ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค

ฮีสโตพลาสโมสิส Histoplasmosis ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาและป้องกันอย่างไรโรคฮีสโตพลาสโมสิส ติดเชื้อรา ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ

เชื้อราHistoplasma capsulatum พบได้ทั่วโลก เป็นเชื้อรานี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง เช่น ดินในถ้ำ เล้าไก่ กรงนก และ สวนสาธารณะ โดยพื้นที่ที่มีนกหรือค้างคาวถ่ายมูลไว้ โรคฮีสโตพลาสโมสิส สามารถโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่คนสามารถติดเชื้อจากการหาใจ และ การสัมผัสเชื้อโรค โรคมักพบในสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เป็นต้น

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส ประกอบด้วยกลุ่มคนต่างๆ ดังนี้

  • เกษตรกรกลุ่มกำจัดแมลง
  • เกษตรกลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไก่
  • ช่างก่อสร้าง
  • ช่างหลังคา
  • นักจัดสวน
  • นักสำรวจถ้ำ

สาเหตุของการติดเชื้อฮีสโตพลาสโมสิส

สาเหตุหลักของโรค คือ เชื้อรา Histoplasma capsulatum  เข้าสู่ร่างกาย ผ่านการสูดดม ซึ่งสาเหตุอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การท้องเสียจากการติดพยาธิปากขอ การขยายขนาดของตับ การขยายขนาดของม้าม และ การขยายขนาดของต่อมน้ำเหลือง

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส

โรคฮีสโตพลาสโมสิส มีตั้งแต่ระดับอ่อนโดยไม่แสดงอาการจนถึงระดับที่รุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการของโรคมักแสดงอาการใน 3 ถึง 17 วัน เริ่มจากการเป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดตัว ไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก และบางรายมีอาการปวดข้อและมีผื่นคัน ร่วมด้วย สำหรับอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการไอ
  • หายใจลำบาก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ออกกำลังกายไม่ได้
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีไข้สูง
  • เหงือกซีด
  • มีอาการดีซ่าน
  • ตับและม้ามมีการขยายตัว

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ อาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน และ อาการปอดอักเสบแบบเรื้อรัง โดยส่วนมาก ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส เกิดอาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อ คือ Amphotericin B และ Itraconazole สำหรับระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของอาการติดเชื้อ

การป้องกันโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับแนวทางป้องกันการติดเชื้อรา ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค เช่น ถ้ำ เล้าเป็ด เล้าไก่ สถานที่ที่มีนกหรือค้างคาว หมั่นรักษาความสะอาดเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรค

โรคฮีสโตพลาสโมสิส ( Histoplasmosis ) ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum เชื้อโรคอยู่ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการของโรค เช่น การไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove