มะเร็งปอด Lung Cancer เนื้อเยื้อของปอดผิดปรกติเกิดเนื้องอก โรคมะเร็งปอดมักเกิดกับคนสูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุมะเร็งปอด โรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด ( Lung cancer ) คือ ภาวะเซลล์ของเนื้อเยื้อปอด เกิดการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ซึ่งการดูแลรักษาร่างกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

ชนิดของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) และ  มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC )

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ  80 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิด มี 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดสะความัสเซลล์ ( Squamous cell carcinoma ) ชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ ( Large cell carcinoma ) ชนิดอะดีโน ( Adenocarcinoma )
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรง แพร่กระจายได้เร็ว หากมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ สำหรับการสูบบุหรี่ทำลายปอด เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 90 ของคนสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอด
  • การสูดดมควันบุหรี่ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สูดดมควันจากบุหรี่ ตามสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน
  • การสูดดมฝุ่นระอองจากสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในเหมืองแร่ สถานที่ก่อสร้าง ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
  • การสูดดมก๊าซต่างๆเป็นเวลานาน เช่น ก๊าซเรดอน ( Radon ) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม (Uranium)ในหินและดิน เป็นต้น
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทที่การกินผักและผลไม้น้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกรณีทีมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาวะความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น
  • ภาวะการรติดเชื้อเอชไอวี หรือ ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดอย่างเรื่องรัง เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืดในปอด เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด นั้นส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • เจ็บและปวดเวลาหายใจหรือไอ
  • หายใจมีเสียงวีด
  • เสียงแหบ
  • ใบหน้าและคอบวม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การเอกซเรย์ทรวงอก ( Chest X-ray )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( CT-scan )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน ( Positron Emission Tomography – Computerised Tomography : PET-CT Scan )
  • การส่องกล้อง และ การตัดชิ้นเนื้อ ( Bronchoscopy และ Biopsy )
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Needle Biopsy )
  • การส่องกล้องในช่องอก ( Mediastinoscopy )

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด นั้น ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง ซึ่งการรักษามักใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ จากความรุนแรงของโรค ชนิดของมะเร็งปอด และ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

  • การผ่าตัด ( Surgery ) จะผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และ ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การฉายแสง ( Radiation Therapy ) เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ และ เลิกสูบหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ ควันพิษ หรือ ฝั่น ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ฝึกคิดในแง่บวก

โรคมะเร็งปอด ( Lung Cancer ) คือ ความผิดปรกติของเนื้อเยื้อของปอด เกิดเนื้องอกผิดปรกติ จากสาเหตุต่างๆ โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด อาการของโรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอดต้องทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรค

พยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ปอดติดเชื้อเกิดจากการพยาธิใบไม้ใน ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด โรคพยาธิ โรคปอด โรคในทรงอก

อาการของโรคพยาธิใบไม้ในปอด อาการสำคัญคือ ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือด เกิดจากการติดพยาธิจากการกินอาหาร กินปูดิบ กินกุ้งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย นอกจากไอแล้ว เสมหะจะมีสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีพยาธิออกมากับเสมหะ หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ  มีอาการบวมเหมือนคนเป็นดรคพยาธิตัวจี๊ด ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิใบไม้ในปอด ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร และต้องดูแลอย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส หรือภาษาอังกฤษ เรียก Paragonimus เกิดจากการพยาธิใบไม้ ชื่อ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน จะเข้าสู่ปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือดได้ ซึ่งพยาธิใบไม้ชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โดย การรับประทานอาหารประเภทปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิด แบบดิบๆ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน แถบเอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีรายงานผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบรูณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี เป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)

สาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในปอด

สาเหตุหลักของการติดพยาธิใบไม้ในปอดนั้น เกิดจาก การมีพยาธิใบไม้ที่มีการอาศัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เสือ พังพอน ซึ่งโรคพยาธิชนิดนี้ ผู้ป่วยบางรายกลืนเสมหะลงไป ทำให้ไข่พยาธิที่จะขับออกมากับเสมหะ สามารถออกมากับอุจจาระ และลงสู่แหล่งน้ำะรรมชาติ สัตว์น้ำ อย่าง ปู และกุ้ง กินต่อ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย ภายใน 30 วัน ไข่พยาธิสามารถฟักตัวได้ และเจริญเติบโตต่อในร่างกายของสัตว์เหล่านั้น เมื่อมนุษย์จับสัตว์แหล่านั้นมาทำอาหาร โดยไม่มีการปรุงอาหารให้สุก ก่อน ก็จะรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับการรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายและจะเกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอดนั้น มีระยะของการเกิดโรค ยาวนานถึง 20 ปี เนื่องจากในชีวิตประจำวันของสัตว์ที่มีไข่ของพยาธืนั้น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับได้

ระยะของการติดต่อ

ซึ่งระยะของการติดโรคนั้น มี 2 ระยะคือ ระยะฟักตัวและระยะติดต่อ รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค ในระยะนี้กินเวลา ประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่พยาธิใบไม้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจริยเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธ์และออกไข่ได้
  • ระยะติดต่อของโรค ในระยะนี้สามารถกินเวลาได้มากกว่า 20 ปี เนื่องจากหากมีพยาธิใบไม้เจริญเติบดตในร่างกายแล้ว เกิดการขยายพันธ์ แต่การติดต่อของพยาธิจะไม่ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง แต่การติดต่อนั้นต้องอาศัยตัวกลางเป็นพาหะ เช่น กุ้ง หอยและปู เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะอาการของโรค มีความเหมือนกับโรควัณโรค คือ อาการไอแบบเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น อาจมีโลหิตปนออกมากับเสมหะ รวมถึงไอเป็นเลือด และสามารถพบพยาธิออกมากับเสมหะได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หากไม่เข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ พยาธิขึ้นสมอง หากพยาธิเข้าสมองแล้ว ผู้ป่วยจะปวดหัว มีอาการเหมือนผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก เป็นลมบ้าหมู ระบบสายตาผิดปกติ มีหนอนพยาธิอาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง จะรู้สึกเหมือนเป็น โรคพยาธิตัวจี๊ด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการ สังเกตุอาการของผู้ป่วย ตรวจเสมหะและตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูความผิดปรกติของปอด เป็นต้น

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด

สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะมีอาการแทรกซ้อน บ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มีอาการท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด คือ

  1. ยาไบไทโอนอล (Bithionol) ต้องให้ยานี้ในปริมาณ 30 ถึง 40 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวคน 1 กิโลกรัม โดยให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  2. ยาไบทิน บิส (Bitins bis) ต้องให้ยาในปริมาณ 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  3. ยาฟาซควอนเตล (Prazlquamtel) ต้องให้ยาในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะการป้องกันให้ทำเหมือนโรคพยาธิไส้เดือนและพยาธิใบไม้ในตับ โดยข้อควรปฏิบัติสำหรับการควบคุมและป้องกัน มีดังนี้

  1. ให้กำจัดเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการขยายพันธ์ และแพร่เชื้อสู่สัตว์อื่นๆ เช่น ขุดหลุมฝังเสมหะและถ่ายอุจจาระให้ลึกๆ ไม่บ้วนเสมหะลงที่สาะารณะ ที่มีคนจำนวนมาก และแม่น้ำลำคลอง
  2. ทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางนำโรค เช่น หอย ปู กุ้ง หนู พังพอน แต่การกำจัดนั้น เป็นไปได้ยาก สิ่งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี้ยงในการสัมผัสและใกล้ชิดกับสัตว์ที่มีโอกาสเป็นพาหะของพยาธิ
  3. ไม่รับประทานอาหารพวกกุ้งและปูแบบดิบๆ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ภาวะการติเชื้อที่ปอด เกิดจากการพยาธิใบไม้ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ ปูดิบ กุ้งดิบ โรคติดต่อ สาเหตุ การรักษา ต้องดูแลอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove