กระชาย ขิงจีน ( Fingerroot ) สมุนไพร ตระกูลโสม เรียกว่า โสมไทย สมุนไพรท่านชาย สรรพคุณช่วยดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหารกระชาย ขิงจีน สมุนไพร โสมไทย

กระชาย หรือ ขิงจีน ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr. ชื่ออื่น ของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการ พบว่า ในกระชายประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี และไนอาซิน เหง้าของกระชายจะมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหย ยังสามารถช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยเจริญอาหารได้ดี

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็น พืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม ดอกของกระชายจะมีสีม่วง ดอกจะออกเป็นช่อ การขยายพันธุ์กระชาย โดยส่วนเหง้า กระชายชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • ลำต้นกระชาย มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย มีลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีใบประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ
  • ดอกกระชาย จะออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับสรรพคุณทางยาของกระชายนั้น กระชายสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ หัว ราก รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าและรากของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

กระชายที่นิยมใช้กันก็ คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ซึ่งกระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม จนทำให้กระชายเหลืองถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลือง นั้นดีกว่า กระชายดำ เพราะ บางทีเราก็คิดไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถม กระชายดำ ยังได้รับการโปรโมตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่า กระชายดำ นั้นดีกว่า กระชายเหลือง นั่นเอง

สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจาก กระชาย กับ โสม มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลัง และ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็น ลักษณะเด่นของสมุนไพร ทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียก โสม ว่า “ โสมคน ” และ เรียก กระชาย ว่า “ นมกระชาย ” ( เนื่องจาก กระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิง นั่นเอง และ บางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่อง สรรพคุณทางเพศ )

น้ำกระชาย คุณค่าของน้ำกระชาย นั้นเมื่อ กินน้ำกระชาย เข้าไปแล้ว ในกระเพาะเรามีน้ำ มีไขมันและจุลินทรีย์สองกลุ่มจะแยกกันทำหน้าที่ของมันเอง ตัวจุลินทรีย์ในกระเพาะจะทำให้เกิดแอลกอฮอล์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สกัดตัวยากลุ่มที่ละลายน้ำออกมาจากกระชายได้เอง ส่วนกลุ่มที่ละลายในไขมันก็ทำงานของเขาเอง คนปกติดื่มกระชาย เพื่อบำรุงเอาไว้ ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต ผู้ชายป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ผู้หญิง ป้องกันไม่ให้เป็นมดลูกโต และถ้าให้เด็กดื่มกินเป็นประจำ จะ ช่วยสร้างกระดูก ให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง เห็นประโยชน์มากมายเราก็นำ สูตรการทำกระชายปั่นคั้น น้ำมาฝากด้วย

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) สมุนไพร ตระกูลโสม เรียกว่า โสมไทย สมุนไพรสำหรับท่านชาย สรรพคุณของกระชาย เช่น ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย แก้กระดูกเสื่อม กระชายยอดสมุนไพรบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

กานพลู ( clove tree ) สมุนไพร สรรพคุณใช้บำรุงเหงือกและฟัน ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับน้ำคาวปลา

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร กานพลู เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น กานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า SyZagium aromaticum ชื่ออื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด

กานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-15 เมตร มีลำต้นตั้งตรง ใบของกานพลู เป็นใบเดียวเรียงตรงแตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน สีเขียว ดอกและผลของกานพลู ช่อดอกจะออกตามซอกใบ ดอกกานพลูจะมีน้ำมัน มีกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ด ทรงกรวยยาว

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ามี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง ในดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมัน มีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 20 % มีกรดแกลโลแทนนิค(gallotannic acid) ประมาณ 10% และสารโครมีนส์ (chromenes) สารคารีโอไฟลีน (caryophylline)  และกรดไตรเตอฟีน(triterpene acid) ในน้ำมันประกอบด้วย ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol)  เป็นต้น

 

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู เราสามารถนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอก ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของกานพลู สามารถนำมาใช้แก้โรครำมะนาด แก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สามารถนำมารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ นำมาต้มเป็นน้ำใช้อาบแก้ผื่นคันได้ ใบของกานพลูมีรสชาติเย็นและจืด แก้ปวดมวน
  • น้ำมันกานพลู ดอกของกานพลูมีน้ำมันสามารถนำมาสกัดใช้เป็นยา ช่วยในการขับ บรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง ตลอดจนนำมาแต่งกลิ่นอาหาร เป็นส่วนผสมของ เครื่องดื่ม ขนม สบู่ และยาสีฟัน
  • เปลือกต้นกานพลู  สามารถใช้ แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
  • ผลของกานพลู ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove