ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อยต้นโสน ดอกโสน สมุนไพร สรรพคุณของโสน

โสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq ชื่ออื่นๆ ของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา สรรพคุณของโสน ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ถิ่นกำเนิดของต้นโสน คือ ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย รวมถึง ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย

สายพันธุ์โสนในประเทศไทย

สายพันธ์ต้นโสนจากการศึกษาสายพันธ์โสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ คือ โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก รายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีรายละเอียด ดังนี้

  • โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร
  • โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น

ลักษณะของต้นโสน

ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้

  • ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ลำต้นยาว สีเขียว
  • ใบโสน ลักษณะใบของโสนเป็นรูปรี สีเขียว ใบและท้องใบจะเรียบ ที่โคนของก้านจะมีหนาม
  • ดอกของโสน ลักษณะของดอกจะออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง ดอกจะเป็นสีเหลือง โสนจะออกดอกช่วงปลายฤดูฝน
  • ผลของโสน ออกเป็นฝัก ฝักอ่อนของโสนจะมีสีเขียว เมื่อแก่ไปฝักจะเป็นสีน้ำตาล เมล็ดจะเป็นทรงกลม

คุณค่าทางโภชนาการของโสน

สำหรับการรับประทานโสนเป็นอาหาร นิยมรับประทานดอกโสนเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ความชื้น 87.7 กรัม วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของโสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากโสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำโสนมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ทั้ง ดอก ราก ลำต้น ใบ รายละเอียด สรรพคุณของโสน มีดังนี้

  • ดอกโสน จะมีรสจืด มีสรรพคุณ แก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโสน จะมีรสจืด มีสรรพคุณ แก้ร้อน
  • ลำต้นโสน จะมีรสจืด สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ โดยนำมาเผาให้ไหม้ จากนั้นนำไปแช่น้ำดื่ม
  • ใบของโสน มีรสจืด สรรพคุณ รักษาแผล โดนนำไปตำและพอกแผล หรือ นำใบไปตำผสมกับดินสอพอง ใช้พอกแผลรักษาฝีได้

ประโยชน์ของต้นโสน

  • ดอกโสน มีรสออกหวานเล็กน้อย นิยมใช้รับประทานเป็นผักหรือนำมาใช้ประกอบหรือทำอาหารคาวหวานรับประทาน เมนูดอกโสน ที่นิยมกันมาก ได้แก่ ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนลวกจิ้มกับน้ำพริกกะปิกินกับปลาทู ดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว ดอกโสนชุบแป้งทอดกรอบกินกับขนมจีนน้ำพริก ยำดอกโสน ดอกโสนดองน้ำเกลือ แกงส้มดอกโสนกับปลาช่อน ดอกโสนแกงใส่ไข่มดแดง หรือแกงเผ็ดอะไรก็ได้ใส่ดอกโสน แต่ถ้าใช้ประกอบอาหารหวานก็จะมีข้าวเหนียวมูนดอกโสน ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย เป็นต้น
  • จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ดอกโสนมีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ (Quercetin 3-2 (G)-rhamnosylrutinoside) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ โดยมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารชนิดนี้พบว่า เควอเซทินมีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายด้วยกระบวนการอะพ็อปโทซิส (apoptosis) ช่วยหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยระงับการอักเสบ และช่วยป้องกันอันตรายของเซลล์ปกติต่อความเครียดจากกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ
  • นอกจากนี้ยังนำมาใช้แต่งสีอาหารได้อีกด้วย โดยจะให้สีเหลือง ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์ (caiotenoid) โดยวิธีการเตรียมสีเหลืองจากดอกโสน ก็ให้นำดอกโสนสดที่ล้างสะอาดแล้วมาบดหรือโม่ผสมกับแป้งที่จะใช้ทำขนม จะทำให้ได้แป้งสีเหลืองที่มีกลิ่นหอม แล้วจึงนำแป้งที่ได้ไปใช้ทำขนมต่าง ๆ
  • เนื้อไม้ของต้นโสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง โดยไม้โสนจะใช้ทำเป็นของเล่นเด็กมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเยื่อไม้ที่มีลักษณะเบา บาง และเหนียว ก็นำมาประดิษฐ์ทำเป็นดอกไม้ได้อย่างประณีตและงดงาม
  • ไม้โสนยังสามารถนำมาใช้เป็นทุ่นหรือเชื้อติดไฟได้ดี
  • ในปัจจุบันได้มีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ชาดอกโสน และชาจากยอดใบโสน เนื่องจากดอกโสนมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เมื่อนำมาทำชา ก็ได้ชาที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ให้รสชาติอ่อนนุ่ม โดยสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย ดอกโสน นิยมนำมาทำอาหาร เช่น ไข่เจียวดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน

กระเจี๊ยบแดง Roselle สมุนไพร นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมารับประทาน ทำเครื่องดื่ม ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ช่วยขับลม โทษของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบแดง สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบแดง ( Roselle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ  ขับเสมหะ ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัด ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

กระเจี๊ยบ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่ออื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก้งเค้ง ส้มเก้งเค้ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอเหมาะ แกงแดง ส้มพอดี เป็นต้น ต้นกระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น เพียงแค่ปีเดียว นิยมปลูกสำหรับนำดอกมาใช้ประโยชน์หลัก ได้แก่ นำดอกมาต้มเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ส่วนอื่นๆรองลงมา ได้แก่ ใบ และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหาร สีของดอกใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น เรานำเอาส่วนยอดใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ของกระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์แบบสดๆ ส่วนกลีบเลี้ยง ใบ เมล็ด สามารถนำมาตากแห้งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง

ต้นกระเจี๊ยบนิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกลีบดอกกระเจี๊ยบขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 49 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง

ต้นกระเจี๊ยบ เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก อายุของกระเจี๊ยบ 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง มีดังนี้

  • ลำต้นของกระเจี๊ยบสูงประมาณ  2 เมตร กิ่งก้านของกระเจี๊ยบจะมีสีสีม่วงอมแดง
  • ใบของกระเจี๊ยบ ขอบใบจะเว้าลึก หยัก เป็นรูปวงรี แหลม
  • ดอกของกระเจี๊ยบ เป็นสีสีชมพู  ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะแหลม มีสีแดงเข้ม
  • เมล็ดของกระเจี๊บย เป็นสีน้ำตาล

กระเจียบ ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

สำหรับการนำเอากระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร และ การรักษาโรค เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก ยอด ใบ เมล็ด ดอก โดยรายละเอียดของสรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ยอดและใบของกระเจี๊ยบ สามารถใช้ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและเป็นยาระบาย  นำมาตำพอกฝี ล้างแผล
  • เมล็ดของกระเจี๊ยบ สามารถช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด เป็นยาระบายอ่อนๆ เมล็ดของกระเจี๊ยบสามารถ นำมาบดเป็นผงผสมน้ำกินได้
  • ดอกกระเจี๊ยบ นำมาต้มชงน้ำดื่ม ช่วยให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

โทษของกระเจี๊ยบแดง

สำหรับการรับประทานกระเจี๊ยบเป็นอาหาร หรือใช้เป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสียอยู่ ไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบ เนื่องจากน้ำกระเจี๊ยบมีสรรพคุณเป็นยาระบาย
  • น้ำกระเจี๊ยบ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ไม่ควรดื่มน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นในปริมาณมากและติดต่อกันนาน ๆ เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ต้นกระเจี๊ยบแดง ( Roselle ) สมุนไพร นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมารับประทาน และ ทำเครื่องดื่ม ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ช่วยขับลม โทษของกระเจี๊ยบ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove