ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ติดเชื้อโรคที่สมองจนเกิดฝี ทำให้สมองอักเสบ โรคอันตรายเสียชีวิตได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ชัก หมดสติ ส่งแพทย์ด่วน
โรคฝีในสมอง โรคสมอง โรคติดเชื้อ ฝีที่สมอง

โรคฝีในสมอง เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Brain abscess เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน

ฝีในสมอง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ ที่สมอง โรคนี้ ผู้ป่วยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 จะมีฝีที่สมองมากกว่าหนึ่งจุด และร้อยละ 92 ของผู้ป่วยฝีในสมองพบฝีที่สมองเล็กด้านหน้า โรคอันตรายจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตครึ่งซีก โรคฝีในสมอง ดาราเคยเป็นข่าวใหญ่คร่าชีวิต บิก ดีทูบี มาแล้ว เรามาทำความรู้จักกับโรคฝีในสมองกันว่า สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการและการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคฝีสมอง เป็น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ โดยเป็นการสร้างเชื้อโรคจนเกิดอาการอักเสบที่สมอง ส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นแบบฝี หนอง ในเนื้อสมอง อันตรายส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิต โรคฝีในสมอง นั้นไม่ใช่โรคปรกติที่เกิดกับคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในการเกิดอุบัตติเหตุ โรคหูน้ำหนวก และโรคหัวใจพิการ มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคนี้ เรามาดูสาเหตุของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่สมองโดยตรง เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง

กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะเกิดหนอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้

  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
  • ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

การวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

การวินิจฉัยเพื่อวิเคราะห์หาโรค ซึ่งโรคฝีสมองนั้น สามารถพิจารณาจากอาการผิดปรกติ ประวัติทางการแพทย์ ที่การตรวจเอกเซเลย์สมอง ทำการแสกนเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคฝีในสมอง

การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้ จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด

  • จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
  • ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ อย่าให้ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
  • พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันโรคฝีในสมอง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้ โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้

  • ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
  • รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี

โรคฝีในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เป็นโรคที่คร่าชีวิตดาราชื่อดังอย่าง บิกดีทูบี โรคที่เกิดกับสมองนั้นรุนแรงเสมอไม่ว่าจะโรคอะไร การรักษานั้นก็สามารถทำได้แต่ผู้ป่วยมักไม่เหมือนเดิม หรือ ใช้เวลานานในการเข้าสู่ภาวะปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ยังมีอีกหลายโรคที่อยากแนะนำให้รู้จัก โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

โรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันโรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โรคของกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง โรคความจำโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรค จะมีอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอมจี โรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า โคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆอาการโคม่า โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อ ภาวะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากการติดเชื้อ อาการ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ

โรคฝีในสมอง ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ภาวะติดเชื้อที่สมอง เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สมองอักเสบ ลักษณะของเชื้อเป็นแบบ ฝี หนอง ในเนื้อสมอง ร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อที่สมอง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก รีบพบแพทย์ด่วน โรคระบบสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา

พาร์กินสัน อาการสั่นควบคุมร่างกายไม่ได้ โรคระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองสร้างสารโดพาไมน์ไม่เพียงพอ ปัจจัยของการเกิดโรค เช่น กรรมพันธ์ุ สมองอักเสบ และ อายุโรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย จากการศึกษาพบว่าเซลล์สมองไม่สามารถสร้างสารโดพาไมน์ ( dopamine ) อย่างเพียงพอ ในสมองส่วนหน้า( forebrain ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ จดจำ คิด คำนวน การควบคุมการเคลือนไหว และสมองน้อย(cerebellum) มีหน้าที่ช่วยประสานงานของการทำงานกล้ามเนื้อ และช่วยการทรงตัว ในส่วนเนื้อสมองส่วนที่3และส่วนที่4 จะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว จะมีกลุ่มกล้ามเนื้ออีกส่วนหนึ่งคลายตัว จะช่วยรักษาสมดุลการทำงานของระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์

อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สำหรับอาการผู้ป่วยจะมีอาการสั่นโดยเฉพาะที่ มือ แขน ขา กรามและหน้า มีอาการเกร็งที่แขนและลำตัว การเคลื่อนไหวตัวทำได้ช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ไม่สามารถแสดงออกของหน้าได้ พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

สาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสัน

โรคพากินสัน เกิดจากเซลล์สมองในส่วน substantia nigra ซึ่งมีหน้าที่สร้างสารโดพาไมน์(dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าเชื่อมไปยังสมองส่วนที่ทำหน้าที่ให้การทำงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ส่วนนี้ไม่สามารถสร้างได้อย่างเพียงพอ ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อผิดปรกติ จะมีอาการ สั่นและกระตุก สาเหตุอื่นๆที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน เช่น กรรมพันธ์ุ การได้รับสารพิษบางชนิด โรคเส้นเลือดสมองตีบ สมองอักเสบ อายุที่มากขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อป่วยโรคพาร์กินสัน

สำหรับผู้ป่วยโรคพากินสัน มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคความดันต่ำ ภาวะท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ความต้องการทางเพศลดลง

การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สามารถทำได้โดยการทำกายภาพบำบัด การใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  1. การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีเพื่อช่วยให้ผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือตนเองได้ การรักษาด้วยวิธีทำกายภาพบำบัด จะช่วยให้การเคลื่อนไหว ของผู้ป่วยถูกต้อง เช่น การเดิน การนั่ง การทรงตัว รวมมถึงอวัยวะอื่นๆที่เคลื่อนไหวลำบาก
  2. รักษาโดยการให้ยา แต่ยาที่ให้ จะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตาย คืนสภาพกลับมาได้ แต่ยาที่ให้จะช่วยเรื่องการเพิ่มสารโดพาไมน์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. รักษาโดยการผ่าตัด เป็นวิธีรักษาแบบใหม่ เป็นการผ่าตัดฝังสายเพื่อกระตุ้นไฟฟ้าอย่างอ่อน ในสมอง ส่วนที่เรียกว่า Globus Pallidus หรือ Subthalamic mucleus ส่งผลให้อาการสั่นของผู้ป่วยลดลง การเคลื่อนไหวทำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถปลูกถ่ายเซลเนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต หรือปมประสาทที่อยู่บริเวณคอ โดยนำไปปลูกในโพรงสมอง โดยเนื้อเยื่อเหล่านี้ จะช่วยสร้างสารโดพามีน การใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยจะไม่ต้องกินยา หรือรับยาในปริมาณที่ลดลง แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง และแนะนำให้รักษาในผู้ป่วยที่ยังมีอายุน้อยอยู่

การดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

จำเป็นต้องดูแลไม่ว่าจะเป็นส่วนการรับประทานอาหาร การเดิน หารออกกำลังกาย และการนอน เป็นต้น

  1. การรับประทานอาหาร ควรให้รับประทานอาหารจำพวก ผัก ผลไม้และธัญพืช เป็นอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลียงอาหารที่ทำให้ท้องผูก เช่น กาแฟ ชา เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ นม เนย กะทิและไอศกรีม เป็นต้น ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหาร ดังนั้นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ต้องช่วยลดภาระการเคี้ยวอาหาร
  2. การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แนะนำให้ผู้ป่วยว่ายน้ำ ทำสวน เต้นรำ หรือยกน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดี การเคลื่อนไหวดีขึ้น และอารมณ์ดี
  3. การเดินสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เมื่อรู้สึกว่าการเดินเริ่มลากเท้า เดินได้ช้าลง แนะนำให้ใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนาดกว้างและยาวขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการล้ม เนื่องจากผู้ป่วยจะทรงตัวได้ไม่ดีทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย
  4. การนอนหลับสำหรับผู้ป่วยดรคพาร์กินสัน เป็นปัญหามาก โดยผู้ป่วยจะผู้เข้าหลับง่าย แต่ตื่นเช้ามืด เพราะจะรู้สึกนอนไม่หลับ การขยับตัวทำได้ยาก ในบางราย จากลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย แต่เคลื่อนไหวตัวลำบาก อาจจะต้องให้ยาเพื่อช่วยควบคุมอาการเหล่านี่ในตอนกลางคืน
  5. ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ให้สะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภายในตัวบ้าน ห้องน้ำ ห้องนอน
    ห้องครัว แนะนำให้ติดราวบันได เพื่อในการทรงตัว ในส่วนของพื้นให้เรียบ และป้องกันพื้นลื่น

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

  • คนรอบข้างควรช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย ป้องกันการเกิดข้อยึดติด เช่น การแกว่งแขวน การเดินก้าวเท้ายาว ยกเท้าสูงขึ้น
  • แนะนำการบริหารลูกตาด้วยการกลอกลูกตาไปมา โดยการดูกีฬาที่มีการโต้ตอบไปมา เช่น เทนนิส ปิงปอง เป็นต้น
  • ในระยะแรก หากผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การปั่นจักรยาน ก็อาจให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดังกล่าวได้
  • ระวังเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาการกลืน การพูด
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและดูแลสภาพจิตใจอยู่เสมอ เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

สมุนไพรที่บำรุงสมอง สามารถช่วยบรรเทาและลดการเกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับระบบสมองได้ เราจึงขอแนะนำสมุนไพร สรรพคุณบำรุงระบบสมอง มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่  ทำอาหารก็อร่อย ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ชมจันทร์ สรรพคุณ เป็นยาระบายอ่อนๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา เราสามารถนำหญ้าคามาใช้สำหรับ ต้านอาการอัดเสบ ต้านเลือดเหนียว ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้นมะพร้าว สมุนไพร ผลไม้ที่มีประโยน์ ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรกระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของคะไคร้ เช่น ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาหารปวด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove