แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียก ซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเซ็กซ์ รักษาอย่างไรแผเริมอ่อน โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีแผลที่หำ

สาเหตุของการเกิดแผลริมอ่อน

แผลเริมอ่อน เกิดจากการติดเชื้อ คือ เชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุสดูเครย์ เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ที่หนอง สามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง  ซึ่งมักจะเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และ มีหนอง โดยเมื่อเชื้อโรคเจ้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาในการฟักตัวของโรคภายใน 10 วัน จึงแสดงอาการ โดยหากเกิดโรคนี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถรักษาให้หายเองได้

อาการของแผลริมอ่อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลเริมอ่อน นั้น แจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศ โดยมีตุ่มนูน และเจ็บที่อวัยวะเพศ หากเป็นผู้หญิงจะมีแผลที่แคมเล็ก หากเป็นผู้ชายจะมีแผลที่ปลายอวัยวะเพศ มักจะมีหลายแผล ซึ่งในช่วงแรกแผลจะมีขนาดเล็ก ต่อมาขนาดของแผลจะใหญ่ขึ้น ลักษณะของแผล เป็นแผลเปื่อย แฉะและไม่สะอาด จะมีอาการเจ็บที่แผลมาก ต่อมาแผลจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม ขาหนีบจะเป็นสีแดงคล้ำ และ บวม อาจแตกและมีหนอง ในผู้ป่วยบางราย จะมีิอาการ มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร และปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมากผิดปรกติ และ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หากปล่อยให้แผลลาม จะทำให้อวัยวะเพศผิดรูป ได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแผลริมอ่อน

สำหรับโรคแผลเริมอ่อน ต้องระมัดระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • โรคเอดส์ การมีแผลเริมอ่อนทำให้สามารถติเชื้อเอดส์ได้ง่ายกว่าปรกติ
  • เกิดผังผืดที่อวัยวะเพศ ซึ่งพังผืดอาจทำให้เกิดอุปสรรค์ในการทำกิจกรรมทางเพศ
  • อาจเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
  • อาจเกิดแผลเป็นที่ขาหนีบ

การรักษาโรคแผลริมอ่อน

สำหรับการรักษาโรคแผลเริมอ่อน นั้น ผู้ป่วยต้องรับยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับการดูและรักษาแผล โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาแผลริมอ่อนด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งสามารถทำให้หายขาดได้ แต่ไม่สามารถใช้กับสตรีมีครรภ์ได้ ดังนั้นการรับยาปฏิชีวนะ ต้องเป็นยาที่ได้จากคำสั่งของพทย์เท่านั้น
  • การรักษาด้วยการดูแลแผล และดูแลตนเองในเบื้องต้น เช่น รักษาแผลด้วยการใช้น้ำเกลือล้าง และ ทำความสะอาดแผลให้แห้งอยู่เสมอ หากมีอาการปวดให้กินยาแก้ปวดบรรเทาอาการ และ งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่รักษาแผลอยู่
  • หากผู้ป่วยมีอาการขาหนีบโต จนเกิดหนอง ต้องรักษาด้วยการดูดหนองออก หรือ ผ่าฝีหนองออก

ป้องกันเกิดแผลริมอ่อน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคแผลริมอ่อน นั้น ต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค คือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย และ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด โดยแนวทางการป้องกันการเกิดโรคแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ป่วยที่มีแผลเริมอ่อน
  • หากมีแผลที่อวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลที่อวัยวะเพศ
  • ไม่มีพฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน
  • ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคหากต้องมีเพศสัมพันธ์
  • หมั่นรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ หลังการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
  • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แนวทางการรักษาโรคต้องทำอย่างไร

โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove