สมองอักเสบ การอักเสบของสมองเกิดจากการติดเชื้อโรค อาการของโรค มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ การรักษาสมองอักเสบทำอย่างไรโรคสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อ สมองอักเสบ

โรคสมองอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Encephalitis เป็น ภาวะการอักเสบของเนื้อสมอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่สมองทั้งส่วนหรือบางส่วน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อไวรัส พวก เริม คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สุกใส เป็นต้น นอกจากนั้น การติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ก็สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้

สาเหตุของโรคสมองอักเสบ

หากจะแยกสาเหตุของการเกิดโรคสมองอักเสบ สามารถแยกตามสาเหตุของการเกิดภาวะสมองอักเสบได้จากหลายสาเหตุ คือ การติดเชื้อไวรัส รายละเอียดมีดังนี้

  • ไวรัส เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด มีไวรัสอยู่หลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคสมองอักเสบได้ แต่ที่พบบ่อยสุด คือ กลุ่มของไวรัสที่อาศัยแมลงเป็นพาหะโรค นำโรคมาสู่คนซึ่งเรียกว่า อาร์โบไวรัส(Arboviruses) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ในแต่ละประเทศ แต่ละทวีปจะพบชนิดของไวรัสในกลุ่มนี้ที่เป็นสาเหตุของโรคไม่เหมือนกัน และมักเกิดการระบาดเป็นช่วงๆ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ไวรัสที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ ชื่อ St. Louis encephalitis virus, California encephalitis virus และ West Nile encephalitis virus (โรคติดเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์) สำหรับประเทศไทย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย ไวรัสที่เป็นสาเหตุหลัก ชื่อ Japanese encephalitis virus(ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดไข้เลือด ออก) ไวรัสชนิดนี้อาศัยยุงรำคาญ(บางคน เรียกว่า ยุงบ้าน เป็นยุงตัวเล็กๆ สีดำ หรือ น้ำตาลเข็ม ไม่มีลวดลายบนตัว หรือ บนปีก เพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำเน่าเสียซึ่งมักอยู่ใกล้ๆบ้าน หากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่มักพบเห็นเวลาหัวค่ำ จึงพบได้ทั่วไปตามบ้านพักอาศัย โดยเฉพาะในแหล่งชุมชน) เป็นตัวนำโรคมาสู่คน และสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคของไวรัสชนิดนี้ที่สำคัญ คือหมู นอกจากนี้ได้แก่ นก ม้า วัว ควาย แพะ แกะ โดยที่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น ยกเว้นม้าที่อาจมีอาการได้ไวรัสในกลุ่มอื่นที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบชนิดที่พบเห็นได้เหมือน กันทั่วโลก แต่พบได้น้อย เช่น ไวรัสเริม(โรคเริม) ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคคางทูม ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัด ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัดเยอรมัน ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า ไวรัส HIVที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ ไวรัสชื่อย่อว่า อีบีวี( EBV) และไวรัสชื่อย่อว่า ซีเอ็มวี(CMV)
  • แบคทีเรีย พบเป็นสาเหตุได้น้อยกว่าไวรัสมาก โดยส่วนใหญ่การติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดสมองอักเสบแบบ สมองใหญ่อักเสบ และกลายเป็นฝีในสมอง ส่วนน้อยจะทำให้เกิดสมองอักเสบแบบทั่วไปที่ไม่กลายเป็นฝี ซึ่งอาการของสมองใหญ่อักเสบ จะแตกต่างกับอาการของสมองอักเสบทั่วไป จึงจะไม่ขอกล่าวถึงโรคสมองใหญ่อักเสบอีกต่อไป
  • โปรโตซัว ( Protozoa ) พบเป็นสาเหตุได้น้อยเช่นกัน ได้แก่ โปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย โปรโตซัวชื่อ Acanthamoeba spp. ที่ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ โปรโตซัวชื่อ Naegleria fowleri ที่พบอยู่ในแหล่งน้ำจืดและจะติดมาจากการว่ายน้ำ โปรโตซัวชื่อ Toxo plasma gondii ที่ทำให้เกิดโรคในหลายอวัยวะ และทำให้ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อพิการได้
  • เชื้อรา พบเป็นสาเหตุได้น้อยมาก เชื้อส่วนใหญ่จะทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเป็นฝีในสมองมากกว่าเกิดโรคสมองอักเสบ
  • สาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคที่เกิดจากระบบภูมิ คุ้มกันต้านทานโรคทำงานผิดปกติ ชื่อโรค Acute disseminated encephalitis หรือ จากการแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่สมอง และสู่เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

ส่วนใหญ่ของโรคพบว่า เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเกิดจากการติดต่อมาจาก การกัด ต่อยของสัตว์ เช่น ยุง ไร สุนัข ค้างคาว เป็นต้น เราสามารถแบ่งประเภทของ การติดเชื้อ ได้ 2 ประเภท คือ การติดเชื้อ ครั้งแรก และ การติดเชื้อ จากการมีเชื้อโรคอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว รายละเอียด ดังนี้

  1. การติดเชื้อครั้งแรก ( Primary encephalitis ) เป็นลักษณะของ การติดเชื้อจากการโดนสัตว์กัด ซึ่ง เชื้อโรค สามารถทำให้เกิด การติดเชื้อ ทำให้ สมองอักเสบ ได้
  2. การติดเชื้อ จากการมี เชื้อโรคอยู่ในร่างกาย อยู่แล้ว ( Secondary encephalitis ) ลักษณะ เช่น การติดเชื้อโรค และเป็นระยะไม่แสดงอาการ เช่น เชื้อเริม เป็นต้น

นอกจาก เชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายทำให้เกิด โรคสมองอักเสบ ยังมีปัจจัยอื่น เช่น อายุ ภูมิคุ้มกัน การระบาดของโรค เป็นต้น

อาการของโรคสมองอักเสบ

โดยมากผู้ป่วยจะอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อ โรคสมองอักเสบ  แสดงอาการ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ คอแข็ง อาเจียน ปวดหัว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า โดยทั่วๆไป การติดเชื้อไวรัส จะเริ่มด้วยอาการที่ไม่จำเพาะ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หลังจากนั้นจึง จะมีอาการที่จำเพาะกับแต่ละเชื้อไป เช่น โรคอีสุกอีใส ก็จะมีผื่นที่เป็นตุ่มน้ำใส เป็นต้น ยกเว้นแต่เชื้อไวรัสกลุ่มที่อาศัยแมลงเป็นพาหะนำโรค จะไม่มีอาการจำ เพาะตามมา โดยเมื่อเชื้อเข้าไปทำให้เกิดสมองอักเสบแล้ว ก็จะเกิดอาการของสมองอักเสบขึ้นเพียงอย่างเดียว สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคสมองอัก เสบ หรือเชื้ออื่นๆ อาการสมองอักเสบที่เกิดขึ้นจะเหมือนกัน

เราสามารถตรวจ โรคสมองอักเสบ ได้โดย การเจาะไขสันหลัง ตรวจคลื่นสมอง ตรวจรังสีสมอง และ การตรวจเยื่อสมอง

โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับโรคสมองอักเสบ

สำหรับอาการแทรกซ้อนนั้นมีหลายโรค เช่น หายใจวาย ความจำเสื่อม โรคพาร์กินสัน ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อ หูหนวกหรือตาบอด เป็นต้น  โรคสมองอักเสบ หากเกิดขึ้นอย่างไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง โดยการพักผ่อนให้พอเพียง ดื่มน้ำมากๆ กินยาแก้ปวด กินยาแก้สมองบวม กินยากันชัก

การป้องกันโรคการเกิดโรคสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย การฉีดยาป้องกันโรค อีสุกอีใส คางทูม หัดเยอรมัน และ วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ นอกจากนั้น ป้องกัน โดยการระวังปัจจัยอื่นๆที่จะทำให้เกิดโรค เช่น อย่าให้ยุงกัด และระวังสัตว์อื่นๆ กัด เป็นต้น เราสามารถแบ่งเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • สำหรับโรคสมองอักเสบที่เกิดจากไวรัสกลุ่มที่อาศัยแมลงเป็นพาหะ ในประเทศไทย มีวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อไวรัส เจอี โดยแนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีนเมื่ออายุได้ 1 ปีครึ่ง ซึ่งถ้าใช้วัคซีนชนิดเชื้อตาย ให้ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม แต่ถ้าเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ให้ฉีด 2 เข็ม เชื้อไวรัส เจอี อาศัยยุงรำคาญเป็นพาหะ และหมูเป็นแหล่งรังโรค แต่การป้องกันโดยการควบคุมจำนวนยุงซึ่งอาศัยอยู่ในนาข้าว และควบคุมการเลี้ยงหมูเป็นไปได้ยาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม
  • สำหรับประเทศอื่นๆ ก็จะมีวัคซีนป้องกันไวรัสกลุ่มที่อาศัยแมลงเป็นพาหะตัวอื่นๆ ที่เป็นปัญหาสำคัญกับประเทศนั้นๆ
  • โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคคางทูม โรคอีสุกอีใส และโรคพิษสุนัขบ้า มีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกัน
    สำหรับเชื้อโรคเริม เชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อโปรโตซัว ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

สมุนไพรที่บำรุงสมอง

สามารถ ช่วยบรรเทา และ ลดการเกิด โรคต่างๆ เกี่ยวกับระบบสมอง ได้ เราจึงขอแนะนำสมุนไพร สรรพคุณบำรุงระบบสมอง มีดังนี้

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ต้นกาแฟ กาแฟ สรรพคุณของกาแฟ ประโยชน์ของกาแฟกาแฟ
ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ
จำปูน ต้นจำปูน ดอกจำปูน สมุนไพรจำปูน รากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบรากสามสิบ

โรคสมองอักเสบ คือ การอักเสบของเนื้อสมอง เกิดขึ้นที่สมองทั้งหมดหรือบางส่วน สาเหตุของสมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น เริม คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สุกใส เป็นต้น อาการของสมองอักเสบ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ การรักษาโรคสมองอักเสบทำอย่างไร

เชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ เชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรอีโคไล ท้องเสีย ท้องร่วง โรคระบบทางเดินอาหาร

Escherichia coli ( E. coli ) คือ เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งปกติแล้วแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ทําอันตรายต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต และเมื่ออาศัยอยู่ในลําไส้ก็จะช่วยย่อยอาหาร แต่หาก E. coli เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้อวัยวะนั้นๆติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ เช่น โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น และ เชื้อ E. coli บางสายพันธุ์ที่ทําให้เกิดโรคท้องเสียได้ หากเชื้อโรคปนเปื่อนในอาหารที่เรารับประทาน

กลไกของการติดเชื้ออีโคไล

เชื้ออีโคไลจะสร้างชิกา สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้ออีโคไล จะสร้างโปรตีนชื่ออินติมิน( Intimin ) ซึ่งเชื้อนี้ใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และจะสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย E. coli

กลไกการก่อโรค เมื่อเชื้อ E. coli เข้าสู่ร่างกาย จะสร้างสารพิษต่างๆ สารพิษ enterotoxin ทําให้เกิดอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ถ่ายเหลวเป็นน้ํา สร้างสารพิษ Shiga ทําให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น ซึ่งเชื้ออีโคไล E.coli ( Escherichia coli ) มีหลายชนิด  ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli (ETEC), Enterohemorrhagic E coli (EHEC), Enteropathogenic E coli (EPEC),Enteroinvasive E coli (EIEC),Enteroaggregative E coli (EAEC),Shiga-toxin producing E coli (STEC) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC (Enterotoxigenic E coli) เชื้อโรคชนิดนี้ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC (Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อโรคชนินนี้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC (Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อโรคนี้จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC (Enteropathogenic E coli ) เชื้อโรคชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC (Enteroinvasive E coli ) เชื้อชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC (Enteroaggregative E coli )เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้ออีโคไล

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย E. coli เกิดจากการรับเชื้อ E. coli ทางอาหารหรือการสัมผัส โดยสามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อ E. coli มีดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อ E. coli
  • มือที่สัมผัสเชื้อโรค และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อโรค E coli ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ E coli
  • การว่ายน้ำในสระน้ำ หรือ แหล่งน้ำ ที่มีเชื้อ E. coli ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

หากเกิดกับเด็กทารกและเด็กเล็ก พบว่าอาการผุ้ติดเชื้อไม่แน่นอน อาการคล้ายในเด็กโต คือ ท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัส ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หากเกิดกับเด็กโต จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว อาจจะถ่ายมีเลือดปน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคชนิดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น และ หายเป็นปกติได้เอง สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ประคับประครองผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ และ ไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป

การป้องกันการติดเชื้ออีโคไล

วิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย สามารถทำได้โดยการ รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
  • สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
  • เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ Mr. Theodur Escherich คือ ผู้ค้นพบเชื้อโรค E coli เชื้ออีโคไล สามารถอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคติดเชื้ออีโคไล และ การป้องกันการเกิดโรคติดเชื้ออีโคไล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove