ฮีสโตพลาสโมสิส Histoplasmosis ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาและป้องกันอย่างไรโรคฮีสโตพลาสโมสิส ติดเชื้อรา ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ

เชื้อราHistoplasma capsulatum พบได้ทั่วโลก เป็นเชื้อรานี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง เช่น ดินในถ้ำ เล้าไก่ กรงนก และ สวนสาธารณะ โดยพื้นที่ที่มีนกหรือค้างคาวถ่ายมูลไว้ โรคฮีสโตพลาสโมสิส สามารถโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่คนสามารถติดเชื้อจากการหาใจ และ การสัมผัสเชื้อโรค โรคมักพบในสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เป็นต้น

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส ประกอบด้วยกลุ่มคนต่างๆ ดังนี้

  • เกษตรกรกลุ่มกำจัดแมลง
  • เกษตรกลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไก่
  • ช่างก่อสร้าง
  • ช่างหลังคา
  • นักจัดสวน
  • นักสำรวจถ้ำ

สาเหตุของการติดเชื้อฮีสโตพลาสโมสิส

สาเหตุหลักของโรค คือ เชื้อรา Histoplasma capsulatum  เข้าสู่ร่างกาย ผ่านการสูดดม ซึ่งสาเหตุอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การท้องเสียจากการติดพยาธิปากขอ การขยายขนาดของตับ การขยายขนาดของม้าม และ การขยายขนาดของต่อมน้ำเหลือง

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส

โรคฮีสโตพลาสโมสิส มีตั้งแต่ระดับอ่อนโดยไม่แสดงอาการจนถึงระดับที่รุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการของโรคมักแสดงอาการใน 3 ถึง 17 วัน เริ่มจากการเป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดตัว ไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก และบางรายมีอาการปวดข้อและมีผื่นคัน ร่วมด้วย สำหรับอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการไอ
  • หายใจลำบาก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ออกกำลังกายไม่ได้
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีไข้สูง
  • เหงือกซีด
  • มีอาการดีซ่าน
  • ตับและม้ามมีการขยายตัว

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ อาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน และ อาการปอดอักเสบแบบเรื้อรัง โดยส่วนมาก ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส เกิดอาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อ คือ Amphotericin B และ Itraconazole สำหรับระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของอาการติดเชื้อ

การป้องกันโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับแนวทางป้องกันการติดเชื้อรา ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค เช่น ถ้ำ เล้าเป็ด เล้าไก่ สถานที่ที่มีนกหรือค้างคาว หมั่นรักษาความสะอาดเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรค

โรคฮีสโตพลาสโมสิส ( Histoplasmosis ) ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum เชื้อโรคอยู่ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการของโรค เช่น การไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียก ซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเซ็กซ์ รักษาอย่างไรแผเริมอ่อน โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีแผลที่หำ

สาเหตุของการเกิดแผลริมอ่อน

แผลเริมอ่อน เกิดจากการติดเชื้อ คือ เชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุสดูเครย์ เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ที่หนอง สามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง  ซึ่งมักจะเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และ มีหนอง โดยเมื่อเชื้อโรคเจ้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาในการฟักตัวของโรคภายใน 10 วัน จึงแสดงอาการ โดยหากเกิดโรคนี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถรักษาให้หายเองได้

อาการของแผลริมอ่อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลเริมอ่อน นั้น แจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศ โดยมีตุ่มนูน และเจ็บที่อวัยวะเพศ หากเป็นผู้หญิงจะมีแผลที่แคมเล็ก หากเป็นผู้ชายจะมีแผลที่ปลายอวัยวะเพศ มักจะมีหลายแผล ซึ่งในช่วงแรกแผลจะมีขนาดเล็ก ต่อมาขนาดของแผลจะใหญ่ขึ้น ลักษณะของแผล เป็นแผลเปื่อย แฉะและไม่สะอาด จะมีอาการเจ็บที่แผลมาก ต่อมาแผลจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม ขาหนีบจะเป็นสีแดงคล้ำ และ บวม อาจแตกและมีหนอง ในผู้ป่วยบางราย จะมีิอาการ มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร และปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมากผิดปรกติ และ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หากปล่อยให้แผลลาม จะทำให้อวัยวะเพศผิดรูป ได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแผลริมอ่อน

สำหรับโรคแผลเริมอ่อน ต้องระมัดระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • โรคเอดส์ การมีแผลเริมอ่อนทำให้สามารถติเชื้อเอดส์ได้ง่ายกว่าปรกติ
  • เกิดผังผืดที่อวัยวะเพศ ซึ่งพังผืดอาจทำให้เกิดอุปสรรค์ในการทำกิจกรรมทางเพศ
  • อาจเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
  • อาจเกิดแผลเป็นที่ขาหนีบ

การรักษาโรคแผลริมอ่อน

สำหรับการรักษาโรคแผลเริมอ่อน นั้น ผู้ป่วยต้องรับยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับการดูและรักษาแผล โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาแผลริมอ่อนด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งสามารถทำให้หายขาดได้ แต่ไม่สามารถใช้กับสตรีมีครรภ์ได้ ดังนั้นการรับยาปฏิชีวนะ ต้องเป็นยาที่ได้จากคำสั่งของพทย์เท่านั้น
  • การรักษาด้วยการดูแลแผล และดูแลตนเองในเบื้องต้น เช่น รักษาแผลด้วยการใช้น้ำเกลือล้าง และ ทำความสะอาดแผลให้แห้งอยู่เสมอ หากมีอาการปวดให้กินยาแก้ปวดบรรเทาอาการ และ งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่รักษาแผลอยู่
  • หากผู้ป่วยมีอาการขาหนีบโต จนเกิดหนอง ต้องรักษาด้วยการดูดหนองออก หรือ ผ่าฝีหนองออก

ป้องกันเกิดแผลริมอ่อน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคแผลริมอ่อน นั้น ต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค คือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย และ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด โดยแนวทางการป้องกันการเกิดโรคแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ป่วยที่มีแผลเริมอ่อน
  • หากมีแผลที่อวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลที่อวัยวะเพศ
  • ไม่มีพฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน
  • ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคหากต้องมีเพศสัมพันธ์
  • หมั่นรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ หลังการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
  • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แนวทางการรักษาโรคต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove