กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กระท้อน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นชื่อ ผลไม้ ที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี ตำบักต้อง หรือ ตำกระท้อน เมนูบ้านๆ แต่กระท้อนมีสรรพคุณ สำหรับ คนรักสวยรักงาม กระท้อนป้องกันสิว กระชับผิว ลดหน้ามันได้ สนใจใน กระท้อน แล้วซิ มาทำความรู้จักกับกระท้อนกัน ว่าผลไม้ชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณการรักษาโรคอะไรบ้าง กระท้อนเป็นผลไม้ มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่คนไทยรู้จักกระท้อนนานมาก

กระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Sentul หรือ Santol หรือ Red sentol หรือ Yellow sentol กระท้อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. ชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน อาทิ เช่น เตียน, ล่อน, สะท้อน,มะต้อง, มะติ๋น ,สตียา, สะตู, สะโต เป็นต้น ผลกระท้อน มีวิตามินเอ วิตามินซีสูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ดีต่อระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระท้อนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ได้ดี ส่วนใบช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืน เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ที่ลำต้นมีกิ่งก้านตั้งแต่กลางลำต้นเป็นต้นไป ใบมีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มใหญ่

  • เปลือกของต้นกระท้อน เป็นผิวเรียบ สีน้ำตาล เนื้อไม้ของต้นกระท้อน เมื่อยังเป็นต้นอ่อนจะหักง่าย เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อไม้จะมีความแข็งปานกลาง
  • ใบของกระท้อน เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากปลายกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว ปลายใบมน ใบค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ มีขนอ่อนๆและสากมือ ขอบใบหยักเป็นลูกคลื่น
  • ดอกของกระท้อน จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและซอกกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีประมาณช่อดอก 4 ช่อ ดอกยาว ดอกตูมมีสีเขียว ดอกบานมีสีเหลือง ดอกของกระท้อนจะพัฒนาเป็นผล
  • ผลและเมล็ดของกระท้อน ผลกระท้อนมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเรียบ และมีขนทั่วผล ที่ผลจะมียางสีขาว ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกหยาบก้าน มีรอย่น เปลือกจะมีความหนา ภายในผลจะมีเนื้อผล และเมล็ด สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

นักโภชนาการได้มีการศึกษาผลกระท้อนขนาดต่อ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม แคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และวิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

คุณค่าทางสมุนไพร สำหรับการรักษาโรคของกระท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ผล ใบ เปลือกและเนื้อไม้ รายละเอียดดังนี้

  • ผลของกระท้อน ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดคอเรสเตอรอล
  • เปลือกของกระท้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อจุลินทรีย์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาการอักเสบ รักษาแผลในปาก ป้องกันฟันผุ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • ใบของกระท้อน ช่วยในการขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยลดไข้ ลดอาการหนาวสั่น รักษากลากเกลื้อน และรักษาโรคผิวหนัง
  • รากของกระท้อน ช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปลูกกระท้อน

กระท้อนชอบพื้นที่ลุ่ม สำหรับการปลูกกระท้อนให้ยกร่องสูง ทนน้ำท่วม

  • การเตรียมแปลง ต้องไถให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก ขุดลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นระยะห่างต่อหลุ่มประมาณ 6 เมตร
  • การปลูก แนะนำให้ปลูกช่วงฤดูฝน นำต้นพันธุ์ลงปลูกตรงกลาง ใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้คลุมรอบโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การให้น้ำ ให้น้ำสัปดาห์และ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ และให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นกระท้อนเริ่มออกดอกและติดผล
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลักในช่วง 2 ปีแรก ที่ยังไม่ให้ผล จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล
  • การเก็บเกี่ยวผล ให้ห่อผล เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวเปลือกผล เมื่อผลโต และมีสีเขียวอมเหลือง ให้ใช้กระดาษ ห่อ เพื่อป้องกันศัตรูพืชทำลาย และช่วยให้ผิวเรียบ สวย

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove