ว่านชักมดลูก Curcuma comosa Roxb สมุนไพรสำหรับสตรี สรรพคุณช่วยกระชับมดลูก ช่วยขับลม แก้ปัญหาประจำเดือนไม่ปรกติ ทำความรู้จักกับว่านชักมดลูกว่ามีประโยชน์อย่างไร

ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก ถือเป็น สมุนไพร พืชตระกูลขิง มีหัวอยู่ใต้ดิน ว่านชักมดลูกถูกนำเอาไปวิจัย ซึ่งพบว่าว่านชักมดลูกมีเอสโตรเจน ที่มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง สามารถนำว่านชักมดลูกมารักษาปัญหาสุขภาพของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณอื่นๆ เช่น ช่วยกระชับช่องคลอด แก้ท้องอืดเฟ้อ ทำให้มดลูกเข้าอู่สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร  แก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร  รักษาอาการตกขาว เป็นต้น

สายพันธ์ของว่านชักมดลูก

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของว่านชักมดลูก มีอยู่ 2 สายพันธุ์  คือ ว่านชัดมดลูกตัวเมีย และ ว่านชักมดลูกตัวผู้

  • ว่านชักมดลูกตัวเมีย ภาษาอังกฤษ เรียก Curcuma comosa Roxb.
  • ว่านชักมดลูกตัวผู้ ภาษาอังกฤษ เรียก Curcuma latifolia Roscoe มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma xanthorrhiza Roxb ว่านชักมดลูกพบว่ามีการปลูกมากในจังหวัดเลย และเพชรบูรณ์ แต่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร หัวของว่านชักมดลูกอยู่ใต้ดิน ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปวงรี ขนาดกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตรและยาวประมาณ 40 เซ็นติเมตร ก้านกยาว 20 เซ็นติเมตร ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • หัวของว่านชักมดลูก อยู่ใต้ดิน ขนาดยาวถึง 10 เซ็นติเมตร เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง หัวใต้ดินของว่านชักมดลูกตัวผู้ จะมีลักษณะจะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า หัวใต้ดินของว่านชักมดลูกตัวเมีย จะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 – 20 ซม. ยาว 40 – 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ
  • ก้านดอกว่านชักมดลูก ยาว 15 – 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของว่านชักมดลูก

สำหรับการนำเอาว่านชักมดลูกมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำส่วน เหง้าและราก มาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร รายละเอียด ดังนี้

  • รากของว่านชักมดลูก ใช้แก้ท้องอืดเฟ้อได้ดี
  • เหง้าของว่านชักมดลูก ใช้เป็นยาบีบมดลูก สำหรับทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยให้ประจำเดือนมาตามปรกติ รักษาโรคมดลูกพิการปวดบวม แก้ปวดประจำเดือน ใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก รักษาไส้เลื่อน เป้นยาขับเลือด ช่วยขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลมชัก ช่วยย่อยอาหาร

โทษของว่านชักมดลูก

การใช้ว่านชักมดลูกในด้านการดูแลสุขภาพ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูก มีข้อจำกัด ดังนี้

  • วานชักมดลูกจะทำให้มีการตกขาวมากกว่าปกติ
  • อาจทำให้เวียนหัว ปวดหัว มีไข้ ไอ แต่อาการนี้จะเกิดกับสตรีที่ไม่แข็งแรง หากพบปัญหานี้ให้ลดปริมาณการบริโภค
  • อาจมีผื่นขึ้นที่ผิวหนังและลำตัว หากมีผื่นมาก แนะนำให้ลดปริมาณการบริโภคลง
  • อาจปวดหน้าอก รู้สึกตึงหน้าอก ปวดมดลูก
  • สตรีในวัยทอง ที่หมดประจำเดือนไปแล้ว อาจจะมีประจำเดือนกลับมาได้

กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย

กระชาย ขิงจีน โสมไทย สมุนไพร

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี

ชนิดของกระชาย

กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง
  • กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) ฉายา โสมไทย สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น