มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค

ถุงลมโปร่งพอง โรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ ภาวะถุงลมขยายตัวผิดปกติ อาการไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย โรคยอดฮิตของคนสูบบุหรี่ การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองต้องทำอย่างไรโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคถุงลมโป่งพอง ทางการแพทย์ เรียก Emphysema เป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้น ชนิดเรื้อรัง โดยการอุดกั้นของปอดแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 ส่วน คือ โรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการทั้ง 2 ร่วมกัน ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค เกิดจากการสูบบุหรี่ สามารถรักษาหรือประคับประครองไม่ให้อาการของโรคหนักขึ้น ด้วยการเลิกสูบบุหรี่ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก ในอันดับแรกๆ มีอัตราการเกิดโรค ที่ 18 คนต่อ 1000 คน และพบว่าผุ้ชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุและปัจจัยของกานเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สามารถแยกสาเหตุได้ เป็น 3 สาเหตุ ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 20 ป่วยเป็นโรคถุงลมโปร่งพอง ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร โอกาสของการป่วยดรคนี้ก้ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากควันของบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพปอด ทำให้เกิดสารตกค้างในปอด ทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้น
  • การอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีมลภาวะของอากาศ ในเมืองใหญ่มีมลพิษทางอากาศสูง พบว่ามีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเมืองที่ไม่มีมลพิาทางอากาศ เนื่องจากมีการหายใจเอามลพิษเข้าสู่ร่างกาย หากเกิดสารตกค้างมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของปอดได้
  • ปัจจัยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบในคนที่ขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดเอนไซม์เพียงเล็กน้อยนั้นไม่ทำให้เกิดโรคได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดโรคถุงลมโปร่งพอง โดยไม่ได้รับปัจจัยการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่หรือการอยู่ในมลพิษทางอากาศ ก็สามรถสันนิษฐานว่าเกิดจกาการขาดเอมไซม์

อาการและการวินิจฉัยโรค

อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโปร่งพอง นั้น พบว่ามีอาการไอเรื้อรัง ซี่งในระยะแรกๆ จะไอตอนเช้า หลังจากตื่นนอน เป็นลักษณะแบบไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย เสมหะมีลักษณะใสๆ ผู้ป่วยเป็นหวัดง่าย เหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยหอบ เสียงลมหายใจเป้นเสียงหืดๆ อาการเหนื่อยหอบจาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้ภาวะการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยโรคของแพทย์ นั้นแพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วย และการตรวจสมรรถภาพของปอด เอ็กซ์เรย์ปอด เพื่อวิเคราะห์โรคและ ระดับอาการของโรค

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้น มีแนวโน้มการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น โดยการรักษานั้น ทำเพื่อให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น โดยยาที่ใช้การักษาจะเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด ลดอาการอักเสบและติดเชื้อของปอด แต่การรักษาโรคนี้นั้น สามารถแบ่งการรักษาโรคได้ 2 วิธี คือ การรักษาโดยการผ่าตัด และ การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง ด้วยการผ่าตัดนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การผ่าตัดเอาถุงลมออก การผ่าตัดเอาปอดบางส่วนออกและการผ่าตัดเปลี่ยนปอด โดยการผ่าตัดเอาถุงลมออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยน้อยลง ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยระยะท้ายๆของโรค การผ่าตัดต้องเลือกใช้กับผู้ป่วยให้เหมาะสม การผ่าตัดถุงลมที่ให้ผลที่ดีนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนบนของปอดกลีบบน และลักษณะของโรคกระจายเป็นหย่อมๆ เนื้อปอดที่ดียังมีเหลืออยู่ สำหรับการรักษาด้วยการตัดปอดนั้นอาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจโดยเฉพาะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้น และวิธีผ่าตัดแบบสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนปอด เรียก Lung Transplantation ต้องทำด้วยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น
  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองที่ไม่ใช้ยารักษา เป็นการพื้นฟูสุขภาพปอด เพื่อเพื่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น โดยวิธีรักษาใช้ การออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้่ในการหายใจแข็งแรงมากขึ้น การฝึกการหายใจ การระบายเสมหะ การดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ หลีกเลื่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับผลข้างเคียงและความรุนแรงของดรคถุงลมโปร่งพองนั้น โรคนี้จะทำให้เสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว และไม่สามารถทำให้ปอดกลับมาหายเป็นปกติได้

การป้องกันการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือในผู้ที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัย ไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ภาวะถุงลมโปร่งพอง คือ โรคที่เกิดจากภาวะการอุดกลั้นของปอด ที่ให้การทำงานของระบบหายใจผิดปรกติ เกิดจากการสุบบุหรี่หรือการสูดดมมลพิษเป็นเวลานาน สาเหตุหลักของคนเกิดโรคนี้ คือ การสูบบุหรี่ การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด ต้องป้องกันที่การให้ความรักและความเข้าใจของคนในครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกได้เข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่ และ ไม่สร้างปัจจัยที่ทำให้ลูกเลือกทำร้ายตัวเองด้วยการสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove