อัญชัน สมุนไพร สีม่วงผสมอาหารได้จากดอกอัญชัน สรรพคุณขับปัสสาวะ บำรุงผม บำรุงความงาม ทำเครื่องสำอางค์ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ ประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้าง

อัญชัน สมุนไพร ดอกไม้ สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัน ( Butterfly pea) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn พืชสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณของอัญชัน ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม ทำเครื่องสำอางค์ สีผสมอาหาร สีม่วง ดอกอัญชัน สรรพคุณชั้นเลิศ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ มาทำความรู้จักกับอัญชันกันให้มากขึ้น ประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้าง

ต้นอัญชัน เป็นพืชผัก สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เขตร้อน และมีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา อัญชัน มีประโยชน์หลายด้าน สรรพคุณของอัญชัน ใช้ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม และเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน ใช้บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ ให้สีผสมอาหาร สีม่วง ดอกไม้สีม่วง ที่ประโยชน์หลากหลาย

อัญชัญ ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ ของอัญชัน เรียก Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ ชื่อเรียกของอัญชัญจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น อัญชันในวรรณคดี ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่ง นิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวง

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน เป็น ไม้เลื้อย สามารถปลูกตามรั้วบ้าน หรือปลูกเป็นซุ้ม สวยงาม ลำต้นของอัญชันจะมีขนนุ่ม ส่วนใบของอัญชัญจะเป็นช่อ ลักษณะใบจะเป็นรูปไข่ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และชนิดพันธุ์ทาง อัญชัญชนิดนี้จะมีสีม่วง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีน้ำเงิน

  • ลำต้น อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบอัญชัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
  • ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
  • ผลอัญชัน ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

สรรพคุณของอัญชัน

อัญชัญสามารถนำมาทำเครื่องสำอางและนำมาทำเป็นยา นิยมนำดอก เมล็ด และรากมาใช้ประโยชน์

  • ดอกอัญชัน นิยมนำมาทำแชมพูสระผม ดอกอัญชันจะช่วยให้ ผมดกดำ ผมนุ่มสวย ดอกอัญชันนำมาคั้นให้สีม่วง ในการทำสีผสมอาหาร นิยมนำมาผสมขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ นำมาทำน้ำอัญชัน
  • เมล็ดของอัญชัญ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน
  • รากของอัญชัญ มีรสขม นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และทำยาระบาย แก้อาการปวดฟัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • ใบของอัญชัน ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยบำรุงสายตาและอาการตาแฉะได้

ข้อควรระวังในการบริโภคอัญชัน

          ดอกอัญชัน หากบริโภคมากเกิน จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไตต้องทำการขับสารสีของอัญชันออก และผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานอัญชัน เพราะดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง และไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรอัญชันในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ประโยชน์ของอัญชัน

  • ควรดื่มทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหารและยา
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรในอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งและสารอื่น ๆได้ง่าย
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

แม้ว่าดอกอัญชันจะเป็นสมุนไพรชั้นยอด แต่ก็มีโทษ ถ้าหากบริโภคมากเกินไป ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำอัญชันสีเข้มเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคโลหิตจางก็ไม่ควรดื่มน้ำอัญชัน หรือ อาหารจากดอกอัญชัน  เพราะในดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

อัญชัน สมุนไพร สีม่วงผสมอาหารจากดอกอัญชัน สรรพคุณของอัญชัน ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม ทำเครื่องสำอางค์  สรรพคุณชั้นเลิศ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ มาทำความรู้จักกับอัญชันกันให้มากขึ้น ประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ต้อหิน Glaucoma ขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลต่อสายตา อาการปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวจนอาเจียน ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญคือความดันตาสูง หินเฉียบพลัน ต้อหินเรื้อรังต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ รักษาตาต้อ

โรคต้อหิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคความดันตาสูง โรคนี้ภาษาอังกฤษ เรียก Glaucoma การเกิดนั้นต้อหินไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป เราจึงอาจเรียกดรคนี้ว่าเป็น โรคตา โรคซึ่งมีการทำลายเซลล์ประสาทตาในจอตา ( Retinal ganglion cell ) ต้อหิน เป็นโรคที่เซลล์ประสาทในจอตาถูกทำลายจนตายไปเรื่อยๆ และทำให้ลาน สายตาผิดปกติ ขั้วประสาทตา ที่เป็นศูนย์ทรวมของใยประสาทตาถูกทำลาย เป็นรอย จนเป็นผลให้สูญเสียการมองเห็น

ต้อหิน เป็นเกี่ยวกับดวงตา โรคที่เซลล์ประสาทจอตาตายไปเรื่อยๆ ทำให้ลานสายตาผิดปกติ เกิดเป็นรอย หวำกว้างที่ขั้วประสาทตา  ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ประกอบด้วย

  • ความดันลูกตา การที่ความดันตาสูงขึ้นจำทำเกิดต้อหิน
  • อายุ ที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมตามวัย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • โรคที่เกี่ยวกับเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคต้อหินมีอะไรบ้าง ความดันตาสูง อายุมาก กรรมพันธุ์ โรคต่างๆที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงจอประสาทตาลดลง เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยส่วนมากแล้ว ต้อหินมีสาเหตุมาจากความดันลูกตาสูงผิดปกติ เราสังเกตุได้จาก เมื่อเราคลำดวงตาจากภายนอก “ลูกตาแข็ง” ซึ่งหลายคน เข้าใจผิดว่า โรคต้อหินมีเศษหิน อยู่ในตา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

ชนิดของต้อหิน

การแบ่งชนิดของต้อหิน นั้น สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด โดยแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดประกอบด้วย

  • ต้อหินปฐมภูมิ เรียก Primary glaucoma ต้อหินปฐมภูมิ เป็นต้อหินที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่จะพบในผู้สูงอายุและมีโอกาสเป็นมากขึ้น ต้อหินชนิดนี้อาจจำแนกตามอาการออกได้เป็นชนิดย่อยๆ คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ต้อหินชนิเรื้อรัง
    • ต้อหินเฉียบพลัน เรียก Acute glaucoma คือ การเกิดต้อหิน อย่างรวดร็ว ภายใน 2 วัน โดยอาการจะรุนแรง มีอาการ ปวดตา ตามัว ตาแดง หากรักษาไม่ทัน อาจทำให้ตาบอดได้
    • ต้อหินเรื้อรัง เรียก Chronic glaucoma
  • ต้อหินทุติยภูมิ เรียก Secondary glaucoma ต้อหินทุติยภูมิ จำเป็นต้องรักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย แต่ถ้ารักษาช้าเกิดไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทางตาอื่นๆตามมา
  • ต้อหินแต่กำเนิด เรียก Congenital glaucoma  ต้อหินแต่กำเนิด และ ต้อหินในเด็ก นั้นเกิดจากพัฒนาการภายในลูกตาของเก็กผิดปกติ ความดันตาจะสูงมาก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
  • ภาวะสงสัยต้อหิน เรียก Glaucoma suspect เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยบางราย ที่มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการไม่ครบ ภาวะสงสัยต้อหิน แพทย์จะต้องติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาว

อาการของโรคต้อหิน เราสามารถแบ่งโรคต้อหินได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และ ต้อหินเรื้อรัง ต้อหินชนิดต่างๆมีรายละเอียดอย่างไร ดูได้จากข้อความด้านล่าง

  • โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยต้อหินจะมีอาการ 3 ประการอย่างกระทันหัน คือ ปวดตา ตามัว ตาแดง สายตามัวมากจนถึงขั้นเห็นหน้าไม่ชัดเลย ปวดตามาก ในผู้ป่วยบางท่านถึงขั้นปวดหัวมาก จนอาเจียน หากอาการเป้นอย่างนี้ให้พบหมอทันที
  • โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่รู้สึกว่า ตามัวและปวดตา แต่การมองเห็นภาพด้านข้างจะแคบลง ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายสายตา ทำให้ใช้สายตาได้ไม่นาน อาการแบบนี้ผุ้ป่วยทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามอายุ อาการของต้อหินเรื้อรังนี้ความดันตาจะค่อยสูงขึ้น วินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันถึงรู้ว่าเป็นต้อหิน

การรักษาโรคต้อหิน

การรักษาต้อหินในปัจจุบัน สามารถทำการรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาโรค การใช้แสงเลเซอร์และ การผ่าตัด

สามารถทำได้โดย ทานยาลดความดันตา เช่น Pilocarpine, Aceta zolamide และการยิงเลเซอร์ซึ่งแพทย์จะยิงเลเซอร์ให้เกิดรูที่ม่านตา ทำให้การไหลเวียนของน้ำในลูกตาไหลได้คล่องมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ความดันตา จะลดลงสู่ภาวะปกติ
การรักษาต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค

  • การรักษาด้วยยา เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในภาวะปลอดภัยต่อประสาทตา ปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ทั้งยาหยอด ที่มีฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การรักษาด้วยยานั้นจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างถูกต้อง
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษา นั้นขึ้นอยู่กับชนิของต้อหินที่เกิดขึ้นรวมถึงระยะของการเกิดโรคด้วย
    • Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) เพื่อรักษาต้อหินมุมเปิด จะใช้วิธีนี้รักษาหากการใช้ยาหยอดตาแล้วได้ผล
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เพื่อใช้รักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับการรักษาชนิดนี้จะใช้รักษาร่วมกับ Laser peripheral iridotomy (LPI)
    • Laser cyclophotocoagulation จะใช้การรักษาชนิดนี้สำหรับการรักษาในกรณีอื่นไม่ได้ผล
  • การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้
    • Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา
    • Aqueous shunt surgery เป็นการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

การป้องกันการเกิดโรคต้อหินนั้น ต้องแยกการป้องกันการเกิดต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การป้องกันต้อหินเฉียบพลัน หากแพทย์ตรวจสุขภาพตาแล้วพบว่า ช่องด้านหน้าลูกตาแคบ จะมีโอกาสการเกิดต้อหินเฉียบพลันได้ ต้องทำการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูที่ม่านตา
  • การป้องกันการเกิดต้อหินเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่ชัดเจนนัก เพราะผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงอาการ แต่สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจคัดกรองภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น ประวัติของการเกิดต้อหินของคนในครอบครัว ภาวะความดันตา และ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลตากการมองเห็น อาการโรคต้อหิน คือ ปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวมากจนอาเจียน โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญของการเกิดต้อหิน คือ ความดันตาสูง โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน โรคต้อหินชนิดเรื้อรัง ภาวะต้อหินรักษาอย่างไร เมื่อเป็นต้อหินต้องทำอย่างไร ต้อหินเกิดจากอะไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove