โรคคอตีบ ( Diphtheria ) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ ติดต่อสู่คนได้ อาการมีไข้ มีเสมหะ เจ็บคอ หายใจลำบาก มีแผลตามตัว หากไม่รักษาเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคคอตีบ โรคระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่คอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Chorynebac terium diphtheriae เป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว โรคคอตีบมีฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรค ต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อน เมื่ออดีตโรคคอตีบมีอาการที่รุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจนนวนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับโรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อโรคเมื่อเข้าสู่งร่างกายเชื้อโรคจะปล่อยสารพิษ ( Exotoxin ) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และ เส้นประสาท ซึ่งโรคคอตีบนี้สามารถติดต่อกันได้ โดยการรับเชื้อทางปาก หรือ การหายใจ เช่น การไอ การจาม หรือ การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของคนที่มีเชื้อโรคคอตีบ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคคอตีบ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก กลืนน้ำลายไม่สะดวก และ ผิวหนังจะมีอาการผิดปรกติ เช่น มีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บแผล และ มีหนองที่แผล ผู้ป่วยโรคคอตีบหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการต่างๆจากโรคแทรกซ้อนเพิ่มได้ คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด หัวใจเต้นผิดปรกติ อาจทำให้เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ สามารถสรุบลักษณะอาการของโรคคอตีบ ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง แต่ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บคอมาก
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • คออาจบวม
  • ไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • เสียงแหบ
  • น้ำมูกอาจมีเลือดปน
  • มีแผลบริเวณผิวหนัง บริเวณแขนและขา

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับระยะของอาการโรคคอตีบ มี 2 ระยะ คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัว ตั้งแต่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 10 วัน ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ มักเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ หลังจากติดเชื้อได้ประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคคอตีบ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคได้ในระยะนี้จากการไอ การจาม และ สารคัดหลั่ง

การรักษาโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาโรคคอตีบได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 14 วัน  เมื่อให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อกับผู้ป่วย แพทย์จะการรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรคอื่นๆ เช่น ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้น้ำเกลือและให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยในการหายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น

การป้องกันโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • เข้ารับการฉีดวัควีนป้องกันโรคคอตีบ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ใช้หน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการรับเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ

โรคกาลี แอนแทรกซ์ Anthrax ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการมีไข้ ปวดตัว เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก ตัวเขียว เสียชีวิตในที่สุดโรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

แอนแทรกซ์ ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่เกิดกับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น มักไม่ค่อยทำให้เกิดโรคในคน เกิดจากเชื้อโรคชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งสามารถอยู่ในที่ต่างๆเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารได้รับเชื้อได้ง่าย เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกาย จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

โรคแอนแทรกซ์ในคน

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

คนมีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก เป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

โรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการโรคแอนแทรกซ์ คือ มีไข้ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ แต่แพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove