โรคซาร์ส SARS ไข้หวัดมรณะ เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง พบครั้งแรกที่ประเทศจีน ยังไม่มียารักษาโรค

โรคซาร์ส ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ
ซาร์ส หรือ SARS ย่อมาจาก Severe acute respiratory distress syndrome หรือบางคนเรียกว่า กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง คือ โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ SARS coronavirus โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งอาจรุนแรงจนมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2545 ติดต่อกันได้ง่าย จึงทำให้เกิดการระบาดไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกร่วม กับองค์การต่างๆ จึงได้พยายามควบคุมโรค และสามารถหยุดการระบาดได้ในปีต่อมาคือ พ.ศ.2546 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่พบการระบาดขึ้นมาอีก

สถานการณ์โรคซาร์สในปัจจุบัน

หลังจากวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส ในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 พบการติดเชื้อโรคซาร์สอีกครั้ง ในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาที่ไต้หวันและสิงคโปร์ แต่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เกิดการแพร่ระบาดเข้าไปในชุมชนที่ประเทศจีน ซึ่งทางรัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการห้ามจำหน่าย และ บริโภคเนื้อชะมด และให้ทำลายชะมดกว่า 10,000 ตัว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่พบมีการกลับมาแพร่ระบาดของโรคซาร์สอีก

สาเหตุของการเกิดโรคซาร์ส

สาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะ (SARSโรคซาร์สนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ  ไวรัสในกลุ่ม “โคโรนาไวรัส” และ ไวรัสอยู่ในกลุ่ม “พาราไมโซไวรัส” สาเหตุของโรคซาร์ส ได้ถูกค้นพบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 จากการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทำให้ทราบว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส และการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสทำให้ทราบว่าเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มที่ชื่อว่า Coronaviridae ซึ่งไวรัสที่อยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดเป็นโรคหวัด หรืออาการทางระบบหายใจส่วนล่าง (ปอด และหลอดลม) ได้ แต่มักไม่รุนแรง สำหรับไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคซาร์สนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า SARS coronavirus (SARS-CoV)

อาการของผู้ป่วยโรคซาร์ส

โรคนี้ มีระยะของการเกิดโรคที่ ภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้สูงมาก หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร บางคนอาจมีถ่ายอุจจาระเหลว แล้วจะตามมาด้วยอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และหากตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือดก็จะพบว่ามีค่าลดลง (Hypoxemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง คือเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซาร์ส

  • ประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของผู้ป่วย ที่อยู่ในโรงพยาบาล จะมีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (Hypoxia) และจำเป็นต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
  • ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่ ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome : ARDS) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญ
  • สำหรับผู้ป่วยที่รอดชีวิต ในบางรายอาจพบว่า หากทดสอบการทำงานของปอดอาจยังมีผิดปกติบ้าง หรือหากเอกซเรย์ปอดยังพบความผิดปกติเล็กน้อย อยู่ได้นานถึงประมาณ 12 เดือน

การรักษาโรคซาร์ส

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ SARS ) หากพบว่าผู้ป่วยต้องสงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้หวัดมรณะ ต้องรีบรับนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อควบคุมาการระบาดของโรคและเฝ้าติดตามอาการ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ และไม่มีคำแนะนำที่แน่นอนในการเลือกใช้ยาสำหรับการรักษาโรคนี้ เพราะยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสซาร์สได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้แก้ปวด ให้ยาแก้ไอ ให้น้ำเกลือ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (เช่น มีโรคประจำตัว) จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแยกผู้ป่วยอย่างรัดกุม
  • ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ร่างกายแข็งแรง อาจทำการแยกตัวโดยให้อยู่ที่บ้านได้ แต่ภายในบ้านต้องไม่มีเด็กอ่อน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งต้องมีห้องน้ำและห้องนอนแยกเป็นส่วนตัว และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอย่างเคร่งครัด เช่น การใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมถึงแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม และแยกทำความสะอาด แยกรับประทาน ส่วนขยะที่เกิดจากผู้ป่วยควรแยกถุงและแยกทิ้งแบบเป็นขยะติดเชื้อ ห้ามให้ผู้ป่วยออกจากบ้าน โดยต้องหยุดงาน หยุดเรียน หยุดทำธุระต่าง ๆ รวมทั้งต้องมีการติดตามอาการและการปฏิบัติตัวจากเจ้าหน้าที่ทุกวัน เช่น การโทรศัพท์สอบถาม
  • เมื่ออาการต่าง ๆ ทั้งไข้ ไอ หายใจหอบ หรืออื่น ๆ หายสนิทไปแล้วจนครบ 10 วัน ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงาน ไปเรียน และใช้ชีวิตตามปกติได้โดยไม่ต้องแยกห้อง

การป้องกันโรคไข้หวัดมรณะSARS )

ต้องปิดปากและจมูก สวมหน้ากากป้องกัน เชื้อโรคเช้าสู่ร่างกาย ดูแลสุขอนามัย ให้สะอาด ไม่ให้มีเชื้อโรค ในพื้นที่ที่มีการระบาดก็ได้มีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้ม งวด โดยมาตรการสำคัญคือ การแยกผู้ป่วยและผู้ที่มีประวัติสัมผัสโรค ในบางพื้นที่ต้องมีการสั่งปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยนานนับเดือน รวมถึงโรงพยาบาลอีกหลายแห่งด้วย

  1. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์สจะต้องมีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มงวด
  2. แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยซาร์สจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เช่น สวมถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ ใส่แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์ส
  4. ดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรง โดยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

โรคซาร์ส ( SARS ) ไข้หวัดมรณะ โรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง โรคติดเชื้อ พบครั้งแรกที่ประเทศจีน แพร่ระบาด ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา สหรัฐ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไต้หวัน และ เยอรมนี

ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove