ถุงลมโปร่งพอง โรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ ภาวะถุงลมขยายตัวผิดปกติ อาการไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย โรคยอดฮิตของคนสูบบุหรี่ การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองต้องทำอย่างไรโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคถุงลมโป่งพอง ทางการแพทย์ เรียก Emphysema เป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้น ชนิดเรื้อรัง โดยการอุดกั้นของปอดแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 ส่วน คือ โรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการทั้ง 2 ร่วมกัน ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค เกิดจากการสูบบุหรี่ สามารถรักษาหรือประคับประครองไม่ให้อาการของโรคหนักขึ้น ด้วยการเลิกสูบบุหรี่ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก ในอันดับแรกๆ มีอัตราการเกิดโรค ที่ 18 คนต่อ 1000 คน และพบว่าผุ้ชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุและปัจจัยของกานเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สามารถแยกสาเหตุได้ เป็น 3 สาเหตุ ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 20 ป่วยเป็นโรคถุงลมโปร่งพอง ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร โอกาสของการป่วยดรคนี้ก้ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากควันของบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพปอด ทำให้เกิดสารตกค้างในปอด ทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้น
  • การอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีมลภาวะของอากาศ ในเมืองใหญ่มีมลพิษทางอากาศสูง พบว่ามีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเมืองที่ไม่มีมลพิาทางอากาศ เนื่องจากมีการหายใจเอามลพิษเข้าสู่ร่างกาย หากเกิดสารตกค้างมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของปอดได้
  • ปัจจัยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบในคนที่ขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดเอนไซม์เพียงเล็กน้อยนั้นไม่ทำให้เกิดโรคได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดโรคถุงลมโปร่งพอง โดยไม่ได้รับปัจจัยการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่หรือการอยู่ในมลพิษทางอากาศ ก็สามรถสันนิษฐานว่าเกิดจกาการขาดเอมไซม์

อาการและการวินิจฉัยโรค

อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโปร่งพอง นั้น พบว่ามีอาการไอเรื้อรัง ซี่งในระยะแรกๆ จะไอตอนเช้า หลังจากตื่นนอน เป็นลักษณะแบบไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย เสมหะมีลักษณะใสๆ ผู้ป่วยเป็นหวัดง่าย เหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยหอบ เสียงลมหายใจเป้นเสียงหืดๆ อาการเหนื่อยหอบจาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้ภาวะการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยโรคของแพทย์ นั้นแพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วย และการตรวจสมรรถภาพของปอด เอ็กซ์เรย์ปอด เพื่อวิเคราะห์โรคและ ระดับอาการของโรค

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้น มีแนวโน้มการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น โดยการรักษานั้น ทำเพื่อให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น โดยยาที่ใช้การักษาจะเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด ลดอาการอักเสบและติดเชื้อของปอด แต่การรักษาโรคนี้นั้น สามารถแบ่งการรักษาโรคได้ 2 วิธี คือ การรักษาโดยการผ่าตัด และ การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง ด้วยการผ่าตัดนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การผ่าตัดเอาถุงลมออก การผ่าตัดเอาปอดบางส่วนออกและการผ่าตัดเปลี่ยนปอด โดยการผ่าตัดเอาถุงลมออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยน้อยลง ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยระยะท้ายๆของโรค การผ่าตัดต้องเลือกใช้กับผู้ป่วยให้เหมาะสม การผ่าตัดถุงลมที่ให้ผลที่ดีนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนบนของปอดกลีบบน และลักษณะของโรคกระจายเป็นหย่อมๆ เนื้อปอดที่ดียังมีเหลืออยู่ สำหรับการรักษาด้วยการตัดปอดนั้นอาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจโดยเฉพาะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้น และวิธีผ่าตัดแบบสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนปอด เรียก Lung Transplantation ต้องทำด้วยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น
  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองที่ไม่ใช้ยารักษา เป็นการพื้นฟูสุขภาพปอด เพื่อเพื่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น โดยวิธีรักษาใช้ การออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้่ในการหายใจแข็งแรงมากขึ้น การฝึกการหายใจ การระบายเสมหะ การดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ หลีกเลื่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับผลข้างเคียงและความรุนแรงของดรคถุงลมโปร่งพองนั้น โรคนี้จะทำให้เสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว และไม่สามารถทำให้ปอดกลับมาหายเป็นปกติได้

การป้องกันการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือในผู้ที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัย ไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ภาวะถุงลมโปร่งพอง คือ โรคที่เกิดจากภาวะการอุดกลั้นของปอด ที่ให้การทำงานของระบบหายใจผิดปรกติ เกิดจากการสุบบุหรี่หรือการสูดดมมลพิษเป็นเวลานาน สาเหตุหลักของคนเกิดโรคนี้ คือ การสูบบุหรี่ การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด ต้องป้องกันที่การให้ความรักและความเข้าใจของคนในครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกได้เข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่ และ ไม่สร้างปัจจัยที่ทำให้ลูกเลือกทำร้ายตัวเองด้วยการสูบบุหรี่

ไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะลดลง เวียนหัว ความดันต่ำ หายใจไม่ออก การรักษาไตวายเฉียบพลันทำอย่างไรไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อ

ไต เป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับช่วยกรองของเสียในร่างกาย ไตจะกรองของเสียออกจากเลือด การที่ไตทำงานหนักมากเกิน อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะไตวายได้ การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันมักเกิดจากการขาดเลือดที่ไต

ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ ภาวะการสูญเสียการทำงานของไตอย่างรวดเร็ว เป็นภาวะที่ไต แยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย

สาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเฉียบพลัน เกิดจากภาวะการทำงานหนักของไต ภาวะเกี่ยวกับความดันเลือด ระดับเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลงไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุขอโรคได้ เป็น 4 สาเหตุ คือ การขาดน้ำ การเสียเลือด การได้รับบสารพิษ และการติดเชื้อ รายละเอียด ดังนี้

  1. การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายอย่างรุนแรง เช่น ท้องเสีย หากเป็นหนักมากทำงห้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดภาวะความดันลดต่ำลง ทำให้เกิดไตวายและช็อกได้
  2. การเสียเลือดจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัตติเหตุ การผ่าตัด หากไม่ได้รับเลือดทดแทนอย่างทันท่วงที จะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
  3. การได้รับสารพิษบางชนิด สารพิษหลายชนิด มีผลกระทบต่อไต เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาฆ่าหญ้า เมื่อสารพิษเข้าสู่ร้างกายทำให้ไตต้องทำงานหนัก อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้
  4. การติดเชื้อรุนแรง การติดเชื้อส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงไตด้วย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย หากเชื้อโรคเข้าถึงไต สามารถทำให้ระบบไตผิดปรกติได้ หากรักษาไม่ทันทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน

นอกจากสาเหตุ 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถแยกสาเหตุของโรคได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน และภาวะความผิดปรกติของระบบทางเดินปัสสาวะ รายละเอียด ดังนี้

การเกิดโรคไตอักเสบจากภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน เช่น

  1. การติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. การเกิดโรคไตชนิดรุนแรง
  3. การที่ร่างกายมีเฮโมโกลบินอิสระไหลเวียนอยู่ในเลือด
  4. การที่ร่างกายถูกทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง
  5. การแพ้ยาหรือสารบางชนิดที่มีพิษต่อไต
  6. ภาวะการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ  เช่น

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอักเสบเฉียบพลัน
  2. ไตและกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
  3. ไตและกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

ระยะของโรคไตวายเฉียบพลัน
ระยะของโรคนี้สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3 ระยะใหญ่ๆ คือ ระยะก่อนไตวาย ระยะไตวายและระยะหลังไตวาย รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  1. ระยะก่อไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Prerenal Failure ในระยะนี้ มีอาการภาวะร่างกายขาดน้ำ ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนศีรษะ ระดับความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก และเหนื่อย แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาปรกติ หลังจากที่ไตกลับมาทำงานได้ตามปรกติ
  2. ระยะไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Intrinsic renal failureในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะบวมน้ำ ระดับความดันเลือดสูง ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไตถูกทำลาย ในระยะนี้ ไตจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายและเม็ดเลือดแดงแตก
  3. ระยะหลังไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Postrenal failure ผู้ป่วยจะมีอาการรอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ มีอาการต่อมลูกหมากโต มีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต

โรคไตวายเฉียบพลันกับโรคไตวายเรื้อรังมีความแตกต่างกันอย่างไร

โรคไตวายเฉียบพลัน จะมีอาการเฉียบพลัน กระทันหัน แต่อาการไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษาให้หายได้ แต่การเกิดโรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากอาการสะสมของโรคไตเป็นเวลานาน การรักษามักไม่หายขาด ผู้ป่วยทั้ง 2 โรคต้องทำการรักษาและควบคุมการบริโภคยาและอาหาร และหากเกิดโรคในระยะสุดท้ายต้องทำการฟอกไตช่วย

การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษา โดย การรักษาสาเหตุของการเกิดโรค ใช้ยาแก้ไขภาวะไตวายเฉียบพลัน ประคับประคองและรักษาโรคแทรกซ้อน การให้สารอาหารกับผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน และการล้างไต การรักษาต้องใช้ 5 วิธีนี้ตามลำดับของโรค รายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาสาเหตุของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุของกการเกิดโรคคือ การขาดน้ำ สารอาหาร และการขาดเลือดที่ไต ต้องให้เกลือแร่ น้ำ และให้ระดับเลือดในไตเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ใช้ยารักษาไตวายเฉียบพลัน ยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ ยากระตุ้นหลอดเลือด
  3. การประคับประคองโรคและรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค เป็นการรักษาในช่วงที่รอไตฟื้นตัว ได้แก่ การควบคุมปริมาณน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต แก้ภาวะความเป็นกรดในเลือด
  4. ให้สารอาหารต่อผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันให้เพียงพอต่อความต้องการ
  5. ล้างไต ภาษาอังกฤษ เรียก Dialysis การล้างไตเป็นการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน สำหรับผู้ป่วยที่รักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล

โรคไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ภาวะที่ไตแยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนหัว บความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก ตัวบวมน้ำ ทำให้ไตวาย โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย ระยะของโรคไตวายมีกี่ระยะ การรักษาไตวายเฉียบพลันต้องทำอย่างไร

ไตวายเฉียบพลัน พยาธิสภาพ ไตวายเฉียบพลัน รักษาหายไหม อาการไตวายระยะสุดท้าย ไตวายเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ อาหาร และ โรค ไต วาย เฉียบพลัน ใหม่ โรค ไต วาย เฉียบพลัน มี กี่ ระยะ ไตวายเฉียบพลัน หายได้ไหม โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเฉียบพลัน ไตวายเฉียบพลัน สาเหตุ ไตวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร สาเหตุไตวายเฉียบพลัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove