กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษากระเพาะอักเสบ แก้ท้องเสีย ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทยจะพบการปลูกกล้วยมากมายกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษ เรียก Cavendish banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa sapientum Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า เป็น ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง

กล้วยน้ำว้ากับสังคมไทย

กล้วยกับสังคมไทยเป็นพืชคู่ครอบครัวทุกครัวเรือน งานแต่งงานในประเพณีไทย ต้องมีต้นกล้วยเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งขันหมาก ทุกบ้านในประเทศไทยนิยมปลูกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งต้นเลย ใบกล้วย หงวกกล้วย หัวปลี ผลกล้วย สำหรับด้านอาหาร กล้วยน้ำว้า สามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก กล้วยหนึ่งต้นจะให้ผลครั้งเดียวจากนั้นจะตาย การขยายพันธุ์ของกล้วย ใช้การแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการบริโภคกล้วยเป็นอาหาร สามารถใช้ประโยชน์จากผลกล้วย และ ปลีกล้วย ซึ่งจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกล้วยน้ำว้า ขนาด 100 กรัม พบว่า สามารถให้พลังงาน 85 แคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม เถ้า 0.8 กรัม แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม และไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย การนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยน์ทางสมุนไพร สามารถนำ ผล หัวปลี และหยวกกล้วย มาใช้ได้ ดังนี้

  • ผลดิบของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน แก้ท้องเสีย
  • ผลสุกของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน เป็นยาระบาย
  • ยางของกล้วยน่ำว้า สามารถทำมาทาแผล ใช้เป็นยาสมานแผลห้ามเลือดได้ดี
  • หัวปลี นำมารับประทาน ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเบาหวานได้

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง สมุนไพร พืชสารพัดประโยชน์ ปลูกง่าย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทย จึงพบเห็นการปลูกกล้วยอยู่มากมาย

มังคุด ( Mangosteen ) ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร นิยมรับประทานผล ประโยชน์และสรรพคุณช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ลดอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เปลือกทำเครื่องสำอางค์ได้มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

ต้นมังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana Linn.  สำหรับชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ซึ่งชื่อเรียกจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ต้นมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย

มังคุด เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะ มีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า ” วังสวนมังคุด ” ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ไปสู่ในหลายๆประเทศทั่วโลกเช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละมากกว่า 1,500 ล้านบาท มังคุดที่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีทั้งในรูปของผลสดและมังคุดแปรรูป ภาคใต้จัดเป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีและมีรสชาติดีเมื่อเทียบกับมังคุดในภูมิภาคอื่นของประเทศ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จากการที่มังคุดมีเอกลักษณ์ทั้งในรูปร่างของผลที่สวยงาม และมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว เป็นที่ชื่นชอบของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนได้รับฉายาว่า “ Queen of Fruits ”

ปัจจุบันมังคุดจึงจัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกของประเทศไทย และในอนาคตมีแนวโน้มว่ามังคุดจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากว่าประเทศไทยได้ทำการขยายตลาดการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งมีประชากรสูง ก็ให้ความสนใจกับไม้ผลชนิดนี้ด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

นักโภชานการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 แคลอรี และ มีสามารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม  เปลือกของมัคคุด มีสารแทนนิน (tannin) ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกของมังคุดมีน้ำยางสีเหลือง ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกัน รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน ความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อของใบหนาและค่อนข้างเหนียวเหมือนหนัง ด้านหลังของใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมังคุด เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมีสีแดง ผลของมังคุด ลักษณะกลม เปลือกนอกสีเข้มแข็ง เมื่อผลแก่เต็มที่จะมีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อผลสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล

สรรพคุณของมังคุด 

นำเปลือกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งสรรพคุณของเปลือกมังคุดมี ดังนี้

  1. รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้ โดยใช้เปลือกมังคุดครึ่งผลต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ 1 แก้ว
  2. รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยเปลือกมังคุต้มกับน้ำปูนใส ในเด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก 4 ชั่วโมง ในผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง
  3. รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้ง

ประโยชน์ของมังคุด

  • รับประทานสดเป็นผลไม้หรือทำเป็นน้ำผลไม้อย่าง น้ำมังคุดและน้ำเปลือกมังคุด
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
  • มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  • ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
  • เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
  • นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
  • นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง

โทษของมังคุด

ในมังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

มังคุด ( Mangosteen ) ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร นิยมรับประทานผลของมังคุด ประโยชน์ของมังคุด สรรพคุณของมังคุด ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เปลือกมังคุดนำมาทำเครื่องสำอางค์ได้ ข้อควรระวังในการกินมังคุด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove