มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เนื้อร้ายที่ตับเกิดจากการติดเชื้อมีก้อนที่ตับ อาการปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ท้องบวม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุมะเร็งตับ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งตับ เป็น โรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โรคหนึ่งของโลก เป็น โรคที่พบบ่อย ผู้ป่วย โรคมะเร็งตับในระยะแรก ยังไม่มีอาการแสดง ส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่ออาการกำเริบ ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการ สังเกตุโรคมะเร็ง ชนิดนี้ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร สาเหตุของโรคนี้เป็นอย่างไร การรักษามะเร็งตับ และ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ ภาษาอังกฤษ เรียก liver cancer เป็น โรคที่พบมากในคนวัยทำงาน มีการศึกษาสถิติในปี พ.ศ. 2543 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ สูงถึง 564,000 คน แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 34 และเพศชาย ร้อยละ 66  สำหรับประเทศไทย มีการสำรวจในช่วง พ.ศ. 2554 ถึง 2546  พบว่า มีผู้ป่วยสูงถึง 47,439 8 คน เป็น โรคมะเร็ง ที่มีผู้ป่วยมาก เป็นอันดับ 3 รองจาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ชนิดของมะเร็งตับ

สำหรับ ชนิดของมะเร็งตับ ที่พบ มี 2 ชนิด คือ  มะเร็งของเซลล์ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก hepatocellular carcinoma และ มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก cholangiocarcinoma

สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งตับ เรายังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจนนัก แต่สามารถสรุปเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อตับ และ โรคมะเร็งตับ มีดังนี้

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคตับแข็ง
  • การกินอาหารปนเปื้อน เชื้อรา ชนิดอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เชื้อราชนิดนี้ พบได้ในธัญพืช ที่มีความชื้น
  • ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง

โรคมะเร็งตับ เป็นลักษณะของการถูกกระทบกระเทือนต่อตับ ทำให้ตับถูกทำร้าย เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ ในระยะแรก จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดนั้น อาการทั่วไป คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบน อาการปวดร้าวหลัง อาการปวดร้าวที่ไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนบริเวณตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบจากน้ำในท้องดัน คันตามตัวมาก เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งตับ

มีการแบ่ง ระยะของโรคมะเร็งตับ ได้เป็น 4 ระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับ ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ มีเพียงก้อนเนื้อก้อนเดียว
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดที่ตับ ก้อนเนื้อมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ นั้น เริ่มจากการ การซักประวัติ อาการที่พบในผู้ป่วย จากนั้นตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจเลือด เพื่อ ดูการทำงานของตับ และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจรังสีที่ตับและช่องท้อง ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของเซลล์มะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่ง การรักษา จะต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง การรักษา ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ แต่สำหรับการปลูกถ่ายตับนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี

แต่สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ ที่ดีที่สุด คือ การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ และ หมั่นตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี การตรวจการทำงานของตับและ ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ด้วยการเจาะเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ข้อควรปฏิบัตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับ ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เราแยกการดูแลตัวเอง 3 ส่วน คือ การดูแลตัวเองในด้านทั่วไป ด้านอาหาร และการออกกำลังกาย รายละเอียดดังนี้

  • ด้านการดูแลตนเองทั่วไป
    • ให้รักษาภาพสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปรกติ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำกว่าคนปรกติ
    • ควบคุมการเกิดโรค เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อสุขภาพโดยรวม
    • หากเกิดกับหญิงสาวหรือผู้หญิงวัยเจริพันธ์ แนะนำให้ คุมกำเนิด เพื่อสุขภาพมารดา แต่หากจำเป็นต้องมีการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่างใกล้ชิด
    • ไปพบแพทย์ตามนัดห้ามขาด
    • หลังจากรักษาโรคมะเร็งแล้ว ช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังการรักษา ถือว่าเป็นช่วงพักฟื้น ค่อยๆปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
  • ด้านการรับประทานอาหาร
    • เลิกการบุหรี่และดื่มสุรา และสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจาก สารเหล่านั้นมีพิษเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการจำกัดการดื่มกาเฟ ด้วย
    • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทาน ผักและผลไม้ให้มากๆ  ลดอาหารที่มี ไขมัน แป้ง น้ำตาลและอาหารรสเค็มจัด
  • ด้านการออกกำลังกาย
    • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดชีวิต ค่อยๆปรับจนเข้าภาวะปกติ โดยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสุขภาพของตนเอง และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรค เช่น เลือกการว่ายน้ำเมื่อมีโรคของข้อต่างๆ เป็นต้น และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ การเกิดเนื้อร้าย เกิดจากาการติดเชื้อที่ตับแบบเรื้อรัง จนเกิดพังผืดและมะเร็งที่ตับ โรคนี้มีอัตราการตายสูง มะเร็งตับ ระยะแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบ คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ไหล่ ท้องบวม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนที่ตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบ คันตามตัว เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ

ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รักษาอาจเกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการปวดท้องด้านขาวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ไส้ติ่ง หากจะกล่าวถึงไส้ติ่ง นั้น คืออะไร อยู่ตำแหน่งใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร ไส้ติ่งนั้นเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ้เป็นเหมือนหนอน ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างเหมือนถุงยาวๆขนาดเท่านิ้วก้อย ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ ตำแหน่งอยู่ที่ท้องน้อย ด้านขวา ผนังด้านในของไส้ติ่งมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ หน้าที่และประโยชน์ของไส้ติ่ง คือ เป็นแหล่งเก็บแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างกาย

ความเชื่อเก่าเก่าว่าไส้ติ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นไม่ใช่อีกต่อไป แต่อาการไส้ติ่งอักเสบนั้น หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ เรามาเรียนรู้เรื่องโรคไส้ติ่งอักเสบกันว่า เป็นอย่างไร สังเกตุอาการและรักษาอย่างไร

โรคไส้ติ่งอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก appendicitis โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของไส้ติ่ง  เป็นการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งทิ้ง และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อโรคภายในร่างกาย หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสในการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่เด็ก 2 ขวบจนถึงคนชรา แต่พบบ่อยมากที่สุด คือกลุ่มคนอายุ 15 ถึง 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ

โรคไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง ไม่ว่าจะเป็น ก้อนอุจจาระที่แข็ง หรือเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่ เป็น ไส้ติ่งอักเสบ นั้น จะมีอาการปวดท้อง อย่างรุนแรง บริเวณ ด้านขาวล่างของท้อง เป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับ อาการไส้ติ่งอักเสบ นั้น สามารถแบ่งระยะของอาการได้ เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะต่อมา และระยะรุนแรง รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องแบบกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่น มักจะปวดในตำแหน่งรอบสะดือ
  • ระยะต่อมา คือ ระยะไส้ติ่งบวมโป่ง ระยะนี้เชื้อโรคมีการขยายตัวลุกลามถึงไส้ติ่งชั้นนอก ผุ้ป่วยจะปวดท้องอย่างรุนแรง อาการปวดจะย้ายมาตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา และจะปวดมากขึ้นหากมีอาการ ไอหรือจาม ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมอยู่ด้วย
  • ระยะรุนแรง คือ ระยะไส้ติ่งแตก การปล่อยให้อาการเจ็บท้องมากขึ้นและไม่รักษา อาการอักเสบก้จะบวมมากขึ้นตจนกระทั้งแต่ เชื้อโรคจะมีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในอื่นๆที่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ต้องรับการผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

สำหรับ การรักษาไส้ติ่งอักเสบ เป็นวิธีรักษามาตราฐาน คือ การตัดเอาไส้ติ่งออก สามารถรักษาได้ 100 % สำหรับ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ นั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนอนพักที่โรงพยาบาล 2 – 3 วัน  ในปัจจุบัน การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักใน การรักษาไส้ติ่งอักเสบ ธรรมดา

ไส้ติ่งอักเสบ คือ อาการบวมและอักเสบจากการติดเชื้อของไส้ติ่ง อยู่บริเวณตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา อาการไส้ติ่งอักเสบ คือ ปวดท้อง ตามด้วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีไข้ ท้องอืด การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ สามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง

โรคไส้ติ่งอักเสบมีการศึกษาครั้งแรกจากการผ่าตรวจศพ โดยศาสตราจารย์ Lorenz Heirster ในปี พ.ศ. 2254 สำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่ กองทัพอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2278

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับตับอ่อนอักเสบ
โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อโรคกรดไหลย้อน
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อมะเร็งหลอดอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคแผลเพปติก
มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหาร

ไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะเกี่ยวกับไส้ติ่ง เกิดการอักเสบของไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ไส้ติ่งอักเสบต้องตัดไส้ติ่งทิ้ง หากไม่รักษาอาจเกิดอาการติดเชื้อ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคไส้ติ่ง คือ ปวดท้องอย่างรุนแรง ด้านขาว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ ไส้ติ่งแตก ต้องผ่าตัดไส้ติ่ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove