ตะลิงปลิง ผลรสเปรี้ยว สมุนไพร นิยมรับประทานผลสด ต้นตะลิงปลิง คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ขับเสมหะ โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ( Bilimbi ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาคใต้ สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้นในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงประเทศใกล้เคียง อย่าง มาเลเชีย และ อินโดนีเชีย

ตะลิงปลิง เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน และ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล นิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผล ตะลิงปลิงคล้ายกับมะเฟือง แต่มีความแตกต่างกันตรงขนาดของผลมะเฟืองใหญ่กว่าตะลิงปลิง

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง

สำหรับต้นตะลิงปลิง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด เป็นต้น ลักษณะของตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลักษณะลำต้นขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 8 เมตร มีใบจำนวนมาก ลักษณะของลำต้นคล้ายกับต้นมะยม เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ลักษณะใบรีปลายใบแหลม คล้ายหอก ใบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีส้มแดง ใบแก่สีเขียวสด
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามลำต้น และ โคนกิ่ง ช่อดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง  กลีบดอกมีสีแดงอมม่วง
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะทรงกลมรียาว เป็นทรงกระบอก ผลอ่อนสีเขียวสด เนื้อในผลสีเขียวอ่อนอมขาว ส่วนผลสุกสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ด ผลมีรสเปรี้ยว
  • เมล็ดตะลิงปลิง อยู่ภายในผลตะลิงปลิง เมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดเป็นทรงกระบอกแบน

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

สำหรับการบริโภคตะลิงปลิง นิยมกินผล ซึ่งให้รสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

สำหรับประโยชน์ของตะลิงปลิง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือกลำต้น และ ราก โดย สรรพคุณของตะลิง รายละเอียด ดังนี้

  • ผลตะลิงปลิง สรรพคุณบำรุงร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ปกป้องการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ช่วยขับสารพิษ แก้ไอ แก้คออักเสบ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาโรคหอบหืด รักษาแผลร้อนใน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาสิว รักษาฟ้า รักษากะ และ รักษาผิวด่างดำ ช่วยรักษาตาอักเสบ
  • ดอกตะลิงปลิง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว ลดรอยกะ ลดรอยฟ้า และ รักษารอยด่างดำ
  • ใบตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลฝี ช่วยรักษาสิว แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ รักษาโรคซิฟิลิส และ แก้ปวดตามข้อกระดูก
  • เมล็ดตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด และ ช่วยขับลม
  • เปลือกลำต้นตะลิงปลิง และ แก่นไม้ตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง
  • รากตะลิงปลิง สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหาย ช่วยลดไข้ ลดอาการกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาแผล

โทษของตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง เป็นผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งการกินอาหารเปรี้ยวจัด ส่งเสียต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย และทำให้บาดแผลหายช้า

ตะลิงปลิง ไม้ผลรสเปรี้ยว สมุนไพร นิยมรับประทานผลสด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง สรรพคุณของตะลิงปลิง เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับเสมหะ โทษของตะลิงปลิง มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น