มะละกอ นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ทำความรู้จักกับมะละกอกันให้มากขึ้น

มะละกอ สมุนไพร สรรพคุณของมะละกอ

มะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L สำหรับชื่ออื่นของมะละกอ เช่น บักหุ่ง ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ เป็นต้น นิยมนำผลมะละกอมาประกอบอาหาร ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีมะละกอเป็นส่วนประกอบ เช่น ส้มตำ แกงส้ม เป็นต้น ผลสุกก็รับประทานเป็นผลไม้สด หวานอร่อย มะละกอไม่ใช่พืชท้องถิ่นของประเทศไทย โดยมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา ซึ่งชาวต่างชาตินำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ต่อมาได้รับความนิยมในการรับประทานจึงมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันมะละกอถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการปลูกมะละกอเชิงพาณิชย์อย่างหลากหลาย

สรรพคุณของมะละกอ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สารต้านอนุมูลอิสระ

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุกอายุสั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสถาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะละกอ มีดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

สายพันธ์ของมะละกอ

สายพันธ์มะละกอมีหลายสายพันธ์ แนะนำสายพันธ์ต่างๆของมะละกอ มีดังนี้

  • พันธุ์แขกดำ ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ผลดิบเนื้อหนา ผลสุกสีส้มอมแดงเหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ มะละกอแขกดำ มีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำศรีสะเกษ มะละกอแขกดำท่าพระ1 มะละกอแขกดำท่าพระ2 มะละกอแขกดำท่าพระ3 แขกดำดำเนิน
  • พันธุ์ปากช่อง เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป
  • พันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ลำต้นอ่อนมีสีม่วงอยู่ประปราย
  • พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์แขกดำปลูกมากที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • พันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ แต่แข็งแรงน้อยกว่า
  • พันธุ์จำปาดะ มีลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง
  • พันธุ์โซโล ( Sunrise Solo ) เป็นมะละกอพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มลรัฐฮาวาย
  • มะละกอพันธุ์ครั่ง มีสีแดง อมม่วงอ่อน ตามก้านใบ และเป็นจุด ๆ ตามลำต้นสีเหมือนฝรั่งดิบ
  • มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว
  • มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแร้นต์ ได้มาจากการคัดเลือกของ Dr. R. Conover แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ระหว่างปี ค.ศ.1979-1980
  • พันธุ์ซันไรซ์ เป็นมะละกอผลเล้กกระทัดรัด น้ำหนักเฉลี่ย 400-500 กรัม เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลมะละกอ ทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

ค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม วิตามินซี 70 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม และ วิตามินบี3 0.4 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ราก ผล และ ยางจากผลดิบ รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลของมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มกิน สามารถช่วย ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลมะละกอมี แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  มีวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีและช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาระบาย ในอาการท้องผูกได้ดี
  • ยางจากผลดิบของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาช่วยย่อย และฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ ใช้ขับปัสสาวะได้ดี

โทษของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกิมีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ซึ่งโทษของมะละกอ มีดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
  • ยางของมะละกอ มีฤทธ์เป็นพิษ สามารถนำมาหมักเนื้อเป็นเนื้อเปื่อยได้ ไม่ควรรับประทานยางมะละกอ แบบสดๆ โดยไม่ผ่านความร้อน

ชะมวง Cowa สมุนไพร ใบชะมวงมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สรรพคุณบำรุงเลือด รักษาไข้ ละลายเสมหะ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ถอนพิษ เป็นยาระบายอ่อนๆ

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Garcinia cowa Roxb. ex Choisy ชะมวงเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นของชะมะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นชะมวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบชะมวง ขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 3.2 กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7333 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.04 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.2 มิลลิกรัม และวิตามินซี 29 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง เป็นพืชท้องถิ่น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงปานกลาง ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะของต้นชะมวง จะเป็นทรงพุ่มคล้ายกรวยคว่ำ ความสูงของต้นชะมวงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของชะมวงจะเกลี้ยง แตกกิ่งก้านใบตอนบนของลำต้น
  • เปลือกของชะมวงจะเป็นสีดำออกน้ำตาล มีลักษณะขรุขระ เป็นสะเก็ด แต่เปลือกด้านในจะมีสีขมพูออกแดง มีน้ำยางออกบริเวณเปลือก
  • ใบของชะมวง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปรี ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ใบอ่อนของชะมวงจะมี สีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม
  • ดอกของชะมวง จะออกดอกตามซอกใบและกิ่ง ดอกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชะมวง จะเป็นทรงกลม ผิวเรียบและมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียวและผลสุกจะมีสีเหลือง ผลสุกจะมีรสเปรี้ยว สามารถทานได้

ขยายพันธุ์ของชะมวงสามารถทำได้โดยการ เพาะจากเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง ต้นชะมวงนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในป่าดิบชื้น และพบได้มากในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับสรรพคุณของชะมวง เราสามารถนำชะมวงมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ และผล รายละเอียดมี ดังนี้

  • ผลอ่อนของชะมวง สามารถนำมาใช้ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต เป็นยาระบาย
  • ผลแก่ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ
  • รากของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้บิด
  • ดอกของชะมวงสามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยแก้ดีพิการ
  • ใบของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย เป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • เนื้อไม้ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ยาระบาย แก้อาการเหน็บชา

ประโยชน์ของชะมวง

สำหรับประโยชน์ของต้นชะมวงนั้นมีหลากหลาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผลชะมวงสุก ใช้รับประทาน
  • ยอดอ่อนหรือใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น
  • ผลและใบอ่อน ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน ให้รสเปรี้ยว
  • ผลและใบแก่ นิยมนำมาหมักจะฤทธ์เป็นกรด นำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควาย
  • ต้นชะมวง สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี
  • เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เป็นต้น
  • น้ำยางจากต้นชะมวง ใช้ผสมในน้ำมันชักเงา
  • ยอดอ่อนชะมวง นำมาหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช

โทษของชะมวง 

การใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง โทษของชะมวง มีดังนี้

  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้
  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน

ชะมวง ( Cowa ) พืชยืนต้น สมุนไพร นักวิจัยผักพื้นบ้านไทย พบว่าในใบชะมวงมีสารชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง สรรพคุณของชะมวง บำรุงเลือด รักษาไข้ ละลายเสมหะ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ถอนพิษ แก้บิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุพิการ

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น