ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว

แครอท ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย โทษของแครอทมีอะไรบ้างแครอท สมุนไพร สรรพคุณของแครอท ประโยชน์ของแครอท

แครอท ( Carrot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. สมุนไพร พืชตระกูลผักชี ต้นแครอท นิยมรับประทานหัวแครอท คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์ของแครอท สรรพคุณของแครอท บำรุงสายตา บำรุงเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิว บำรุงกระดูก ช่วยชะลอวัย ช่วยลดคอเลสเตอรอล  รักษาโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือด รักษาโรคหัวใจ เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาฝี รักษาแผลหนอง

ต้นแครอท หากจะพูดถึงแครอท เพื่อนคิดถึงอะไร กระต่าย ชอบกินแครอท ซึ่งแครอท เป็นผักชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานหัวของแครอท เป็นพืชต่างแดน มีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมาย แครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย อาทิ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

แครอทมีสารสำคัญ ตัวหนึ่ง เรียกว่า  “ ฟอลคารินอล ( falcarinol ) ” เป็นสารที่ช่วยต้านเซล์มะเร็งได้ แครอทนิยมนำมารับประทาน เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆมากมาย ทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด นึ่ง วันนี้มาทำความรู้จักกับ แครอท ว่า ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอทมีอะไรบ้าง สรรพคุณด้านการรักษาโรคของแครอทเป็นอย่างไร

แครอท มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Carrot ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับผักชี แครอท เป็นพืชที่ถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและประเทศแถบเอเชียกลาง เป็นพืชที่นิยมรับประทานกันทั่วโลก เป็นผักที่นิยมนำมารับประทานมากชนิดหนึ่ง ด้วยรสชาติหวาน กรอบ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ต้นแครอท

ต้นแครอท เป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะคล้ายกับผักชี โดยลักษณะของต้นแครอท มีรายละเอียด ดังนี้

  • หัวแครอทมีสีส้ม สามารถนำมารับประทานได้ รากหรือหัวแครอท มีลักษณะพองโต ยาว ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 30 เซนติเมตร
  • ใบของต้นแครอท ใบจะแตกออกรอบๆของลำต้น ก้านใบยาว มีสีเขียว ความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ถึง 40 เซนติเมตร แครอทจะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนเนื้อและส่วนแกน ซึ่งส่วนของเนื้อ (Outer Core) ประกอบด้วย เปลือกบางชั้นนอก (Periderm) และเนื้อ(Cortex) ส่วนที่สองส่วนแกน(Inner core) เป็นส่วนที่ทำให้หัวของแครอทแข็งแรง ส่วนนี้จะประกอบไปด้วย ท่อนํ้า(Xylem) และแกน(Pith)

สายพันธุ์แครอท

  • พันธุ์เบบี้แครอท(Baby carrot) สายพันธุ์ มีหัวขนาดเล็ก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีสีส้ม
  • พันธุ์แนนเทส(Nantes) สายพันธ์นี้ มีหัวขนาดปานกลาง ความยาวของหัวประมาณ 15 เซนติเมตร มีสีส้ม เนื้อกรอบ นิยมปลูกในแถบประเทศยุโรป
  • พันธุ์แชนทีเน่(Chantenay) สายพันธุ์นี้มีหัวขนาดปานกลาง เป็นทรงรูปกรวย ความยาวของหัวประมาณ 25 เซนติเมตร มีสีส้ม เนื้อกรอบ เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกที่สหรัฐอเมริกา
  • พันธุ์แดนเวอร์(Danvers) สายพันธ์นี้มีลักษณะของหัวจะสั้นและเรียว ความยาวของหัวแครอทประมาณ 20 เซนติเมตร มีสีส้ม เปลือกมีผิวเรียบ เป็นสายพันธ์ที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นอบแห้ง หรือบรรจุกระป๋อง และปลูกมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พันธุ์อิมเพอเรเตอร์ (Imperater) สายพันธุ์นี้มีหัวขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ผิวของเปลือกเรียบ มีสีส้ม ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ มีใบติดกับหัวแครอท
  • พันธุ์หงส์แดง (New Kuruda) เป็นสายพันธ์ไทย จัดอยู่ในสายพันธุ์แชนทาเน่ ชอบดินร่วนปนทราย สามารถปลูกได้ทั้งตลอดปี
  • พันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส (Mini Express) สายพันธุ์นี้จัดอยู่ในแครอทสายพันธุ์เบบี้แครอท คือมีหัวเล็ก เรียวยาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี ชอบดินร่วนปนทราย
  • พันธุ์ทัมบีลีนา(Thumbelina)มีลักษณะเด่น คือ หัวกลม และสั้น ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีสีส้มสด รสชาติดี
  • พันธุ์ทัวริโน เอฟวัน (Tourino F1) เป็นสายพันธุ์ที่อ้วนเตี้ย มีสีส้มสด และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น มีสีส้มสด

คุณค่าทางอาหารของแครอท

มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอทขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม น้ำตาล 4.7 กรัม เส้นใย 2.8 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม โปรตีน 0.93 กรัม วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม และธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม

สรรพคุณของแครอท

การใช้แครอทในการรักษาโรคนิยมใช้หัวแครอทมาใช้ประโยชน์ ซึ่ง สรรพคุณของแครอทประกอบด้วย

  • บำรุงสายตา แครอทมีสารเบต้าแคโรทีน ที่มีประโยชน์ต่อสายตา การรับประทานแครอทอย่างสม่ำเสมอจะช่วยถนอมดวงตา
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง แครอทมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด ในแครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการเจริยเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงเลือด แครอทสามารถช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดี ในแครอทช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดไขมันในเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดี การกินแครอทช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เนื่องจากในแครอทมีสารที่ชื่อว่า แคโรทีนอยด์ เป็นสารที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แครอทช่วยปรับระบบย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดี แครอทจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร
  • บำรุงผิวพรรณ แครอทมีวิตามินหลายชนิดที่มีผลดีต่อผิว และยังมีน้ำ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งอยู่เสมอ ลดรอยเหี่ยวย่น
  • บำรุงเส้นผม ในแครอทมีน้ำและวิตามินหลายชนิดที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง
  • แครอทช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ในแครอทเด่นอย่างหนึ่ง คือ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียทำให้แผลหายเป็นปกติรวดเร็วมากขึ้น
  • ช่วยสมานแผล
  • ขับพยาธิ แครอทมีฤทธิ์ช่วยในการขับถ่ายพยาธิได้
  • ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรง
  • ช่วยในการชะลอวัย และลดริ้วรอยตามผิวหนัง

นอกจากนั้น แครอทยัง ช่วยลดคอเลสเตอรอล  รักษาโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือด รักษาโรคหัวใจ เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาฝี รักษาแผลหนอง

การปลูกแครอท

การปลูกแครอทนั้น แครอท เป็นพืชที่ ชอบอากาศหนาว ระดับ 7-23 องศาเซลเซียส การปลูกจะปลูกในช่วยฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ 80 – 100 วัน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกแครอท คือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนํ้าได้ดี หน้าดินลึก ในประเทศไทย สามารถปลูกได้ในทุกภาคยกเว้นภาคใต้ แครอทสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ฤดูหนาวจะให้ผลผลิตสูงที่สุด การปลูกแครอท สามารถใช้วิธีการหว่านหรือหยอดเมล็ด

แครอท ผักสวนครัว นิยมนำหัวแครอทมาทำอาหาร ลักษณะของต้นแครอท เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณของแครอท เช่น บำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย โทษของแครอท มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove