หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง

สะระแหน่ Mint สมุนไพร ลักษณะของต้นสะระแหน่ คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม โทษมีอะไรบ้าง

สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่ ( Mint ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Ment ha aruensis Linn สมุนไพร ลักษณะของต้นสะระแหน่ คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ สรรพคุณของสะระแหน่ ดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย

ต้นสะระแหน่มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งลักษณะของใบสะระแหน่จะคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติคล้ายตะไคร้ สามารถใช้ แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย นิยมนำมาทำอาหาร เพราะให้กลิ่นหอม สามารถสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สะระแหน่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง พบว่าใบสะระแหน่ มีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย เมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) นักโภชนาการได้ศึกษาใบสะระแหน่ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 88 มิลลิกรัม เบต้า แคโรทีน 538 ไมโครกรัม

สะระแหน่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mentha aruensis Linn ชื่ออื่นๆของสะระแหน่ เช่น  สะระแหน่สวน หอมด่วน สะแน่ มักเงาะ เป็นต้น สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยบนดิน ใบกลม ขอบใบหยัก สีเขียว มีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบสีขาว

ประโยชน์ของสะระแหน่

สะระแหน่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของการทำอาหาร และนำมาทำเป็นยา ตามตำราของแพทย์แผนไทย นำมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ท้องเฟ้อ

  • นำสะระแหน่มาใช้รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น รักษาท้องร่วง หรือ อุจจาระเป็นเลือด  โดยนำ ใบสะระแหน่ มาต้มน้ำดื่มผสมเกลือ
  • นำสะระแหน่มารักษา อาการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย โดย บดใบสะระแหน่ และนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
  • นำสะระแหน่มา ช่วยห้ามเลือดกำเดา โดยนำใบสะระแหน่มาคั้นน้ำ และนำหยอดที่รูจมูกใช้ห้ามเลือดได้ แก้ปวดหูโดย นำน้ำคั้นใบสะระแหน่มาหยอดหู

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะระแหน่

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ จะมีลักษณะลำต้นเลื้อยมีรากฝอย ขนาดเล็กและสั้น ลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 ซม. ลำต้นสะระแหน่ จะทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวมีสีเขียว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย พื้นใบขรุขระ มีกลิ่นหอมฉุน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
  • ใบสะระแหน่ ออกเป็น ใบเดี่ยว และออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ลำต้น ใบมีสีเขียว รูปทรงรี กว้างประมาณ 1.5 – 3.5 ซม. และยาวประมาณ 2 – 7 ซม. ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ออกเป็นช่อ เหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกที่เชื่อมติดกันเป็นกรวยตื้น 4 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะไม่ค่อยพบ
  • ผลสะระแหน่ มีสีดำ ขนาดเล็ก มีรูปผลเป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน ทั้งนี้ ผลสะระแหน่มักไม่ติดผลให้เห็นบ่อยนัก เพราะมีดอกที่เป็นหมันเป็นส่วนใหญ่

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนทั้งใบและลำต้น ซี่งสรรพคุณของสะระแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • การใช้สะระแหน่ทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินสะระแหน่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำมันสะระแหน่หากตกตัวในลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove