ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ติดเชื้อไวรัส H7N9 ที่พบในสัตว์ปีก อาการปอดอักเสบกระทันหัน มีไข้ ไอ หายใจลำบาก ทำให้เสียชีวิตได้ วิธีรักษาและป้องกันไข้หวัดนกทำอย่างไร

ไข้หวัดนก H7N9 โรคติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A เป็นไวรัสที่พบในสัตว์ปีก มีรายงานการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยอาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 นั้นองค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ ว่า คือ มีไข้ ไอ การหายใจสั้น จากนั้นจะเกิดโรคปอดบวมในเวลาต่อมา  สามารถติดต่อได้จากสัตว์ปีกเป็นพาหะนำโรค โดยสัตว์ปีกเหล่านั้น ไม่มีอาการของโรคให้เห็น เมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ H5N1 ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ H7N9 ป้องกันได้ยากกว่า

โดย องค์การอนามัยโลก ยังระบุว่า H7N9 ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาด และยังไม่มีหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนไปสู่คน การสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ H7N9 ยังคงถูกเฝ้าระวังอยู่ แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่แสดงว่ามีการติดเชื้อได้ ปัจจุบันการรักษาไข้หวัดสายพันธ์ H7N9 ยังไม่มีวัคซีนรักษา

ไข้หวัดนก H7N9 คือ โรคติดต่อชนิดหนึ่ง โรคนี้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเชื้อไวรัสของไข้หวัดใหญ่ มีอยู่ 3 สายพุนธุ์ คือ สายพันธุ์ A B และ C ไข้หวัดนก H7N9 เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A H7 โดยทั่วไปแล้วไวรัส H7 สามารถพบได้ทั่วโลกในนกป่าและสัตว์ปีก การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 มาจากไหน เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ A H7 ที่พบในมนุษย์มาจากสัตว์ปีกและเกิดการพัฒนาเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไข้หวัดนก H7N9

อาการผู้ป่วยไข้หวัดนก H7N9

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 เราพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการ ปอดอักเสบแบบกระทันหัน มีไข้สูงมาก ไอ มีอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยรับเชื้อโรคแล้ว 5-7 วัน ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก และจะทำให้เสียชีวิตในที่สุด

มีวิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 อย่างไร?

  1. การล้างมือให้สะอาด เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
  2. การรับประทานอาหารที่สุกและสะอาด
  3. รักษาสุขอนามัย เช่น ควรปิดจมูกและปากด้วย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าขณะที่ไอหรือจาม
  4. หลีกเลี่ยงการการกระทำทุกอย่างที่จะ แพร่เชื้อไวรัสไปยังบุคคลอื่นได้
  5. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย
  6. การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำหลังสัมผัสสัตว์หรือมูลสัตว์เมื่อมือสกปรก รวมทั้งก่อนและหลังการดูแลคนในบ้านที่ป่วย
  7. ควรปิดจมูกและปากด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าขณะที่จามหรือไอ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อ
    ไวรัสต่างๆ ไปยังบุคคลอื่น
  8. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยการประกอบอาหารควรใช้อุณหภูมิอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส ในการทําให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง

การรักษาไข้หวัดนก H7N9

จากการศึกษาพบว่า ยา Oseltamavir หรือยา Zanamevir สามารถรักษาผู้ป่วยไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ได้แต่ต้องรักษาให้เร็วที่สุด

ไข้หวัดนก สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเมื่อแพทย์วินิจฉัยได้อย่างแน่ชัดแล้วว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก แพทย์จะให้ผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยแยกผู้ป่วยออกจากผู้ป่วยคนอื่น ๆ และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาการของไข้หวัดนกค่อนข้างรุนแรง อีกทั้งยังสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ในช่วงรักษาตัว แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการไข้และอาการปวด ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ยาที่แพทย์มักใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดนก ได้แก่

  • ยาโอเซทามิเวียร์ (Oseltamivir)
  • ยาซานามิเวียร์ (Zanamivir)

ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะถูกใช้เพื่อลดความรุนแรงของอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต โดยยาเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงหากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากอาการเริ่มแสดง แต่ในกรณีของไข้หวัดนก ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าจะเป็นเช่นเดียวกันหรือไม่ ดังนั้นควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด แม้จะเลยจาก 48 ชั่วโมงแรกหลังแสดงอาการก็ตาม

การป้องกันไข้หวัดนก

สำหรับวิธีป้องกันไข้หวัดนกที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรค ควรล้างมือทุกครั้งหากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีก ที่ปรุงไม่สุก การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ การลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค จึงดีที่สุด

สมุนไพรช่วยลดไข้ สามารถช่วยบรรเทาอาการไข้สูงได้ เราได้รวบรวมสมุนไพรที่สรรพคุณลดได้ ดังนี้

ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
บอระเพ็ด สมุนไพร สรรพคุณของบอระเพ็ด ประโยชน์ของบอระเพ็ด
บอระเพ็ด
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ส้มโอ
สะเดา ผักสะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดา
สะเดา
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวผักกระเฉด
ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ คือ ภาะการติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ โรคไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส H7N9 ที่พบในสัตว์ปีก ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบแบบกระทันหัน มีไข้สูงมาก ไอ ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ วิธีรักษาไข้หวัดนก การป้องกันไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อ โรคไข้หวัดนก รักษาอย่างไร H7N9 สายพันธ์ A เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร

ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี Pulmonary Embolism ภาวะการอุดกั้นในปอดจากกลิ่มเลือด ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาบวม อันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างกระทันหันได้ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะพันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว และ พฤตอกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน โรคนี้เป็นเพชรฆาตเงียบ คนแข็งแรงก็สามารถเสียชีวิตได้ หากประมาท โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการเกิดโรคมาก่อน และ สาเหตุที่ไม่พบว่ามีการเกิดโรคมาก่อน ซึ่ง สาเหตุของการเกิดโรคจากการเกิดโรคมาก่อน เช่น เกิดเมื่อได้รับการผ่าตัดและ ต้องนอนนิ่งๆเป็นเวลานานๆ การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การรับประทานยาบางประเภท ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ส่วนในสาเหตุการเกิดอีกประเภท คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่มีสาเหตุของอาการมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรค มีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ และ การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากที่สุด
  • ภาวะทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคนเป็นโรคลิ่มเลือด อาจมีความความเสี่ยงให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดมากขึ้น
  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีก การถูกกระแทดอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • การเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเหล่านี้มัโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ หรือ เข้ารับการทำเคมีบำบัด
  • อยู่ในภาวะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด จะแสดงอาการต่างๆ ซี่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือดที่อุดตันในปอด โดย อาการต่างๆ สามารถสังเกตุ ได้ดังนี้

  • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก โดยเกิดแบบฉับพลัน และ จะมีอาการหนักขึ้นหากออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • มีอาการไอเป็นเลือด มีเลือดปนมากับเสมหะเวลาไอ
  • มีไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • ผิวมีสีเขียวคล้ำ
  • ปวดขา และ มีอาการขาบวมเฉพาะน่อง
  • หน้ามืดเป็นลม และ หมดสติ

อาการต่างๆนี้ มีอาการของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดไปอุดตันในปอด สามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตั้นในปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ หากรักษาได้ทัน จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา โดยใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และ ยาสลายลิ่มเลือด
  • การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
  • การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด การรักษาแนวทางนี้ สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้
  • การผ่าตัด โดยผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด

การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

แนวทางการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี ( Pulmonary Embolism ) ภาวะการอุดกั้นในปอด ที่เกิดจากกลิ่มเลือด ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย และ ไอ เป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ สาเหตุ อาการ และ การรักษา ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove