และยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแบนเป็นสันนูนตรงกลาง หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ด ผลหักตามรอยคอด
ต้นไมยราบ ชื่อสามัญ เรียก Sensitive plant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa pudica L. จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว จัดเป็นวัชพืช ที่มีประโยชน์ในด้านสมุนไพรมาก ไมยราบ ภาษาอังกฤษ เรียก Sensitive plant มีชื่ออื่นๆ เช่น หนามหญ้าราบ กะหงับ ก้านของ ระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอด
สรรพคุณของไมยราบ
สรรพคุณของไมยราบ เราสามารถนำไมยราบมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ส่วน ราก ลำต้นและใบ
- รากของไมยราบ สามารนำมาใช้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหารในเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้ลำไส้อักเสบ แก้บิด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน รักษาริดสีดวงทวาร ปวดข้อ
- ลำต้นของไมยราบ เรานำมาใช้ ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันและรักษาไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับโลหิต
- ใบของไมยราบ ใช้รักษาโรคเริม โรคงูสวัด
- ไม่ควรรับประทานไมยรายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากไมยราบมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง
- ห้ามรับประทานในสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร
- ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
ต้นไมยราบ พืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน มีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ไมยราบ ใบสามารถพับเข้าหากันด้านใน เมื่อถูกสัมผัส ในทางสมุนไพร ไมยราบ มีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ
ไมยราบ วัชพืช พืชท้องถิ่น ใบไมยราบจะหุบตัว หากโดนสัมผัส ลักษณะของต้นไมยราบเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.