มะนาว ผลไม้รสเปรี้ยว สรรพคุณของมะนาว เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือด โทษของมะนาว ประวัติมะนาว มีสารอะไรบ้าง ชนิดของมะนาว ลักษณะของมะนาวมีอะไรบ้าง

มะนาว ชนิดของมะนาว ประโยชน์มะนาว สรรพคุณมะนาว

มะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนในภูมิภาคนี้รู้จักการมะนาวและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านานแล้ว แต่มะนาวมีแหล่งกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ เขตเชื่อมต่อกับพม่า รวมถึงทางตอนเหนือของมาเลเซีย

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น ( Aromatherapy ) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

มะนาว นิยมใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคและนิยมนำมาปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สายพันธ์มะนาว

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง ซึ่งมะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย[1]
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  • มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

สำหรับการบริโภคมะนาวเป็นอาหาร ใช้ประโยชน์จากผลมานาว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

เปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอมสดชื่น ซึ่งน้ำมันหอมระเหยของมะนาว มีส่วนประกอบของ สารซิโตรเนลลัล ( Citronellal ) ซิโครเนลลิล อะซีเตต ( Citronellyl Acetate ) ไลโมนีน ( Limonene ) ไลนาลูล ( Linalool ) เทอร์พีนีออล ( Terpeneol ) รวมทั้งมีกรดซิตริค ( Citric Acid ) กรดมาลิก ( Malic Acid ) และกรดแอสคอร์บิก  ( Ascorbic Acid ) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อม ๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง

สรรพคุณของมะนาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะนาวนิยมใช้ประโยชน์จากผลมะนาวในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่ง สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย

  • ใบมะนาว สามารถแก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถแก้เวียนหัว รักษาหูด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • น้ำมะนาว สามารถ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว ช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่าย ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

การใช้ประโยชน์จากมะนาว มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว โทษของมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาวมีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกัดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • หากกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. รศ.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะนาว ลดคลอเรสเตอรอลป้องกันโรคหลอดเลือด.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่354.คอลัมน์บทความพิเศษ.ตุลาคม.2551.
  2. มะนาว.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2536. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์สุริยบรรณ.
  4. Sethpakdee, R. 1992. Citrus aurantifolia (Christm. & Panzer) Swingle . In: L.P.A. Oyen and Nguyen Xuan Dung (Editors): Plant Resourses of South-East Asia No 2. Edible fruits and nuts. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia. pp. 126-128.
  5. รวี เสรฐภักดี.2553.คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู:การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม
  6. ธิราภา แสนเสนา นพดล กิตติวราฤทธิ์ มาลิน จุลศิริ รุ่งระวี เติมศิริฤกษ์กุล. ฤทธิ์ต้านเชื้อและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากผิวผลพืชตระกูลส้ม. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.

เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวยกลิ่นฉุน รสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษ ขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย

เก็กฮวย ดอกเก็กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

นอกจากนี้ เก็กฮวย ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ต้นเก๊กฮวย เป็นพืชที่ปลูกในแถบประเทศจีนและญี่ปุ่น และได้มีการแพร่กระจายมาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่สูง ในดอกเก๊กฮวย พบว่ามี สารฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอดีนีน ( Adenine ) สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถช่วยรักษาโรคหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดภาวะหัวใจล้มเหลว

ต้นเก๊กฮวย ที่นิยมในการบริโภค มีอยู่ 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง รายละเอียดของเก็กฮวยแต่ละชนิด มี ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยขาวดอกใหญ่ และ เก็กฮวยขาวดอกเล็ก
    • เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ เมื่อนำมาตากแดด ดอกจะแห้งเร็ว
    • เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน ดอกมีขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอกประมาณ 120 กลีบ ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ หลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาว

เก๊กฮวย เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีน ส่วนเก๊กฮวยสีเหลือง ไม่นิยมทำน้ำเก๊กฮวย เพราะน้ำให้รสขม แต่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับแก้ร้อนใน

สำหรับดอกเก๊กฮวยที่ชาวยุโรปนิยมใช้ชงเป็นชาดื่มเหมือนกับเก๊กฮวยของชาวเอเชียจะเป็นดอกเก๊กฮวยที่อยู่ในวงศ์เดียวกันดาวเรืองหรือเก๊กฮวย คือ ดอกคาโมมายล์ (Chamaemelum nobile (L.) All. มีกลีบดอก 2 สี คือ สีขาว และสีเหลือง

สรรพคุณของเก็กฮวย

สามารถ ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ประโยชน์เก๊กฮวย

  • ดอกเก๊กฮวยแห้งนิยมใช้ต้มหรือชงเป็นชาดื่ม น้ำเก๊กฮวยจะมีสีเหลืองอ่อน และให้กลิ่นหอมน่าดื่ม น้ำ ซึ่งอาจใช้ทั้งดอกเก๊กฮวยแห้งหรือผงดอกเก๊กฮวย
  • ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร คือ เก๊กฮวยสีเหลือง ซึ่งให้รสขม
  • ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์
  • ลำต้นเก๊กฮวย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
  • ลำต้น และใบเก๊กฮวยที่เก็บดอกแล้ว ทำการไถกลบสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก

คำแนะนำในการบริโภคเก็กฮวย

  • เมล็ดพุด 1-2 เมล็ดจะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ดจะออกสีเหลืองมาก
  • วิธีทำน้ำเก๊กฮวยแบบถูกวิธีห้ามเคี่ยวดอกเก๊กฮวยเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • การกรองดอกเก๊กฮวยออกห้ามบี้เด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • ถ้าต้มน้ำดอกเก๊กฮวยแล้วเปรี้ยว สาเหตุอาจมาจากการใส่ดอกเก๊กฮวยมากเกินไป หรือการใช้เวลาต้มนานจนเกินไป
  • การชงเก๊กฮวยแบบชงชาจะให้รสชาติที่ดีกว่าการนำมาต้มในน้ำเดือด ๆ นาน ๆ
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

เกร็ดความรู้

เก๊กฮวยชงจะกินง่ายกว่าต้ม เพราะต้มแล้วรสชาติจะออกขม แนะนำให้ชงโดยนำดอกเก็กฮวยใส่ถ้วยพอประมาณ จากนั้นเทน้ำเดือดจัดๆ ลงไป ปิดถ้วยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาดื่ม หากรู้สึกว่าจืดไปให้เติมน้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อย หมดถ้วยแล้วก็เติมน้ำร้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจืด แต่เก็กฮวยมีข้อควรระวังคือ ผู้ที่มีอาการท้องร่วง ถ่ายบ่อย ควรรับประทานแต่น้อย

เมื่อพูดถึง สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และ มีฤทธิ์เป็นยาเย็น มีมากมายหลากหลายชนิด แต่ทว่า เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพร ที่ขึ้นชื่อเรื่องของ การเป็นยาเย็น เหมาะสมสำหรับการแก้อาการร้อนในและกระหายน้ำได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เก๊กฮวย เป็นพืช สมุนไพรจีน ที่ต้องเพราะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี โดย เก๊กฮวยนั้นเป็นพืชที่มีดอกสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้จักเพียงแค่การนำมาทำน้ำเก๊กฮวยรสชาติหอมหวานชื่นใจเท่านั้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีประโยชน์อย่างไรซึ่งนอกจากจะนำมาทำน้ำดื่มที่มีสรรพคุณทางยามากมายแล้วนั้น

เก๊กฮวย มีสารฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงมาก โดยสารฟลาโวนอยด์ นั้นนับได้ว่าเป็นสารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายชนิดหนึ่ง  โดย สรรพคุณหลักๆของเก๊กฮวย นั้นก็ คือ ช่วยลดอาการร้อนใน อีกทั้งยัง ช่วยแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเก๊กฮวยนั้นจะมีคุณสมบัติ เป็นยาเย็น ช่วยในการฟื้นฟูสภาพและปรับสมดุลให้กับร่างกาย ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นอกจากนั้น ดอกเก๊กฮวย ยังมีคุณสมบัติในการ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยการขับของเสียออกทางเหงื่อนั่นเอง อีกทั้งยัง ช่วยในการดูดซับของเสีย และ สารก่อมะเร็ง ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายและขับออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี

จึงถือว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นมี คุณประโยชน์ที่หลากหลาย นั่นเอง นอกจากนั้นแล้วดอกเก๊กฮวยยังมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงโลหิตและช่วยในการขยายหลอดเลือดและช่วยแก้ไขปัญหาโรคเลือดต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และล่าสุดก็ยังมีผลงานวิจัยที่รับรองเกี่ยวกับดอกเก๊กฮวยว่าสามารถช่วยในการยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เมื่อพูดไปแล้ว เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังมี สรรพคุณ ที่เหมาะสมสำหรับใช้ใน การบำรุงร่างกาย ได้เป็นอย่างดี โดยผู้ที่ต้องการใช้ เก๊กฮวยเพื่อบำรุงร่างกาย นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆเพียงการใช้ดอกเก๊กฮวยเพียงเล็กน้อย ประมาณ 4-5 ดอก ชงกับน้ำร้อนเพื่อทำเป็นชาจิบได้ตลอดเวลา จะช่วยสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากดื่มก่อนนอนเป็นประจำก็จะช่วยให้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากดอกเก๊กฮวยนั้นเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมละมุนอ่อนๆ

ซึ่งจะสามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งน้ำดอกเก๊กฮวยก็ยังเหมาะสำหรับการดื่มในฤดูร้อนเพื่อช่วยคลายจากความเหนื่อยและความร้อนแรงของแสงแดดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน จึงนับได้ว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นเป็น สมุนไพร ที่มีความสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง เก๊กฮวย ก็เป็น ดอกไม้ที่มีราคาไม่สูง จนเกินได้ด้วย เช่นกัน จึงเหมาะสำหรับนำมาทำเป็น สมุนไพรบำรุงร่างกาย ได้เหมาะกับทุกเพศและทุกวัยนั่นเอง

เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เช่น เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวย มีกลิ่นฉุน มีรสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณของเก็กฮวย เช่น ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น