ต้อหิน Glaucoma ขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลต่อสายตา อาการปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวจนอาเจียน ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญคือความดันตาสูง หินเฉียบพลัน ต้อหินเรื้อรังต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ รักษาตาต้อ

โรคต้อหิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคความดันตาสูง โรคนี้ภาษาอังกฤษ เรียก Glaucoma การเกิดนั้นต้อหินไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป เราจึงอาจเรียกดรคนี้ว่าเป็น โรคตา โรคซึ่งมีการทำลายเซลล์ประสาทตาในจอตา ( Retinal ganglion cell ) ต้อหิน เป็นโรคที่เซลล์ประสาทในจอตาถูกทำลายจนตายไปเรื่อยๆ และทำให้ลาน สายตาผิดปกติ ขั้วประสาทตา ที่เป็นศูนย์ทรวมของใยประสาทตาถูกทำลาย เป็นรอย จนเป็นผลให้สูญเสียการมองเห็น

ต้อหิน เป็นเกี่ยวกับดวงตา โรคที่เซลล์ประสาทจอตาตายไปเรื่อยๆ ทำให้ลานสายตาผิดปกติ เกิดเป็นรอย หวำกว้างที่ขั้วประสาทตา  ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ประกอบด้วย

  • ความดันลูกตา การที่ความดันตาสูงขึ้นจำทำเกิดต้อหิน
  • อายุ ที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมตามวัย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • โรคที่เกี่ยวกับเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคต้อหินมีอะไรบ้าง ความดันตาสูง อายุมาก กรรมพันธุ์ โรคต่างๆที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงจอประสาทตาลดลง เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยส่วนมากแล้ว ต้อหินมีสาเหตุมาจากความดันลูกตาสูงผิดปกติ เราสังเกตุได้จาก เมื่อเราคลำดวงตาจากภายนอก “ลูกตาแข็ง” ซึ่งหลายคน เข้าใจผิดว่า โรคต้อหินมีเศษหิน อยู่ในตา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

ชนิดของต้อหิน

การแบ่งชนิดของต้อหิน นั้น สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด โดยแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดประกอบด้วย

  • ต้อหินปฐมภูมิ เรียก Primary glaucoma ต้อหินปฐมภูมิ เป็นต้อหินที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่จะพบในผู้สูงอายุและมีโอกาสเป็นมากขึ้น ต้อหินชนิดนี้อาจจำแนกตามอาการออกได้เป็นชนิดย่อยๆ คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ต้อหินชนิเรื้อรัง
    • ต้อหินเฉียบพลัน เรียก Acute glaucoma คือ การเกิดต้อหิน อย่างรวดร็ว ภายใน 2 วัน โดยอาการจะรุนแรง มีอาการ ปวดตา ตามัว ตาแดง หากรักษาไม่ทัน อาจทำให้ตาบอดได้
    • ต้อหินเรื้อรัง เรียก Chronic glaucoma
  • ต้อหินทุติยภูมิ เรียก Secondary glaucoma ต้อหินทุติยภูมิ จำเป็นต้องรักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย แต่ถ้ารักษาช้าเกิดไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทางตาอื่นๆตามมา
  • ต้อหินแต่กำเนิด เรียก Congenital glaucoma  ต้อหินแต่กำเนิด และ ต้อหินในเด็ก นั้นเกิดจากพัฒนาการภายในลูกตาของเก็กผิดปกติ ความดันตาจะสูงมาก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
  • ภาวะสงสัยต้อหิน เรียก Glaucoma suspect เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยบางราย ที่มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการไม่ครบ ภาวะสงสัยต้อหิน แพทย์จะต้องติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาว

อาการของโรคต้อหิน เราสามารถแบ่งโรคต้อหินได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และ ต้อหินเรื้อรัง ต้อหินชนิดต่างๆมีรายละเอียดอย่างไร ดูได้จากข้อความด้านล่าง

  • โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยต้อหินจะมีอาการ 3 ประการอย่างกระทันหัน คือ ปวดตา ตามัว ตาแดง สายตามัวมากจนถึงขั้นเห็นหน้าไม่ชัดเลย ปวดตามาก ในผู้ป่วยบางท่านถึงขั้นปวดหัวมาก จนอาเจียน หากอาการเป้นอย่างนี้ให้พบหมอทันที
  • โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่รู้สึกว่า ตามัวและปวดตา แต่การมองเห็นภาพด้านข้างจะแคบลง ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายสายตา ทำให้ใช้สายตาได้ไม่นาน อาการแบบนี้ผุ้ป่วยทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามอายุ อาการของต้อหินเรื้อรังนี้ความดันตาจะค่อยสูงขึ้น วินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันถึงรู้ว่าเป็นต้อหิน

การรักษาโรคต้อหิน

การรักษาต้อหินในปัจจุบัน สามารถทำการรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาโรค การใช้แสงเลเซอร์และ การผ่าตัด

สามารถทำได้โดย ทานยาลดความดันตา เช่น Pilocarpine, Aceta zolamide และการยิงเลเซอร์ซึ่งแพทย์จะยิงเลเซอร์ให้เกิดรูที่ม่านตา ทำให้การไหลเวียนของน้ำในลูกตาไหลได้คล่องมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ความดันตา จะลดลงสู่ภาวะปกติ
การรักษาต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค

  • การรักษาด้วยยา เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในภาวะปลอดภัยต่อประสาทตา ปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ทั้งยาหยอด ที่มีฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การรักษาด้วยยานั้นจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างถูกต้อง
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษา นั้นขึ้นอยู่กับชนิของต้อหินที่เกิดขึ้นรวมถึงระยะของการเกิดโรคด้วย
    • Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) เพื่อรักษาต้อหินมุมเปิด จะใช้วิธีนี้รักษาหากการใช้ยาหยอดตาแล้วได้ผล
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เพื่อใช้รักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับการรักษาชนิดนี้จะใช้รักษาร่วมกับ Laser peripheral iridotomy (LPI)
    • Laser cyclophotocoagulation จะใช้การรักษาชนิดนี้สำหรับการรักษาในกรณีอื่นไม่ได้ผล
  • การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้
    • Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา
    • Aqueous shunt surgery เป็นการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

การป้องกันการเกิดโรคต้อหินนั้น ต้องแยกการป้องกันการเกิดต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การป้องกันต้อหินเฉียบพลัน หากแพทย์ตรวจสุขภาพตาแล้วพบว่า ช่องด้านหน้าลูกตาแคบ จะมีโอกาสการเกิดต้อหินเฉียบพลันได้ ต้องทำการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูที่ม่านตา
  • การป้องกันการเกิดต้อหินเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่ชัดเจนนัก เพราะผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงอาการ แต่สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจคัดกรองภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น ประวัติของการเกิดต้อหินของคนในครอบครัว ภาวะความดันตา และ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลตากการมองเห็น อาการโรคต้อหิน คือ ปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวมากจนอาเจียน โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญของการเกิดต้อหิน คือ ความดันตาสูง โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน โรคต้อหินชนิดเรื้อรัง ภาวะต้อหินรักษาอย่างไร เมื่อเป็นต้อหินต้องทำอย่างไร ต้อหินเกิดจากอะไร

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือดและออกซิเจน ทำให้สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย เป็นภาวะอันตราย ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด คนสูบบุหรี่เสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองแตก โรคสมอง อัมพฤษ์

เส้นเลือดสมองแตก จัดเป็นโรคอันตราย ต้องนำผุ็ป่วยส่งโรงพยาบาลให้ทัน โรคนี้คนไทยเป็นเยอะและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆเลยทีเดียวพบมากในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคนี้มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่สมองจากการเสื่อมตามอายุ ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองแตกอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กลายเป็นผุ้ป่วยติดเตียงได้ การรักษานอกจากต้องรักษาโรคทางกาย โรคทางใจเป็นสิ่งที่จะควบคู่กันไปกับคนเส้นเลือดสมองแตก

6 สัญญาณเตือนสำหรับโรคเส้นเลือดสมองแตก

  • ความเครียด ความเครียดทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล หากมีอาการเหนื่อยโดยไม่มีสาเหตุ ควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากนี้เป็นสัญญาณของเส้นโลหิตในสมองแตก
  • มีปัญหาของตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น สมองแต่ละซีกทำงานในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองได้รับการกระทบกระเทือนจากเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้เกิดปัญหาการมองไม่เห็น
  • อ่อนแรง โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรงการทำงานของสมองผิดปกติทำให้แขนหรือขาด้านใดด้านหนึ่งชา ถ้ารู้สึกว่าแขนขาชานั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติหากหายเองภายใน 2-3 นาที แต่หากไม่หายต้องพบแพทย์ด่วน
  • มีอาการเวียนหัวและพูดติดขัด เรื่องการพูดนั่นเป็นสัญญาณว่าสมองไม่สามารถจะตอบสนองต่อการพูดและเส้นประสาทในการรับผิดชอบในการพูดได้ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • มีความสับสนด้านความคิด เนื่องจากสมองอาจขาดออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถจดจำได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่สามารถจะพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ อาจจะมีเส้นเลือดในสมองที่แตกอยู่
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง คนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นไมเกรนมาก่อน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ควรเช็คกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตก

ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้นเป็นสาเหตุจากโรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันระบบไหลเวียนของโลหิต หรือ ไขมันอุดตันหลอดเลือดในสมอง ทำให้หลอดเลือดตีบ และ ประสิทธิภาพในการไหลเวียนเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้ และ อีกร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจาก หลอดเลือดสมองแตก หรือ ฉีกขาด เกิดจาก หลอดเลือดที่สมองเปราะบาง เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ เส้นเลือดสมองหากแตกถือว่าอันตรายมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดสมองแตก

สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้น ได้ดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันดลหิตที่สูงทำให้เกิดแรงดันที่หลอดเลือดหากหลอดเลือดเปราะบางก้สามารถแตกได้ง่าย
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง การมีไขมันในเส้นเลือดสูงทำให้เกิดไขมันสะสมและเกาะตัวที่เส้นเลือดทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น
  • มีภาวะโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
  • การสูบบุหรี่และการใช้ยาเสพติด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก
  • มีความเสี่ยงที่ทำให้ลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุ

อาการของโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับอาการของโรคนี้สามารแบ่งอาการของโรค ได้ 2 ระยะ คือ ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน และ ระยะเส้นเลือดสมองแตกไปแล้ว

  • ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองเริ่มติดขัด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ชาตามร่างกาย อาจมีอาการหมดสติได้
  • ระยะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นระยะที่เกิดอาการแล้ว เป็นระยะที่มีความอันตรายมาก เนื่องจากมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เป็นระยะที่เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

ลักษณะความรุนแรงของอาการเส้นเลือดในสมองแตกนั้นแตกต่างกันออกไปตามความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน และความเสียหายของสมองจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง อาการที่เป็นสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ดังนี้

  • มีอาการชาตามตัว แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ อัมพาตครึ่งซีก
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ สูญเสียการควบคุมใบหน้า เช่น มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ มึนงง
  • ทรงตัวไม่ได้ เสียสมดุลการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเซ เดินลำบาก ขยับแขนขาลำบาก
  • มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียว
  • มีอาการเวียหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนร่วม

เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแตก

การวินิตฉัยการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้จาก ลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น และ ต้องทำการตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบความชั้ดเจนของโรค โดย

  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดสมอง (Angiogram) แพทย์จะฉีดสารย้อมสีเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจึงฉายภาพเอกซเรย์ส่วนศีรษะเพื่อหาจุดที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้รังสีจากเครื่อง CT Scan ฉายไปยังบริเวณศีรษะ แล้วสร้างภาพออกมาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะและตำแหน่งที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจคล้ายกับ CT Scan แต่เครื่องจะสร้างภาพจากสนามแม่เหล็กที่ส่งคลื่นไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยในขณะตรวจ และภาพที่ออกมาจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า CT Scan
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) ด้วยการติดขั้วไฟฟ้าบริเวณหน้าอก แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติผ่านทางจอภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Ultrasound) เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดบริเวณลำคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การรักษาโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับการรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น มีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน ตามระยะของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคมี ดังนี้

  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองแตกในระยะที่หลอดเลือดตีบตัน รักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ
  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองในระยะหลอดเลือดสมองแตกไปแล้ว ต้องทำการการควบคุมเลือดที่ออกในสมอง รักษาระดับความดันเลือด และต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง

เส้นเลือดสมองถูกลิ่มเลือดอุดตันทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ การรักษาจะได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องรีบพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมงนับจากมีอาการอย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดเส้นเลือดอุดตันในสมอง เป้าหมายของการรักษา คือ ควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองด้วย

การป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตก

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกมีหลายประการ การป้องกันการเกิดโรคทำได้ง่ายกว่าการรักษาเนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้วการจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปรกติทำได้ยาก แนวทางการป้องกันการเกิดโรค มีดังนี้

  • ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงระดับความดันเลือดของตนเอง
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับสมดุลย์
  • ตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หวานและมัน

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด และ ออกซิเจน จากหลอดเลือดสมอง ตีบ อุดตัน หรือ แตก สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย โรคอันตราย การป้องกันโรคง่ายกว่าการรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove