กระเทียม พืชเศรษฐกิจ สมุนไพรกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเทียม เช่น ลดความดัน รักษาแผลสด ฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เป็นต้น  

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นไของกระเทียม เช่น กระเทียมขาว กระเทียมจีน ปะเซ้วา หอมขาว หอมเทียม หัวเทียม เป็นต้น การปลูกกระเทียมในประเทศไทย นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมที่มีคุณภาพดีต้องกระเทียมศรีสะเกษ

กระเทียมในประเทศไทย

กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการทำอาหาร ทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อาหารไทย นิยมมีกระเทียมเป็นส่วนผสมของอาหาร ซึ่งกระเทียมสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพดินและสภาวะอากาศที่เหมาะสมมากกว่าภาคอื่นๆ ทำให้กระเทียมเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตสูงและมีรสชาติที่ดีกว่า

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นแรง ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเทียม มีลักษณะดังนี้

  • หัวกระเทียม มีลักษณะกลมแป้น ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ เนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว ลักกษณะแบนยาว ขึ้นมาจากดินและเรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ปลายใบแหลม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆจางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ
  • ดอกกระเทียม ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกรูปใบหอกปลายแหลม สีขาวหรือขาวอมชมพู
  • เมล็ดกระเทียม อยู่ที่ดอกแก่ ลักษณะเมล็ดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆรูปไข่ เมล็ดขนาดเล็กสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม สามารถรับประทานทั้งใบและหัวกระเทียม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในกระเทียม พบว่ามีสารประกอบกำมะถัน ( Organosulfur ) เช่น อัลลิซาติน (Allisatin) อะโจอีน (Ajoene) ไดแอลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide) อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์ (Alkenyl trisulfide) และ สารกลุ่มฟลาวานอยด์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ไอโซเควอซิทิน (Isoquercitrin) เรย์นูทริน (Reynoutrin) แอสตรากาลิน (Astragalin)

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการนำกระเทียมมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม ซึ่งสรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร เพิ่มความแข็งแรงจของร่างกาย
  • มีเบต้าเคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • บำรุงร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย รักษาโรคหวัด รักษาอาการไอ รักษาน้ำมูกไหล ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
  • ช่วยระงับการเจริญเติบดตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยระงับกลิ่นปาก รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ รักษาฝีหนอง รักษาคออักเสบ รักษาปอดบวม รักษาเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  • บำรุงเส้นผม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  • ช่วยขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยไล่ยุงได้

โทษของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ไม่เกิดโทษ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระเทียม มีดังนี้

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป็นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

มะระ ( Bitter melon ) พืชรสขม สรรพคุณหลากหลาย สมุนไพรในครัวเรือน ลักษณะของต้นมะระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ พืชสวนครัว

ต้นมะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. และ ชื่อเรียกอื่นๆของต้นมะระแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น

มะระขึ้นชื่อในเรื่องของความขม ความขมของมะระมาจากสาร Momodicine ซึ่งสารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่การรับประทานมะระไม่ควรรับประทานมะระสุก เนื่องจากอาจทำให้อาเจียนได้ มะระอยู่คู่กับสังคมและครัวเรือนของท้องถิ่นไทยมาอย่างช้านาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ นิยมนำผลดิบมารับประทานเป็นอาหาร หลากหลาย เช่น แกงจืดมะระหมูสับ ทานเป็นผักสดกับน้ำพริก เป็นต้น

มะระในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะระเป็นพืชท้องถิ่นทั่วไป นิยมปลูกตามรั่วบ้าน นำมาประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทาน ผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระ มะระปลูกมากในภาคเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมะระที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระขี้นก ผลขนาดเล็ก ให้รสชาติขมมาก นิยมนำมารับประทานผลมะระขี้นกเป็นผักสด
  • มะระจีน ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลักษณะผิวเป็นร่องไม่เรียบ ให้เนื้อผลมาก นิยมนำมาทำอาหารหลากหลายเมนูอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ รวมถึงรับประทานผลเป็นผักสด

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับแตงกวา อายุของมะระเพียงหนึ่งปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาระเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระมีดังนี้

  • ลำต้นของมะระ ลักษณะเป็นเถา ลำต้นกลม สีเขียว มีขนอ่อนๆ ลำต้นมะระจะเกาะตามหลัก ต้นไม้หรือเสา โดยมีรากออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการเกาะจับหลัก
  • ใบของมะระ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบหยาบมีขนอร่อยๆ ใบเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว
  • ดอกของมะระ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง รูปทรงดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลของมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง เรียบ ลักษณะผลเป็นผิวขลุกขละ เป็นหลุมเป็นร่องยาว ผลมีเนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ อยู่ในผลมะระ มีเม็ดจพนวนมากในผลมะระ ลักษณะเมล็ดจะแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

มะระมีสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก ( Gallic Acid ) กรดคาเฟอิก ( Caffeic Acid ) และคาเทชิน ( Catechin ) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สำหรับมะระ นิยมรับประทานมะระส่วนของผลสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญมากมายหลากหลาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะระ เถามระร เมล็ดมะระ รากมะระ ใบมะระ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างการ ช่วยสมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้อาการปวดท้อง
  • เถาของมะระ สรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย
  • ใบสดของมะระ สรรพคุณช่วยห้ามเลือด บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการฟกช้ำ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิ ช่วยขับลม
  • ผลสดของมะระ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน บำรุงน้ำดี  แก้ปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล แก้คัน
  • ผลสุกของมะระ สรรพคุณช่วยรักษาสิว

โทษของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระเป็นอาหาร ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานหรือใช้มะระเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • ผลสุกมะระ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ร่วมกับรับประทานผลมะระอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมะระ เนื่องสารเคมีในผลหรือเมล็ด อาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้

การเลือกซื้อมะระ

การเลือกซื้อมะระที่ให้ความขมไม่มาก ควรเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะ จะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove