อาการเวียนศรีษะจากความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการโลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้อาเจียนโรคเวียนศีรษะ โรคหู บ้านหมุน โรคไม่ติดต่อ

โรคเวียนศีรษะ ภาษาอังกฤษ เรียก Dizziness หากท่านมีอาการ เช่น มึนหัว บ้านหมุน หนักหัว เป็นลม เป็นสัญญานว่าท่านกำลังเป็นโรคเวียนศรีษะ สาเหตุ การรักษา และการป้องกันโรคเวียนหัว อยู่ในเนื้อหา ในบทความนี้ แต่สาเหตุที่พบบ่อย โรคนี้เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน และความผิดปรกติของระบบเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคเวียนศรีษะ

แพทย์จะสังเกตุจากอาการ อยู่ 3 ส่วน ใหญ่ๆ คือ ลักษณะของอาการเวียนศรีษะ ระยะเวลาในการเวียนศรีษะ และอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่เวียนศรีษะ เป็นต้น  ซึ่งการตรวจวินิจฉัย จะทำการตรวจระบบหู ตรวจตา ตรวจการได้ยิน ตรวจหู คอ จมูก ตรวจชีพขจร วัดความดัน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการทำงานของหัวใจตรวจความเครียด ตรวจการทรงตัว และ ตรวจระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งการตรวจทั้งหมดเพื่อดูความผิดปรกติของร่างกายว่าเกิดจากจุดใดที่มหให้เกิดอาการเวียนหัว

อาการของผู้ป่วยโรคเวียนศรีษะ

ทางการแพทย์แบ่งลักษณะของอาการ เป็น 4 ชนิด คือ การเวียนศรีษะแบบโลกหมุน การเวียนศรีษะแบบหน้ามืดเป็นลม การเวียนศรีษะแบบมึนๆหนักศรีษะ และการเวียนศรีษะแบบสูญเสียการทรงตัว รายละเอียด ดังนี้

  1. การเวียนศีรษะ แบบโลกหมุน ภาษาอังกฤษ เรียก vertigo ลักษณะ คือ ผู้ป่วยจะเห็นภาพหมุน หมุนมากจนต้องหลับตา หากเปิดตาก็จะทำให้เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน ได้ สาเหตุของอาการโลกหมุน เกิดจากความผิดปรกติของ หูชั้นใน ซึ่งโรคเกี่ยวกับหูชั้นในเช่น Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) หูชั้นในอักเสบจากเชื้อไวรัส น้ำเลี้ยงในหูชั้นในเพิ่มขึ้น เนื้องอกกดเส้นประสาท  และการบริโภคยาบางชนิด เช่น Aspirin, streptomycin, gentamicin, caffeine, alcohol และยาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ เป็นต้น
  2. การเวียนศรีษะ แบบหน้ามืดเป็นลม ภาษาอังกฤษ เรียก Fainting อาการจะเกิดขึ้นตอน นั้งหรือนอนอยู่แล้วลุกขึ้นกระทันหัน แล้วเกิดอาการ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ต้องนั้งหรือนอนสักพักก็จะค่อยๆดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายถึงกับคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุของอาการแบบนี้ เกิดจาก ภาวะความดันโลหิตต่ำ และอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  3. การเวียนศรีษะ แบบหนักศีรษะมึนๆ ลักษณะอาการแบบนี้เป็นอาการที่พบบ่อยสุดในอาการของผู้ป่วยโรคปวดศรีษะ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ความผิดปรกติของหูชั้นใน และโรคเครียด
  4. การเวียนศีรษะ แบบเสียการทรงตัว ผู้ป่วยจะไม่สามารถทรงตัวได้ ซึ่งสาเหตุของอาการลักษณะนี้ เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน โรคระบบประสาท โรคข้อเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับและยากันการชัก เป็นต้น

การป้องกันและการดูแลตนเองเบื้องต้น

สามารถทำได้โดย การนอนพัก อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน หันศีรษะช้าๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง หลีกเลี่ยงการขับยานพาหนะ การขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะ เป็นต้น

อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจเกิดจากการตีบตันในเส้นเลือด ซึ่งไขมันที่เกาะตัวในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของการทำให้เส้นเลือดตีบตัน ดังนั้น สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเวียนหัวได้ จึงขอแนะนำสมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา คะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรสผักไชยา
เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง

โรคเวียนศรีษะ ( Dizziness ) คือ ภาวะความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการ โลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท หูคอจมูก การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคหูดับ การติดเชื้อไวรัสที่หูจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โรคหูดับมีอาการสูญเสียการได้ยินข้างเดียว เกิดได้ทุกเพศทุกวัยโรคหูดับ โรคหู โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหูดับSudden Hearing Loss : SHL ) มักเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ช่วงอายุ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามสถานบันเทิงที่มีเสียงดัง รวมถึงผู้ที่ใส่หูฟังและเปิดเพลงเสียงดังๆ

หู เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับเสียงเพื่อการได้ยิน เป็นอวัยวะเพื่อการทรงตัว ถ้าเราไม่สามารถได้ยินชัดเจน มีอาการหูอื้อ เราจะไม่อาจพูดคุยติดต่อสื่อสารและเข้าสังคมได้ตามปกติ ถ้ามีอาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือหูดังมีเสียงรบกวนด้วยจะยิ่งทรมาน การหาสาเหตุของโรคและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ สาเหตุของโรคอาจเป็นจากหูเอง หรือจากประสาทเกี่ยวข้อง หรือโรคทางสมอง หรืออาจมาจากโรคทางกายหลายๆอย่างที่เป็นต้นเหตุก็ได้ ถ้าเด็กเกิดใหม่มีการเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นรุนแรงจะไม่อาจพูดได้ ทำให้ไม่อาจพัมนาตนเองและไม่อาจศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเด็กปกติ และอาจเป็นใบ้

สาเหตุของการเกิดโรคหูดับ

สำหรับสาเหตุของการเกิดหูดับ พบว่ามีสาเหตุ 4 ประการ หลักๆ คือ

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด โรคหูดับเกิดจากเชื้อไวรัส พบว่ามี 60% เป็นโรคหูดับจากติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะทำให้หูชั้นในอักเสบ ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคหูดับ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B ไวรัสซัยโตเมกาโล ไวรัสคางทูม รูบิโอลา ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสงูสวัส
  2. การขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในเกิดอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็สามารถทำให้เกิดโรคหูดับ ได้
  3. ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดับ โรคในกลุ่มออโตอิมมูน เช่น โรคลูปัส อาจจะเกิดจากสภาวะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง
  4. การฉีกขาดของเยื่อหูชั้นใน การได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่าในบางรายเป็นโรคหูดับ จากความเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ

สำหรับอาการที่พบสำหระบอาการหูดับ ในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยอาการของโรคหูดับนั้น สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • ไข้สูง ผู้ป่วยอาจมี
  • อาการจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
  • อุจจาระร่วง/ท้องเสีย
  • มีอาการจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาจมีอาการติดเชื้อชนิดเป็นหนองที่ข้อ
  • มักมีประสาทหูอักเสบจนหูดับ/หูหนวกทั้งสองข้าง

การรักษาโรคหูดับ

สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูประสาทหูให้กลับมาโดยเร็ว ระหว่างการพักผ่อนห้ามฟังเสียงดังๆ อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ หายได้เองประมาณ 70 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยทั้งหมด หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ก็ให้ยาต้านไวรัส อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) และยาแก้อักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์

การป้องกันโรคหูดับ

โรคหูดับสามารถการป้องกันได้โดย หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังๆ สำหรับการป้องกันโรคหูดับนั้นควรปฏิบัติ ดังนี้

  • สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
  • ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
  • เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
  • กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู
  • ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุกๆดิบๆ เป็นต้น
  • ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ( Zoonotic infectious disease ) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกรสู่คน ไข้หูดับ เป็นโรคพบได้ประปรายทั่วโลก โดยมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาห กรรม และในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 100 คน ซึ่งในชั้นต้นของการระบาดครั้งนี้ มีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน

โรคหูดับ ภาวะติดเชื้อไวรัสที่หู เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน ส่วนมากโรคหูดับจะมีอาการสูญเสียการได้ยินเพียงข้างเดียว เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove