แก้วมังกร ( dragon fruit ) ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการ ผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม สรรพคุณบำรุงผิว ลดความอ้วน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. เป็นผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม มีเนื้อมาก รสหวาน คุณค่าทางอาหารสูง

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกากลาง และมีการนำเข้ามาเอเชียครั้งแรก ที่ประเทศเวียดนาม แหล่งเพาะปลูกแก้วมังกรสำคัญของไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม แก้วมังกร จะออกผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สรรพคุณเด่นของแก้วมังกร คือ ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคเบาหวาน แก้ท้องผูก ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ป้อกงันโรคโลหิตจาง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้นอนหลับ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก โดย ลักษณะของราก ลำตัน ดอกและผล มีลักษณะทั่วไป ดังนี้

  • รากของแก้วมังกร มีรากเป็นรากฝอย ขนาดเล็ก แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นของแก้วมังกร มีลำต้นคล้ายต้นกระบองเพชร เป็นสามเหลี่ยม อวบน้ำ ขอบมีรอยหยักเป็นระยะๆ ลำต้นเป็นปล้องๆ มีหนาม ผิวลำต้นมีสีเขียว
  • ดอกของแก้วมังกร เป็นดอกเดี่ยว ขึ้นบริเวณส่วนปลายของปล้องสุดท้าย แก้วมังกรจะออกดอกประมาณ 8 ถึง 10 เดือน ดอกแก้วมังกรในระยะแรกจะเป็นตุ่มสีเขียว เมื่อดอแก้วมังกรสมบูรณ์พร้อม จะบานออกกลีบเลี้ยงจะมีสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย คล้ายกับดอกโบตั๋น ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และจะหุบในช่วงเช้า
  • ผลแก้วมังกร ลักษณะของผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกสีบานเย็น เปลือกหนา ผิวเปลือกปกคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว เนื้อของแก้วมังกรมีสีขาวหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สายพันธุ์แก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรที่นิยมปลูกกัน มี 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ แก้วมังกรพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. เปลือกจะมีสีชมพูสด กลีบสีเขียว รสชาติของเนื้อจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus megalanthus ผลจะมีขนาดเล็ดกว่าพันธ์อื่นๆ มีเปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาว และเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ รสชาติของเน้ือจะหวาน
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus costaricensis เปลือกจะมีสีแดงจัด เนื้อก็มีสีแดงภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รสชาติหวาน

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร

มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกรขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม น้ำตาลกลูโคส 5.70 กรัม น้ำตาลฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าแก้วมังกร อุดมไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายชนิด ทั้ง วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น  แก้วมังกรจึงถูกจัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์ของแก้วมังกร เรานำผลของแก้วมังกรมาบริโภค เพื่อประโยชน์ต่างๆ โดย สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ชุ่มชื่น เพราะมีวิตามินซีสูง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีแคลอรีต่ำ และกากใยอาหารสูง
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย เช่น ตะกั่วที่มาจากควันท่อไอเสีย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

ข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร

สำหรับข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • แก้วมังกร เป็นผลไม้เย็น หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้มือเท้าเย็น ท้องเสียง่าย
  • สำหรับสตรีมีประจำเดือน ไม่ความกินแก้วมังกรมาก เนื่องจากความเย็นของแก้วมังกรมีผลต่อเลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้ประจำเดือนขัด
  • แก้วมังกรห้ามกินคู่กับนมสด เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อย

การเพาะปลูกแก้วมังกร

แก้วมังกร เป็นไม้เลื้อย ต้องมีหลักสำหรับให้ต้นแก้วมังกรยึดเกาะ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร โดยให้เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์ แก้วมังกร เป็นพืชที่เติบโตได้ทุกสภาพดิน แต่จะชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย และไม่ชอบดินชื้น และน้ำท่วมขัง พื้นที่มีการระบายน้ำดี

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดงต้นเข็ม ต้นเข็มแดง ดอกเข็ม สรรพคุณของต้นเข็ม

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) ชื่อวิทาศาสตร์ของต้นเข็ม คือ Ixora lobbii Loudon พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง

ดอกเข็ม เป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของคนไทย ดอกเข็มมีลักษณะแหลมเรียว แสดงความหมายของ สติปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็ม จึงเป็นดอกไม้ประจำวันไหว้ครู ใช้บูชาพระ และจัดแจกัน ตามงานพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ต้นเข็มแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora lobbii Loudon ชื่อเรียกอื่นๆของต้นเข็ม คือ จะปูโย, ตุโดบุโยบูเก๊ะ, เข็มดอกแดง เป็นต้น

ลักษณะของต้นเข็มแดง

ต้นเข็มแดง เป็นไม้พุ่ม อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ  มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 5 เมตร กลีบดอกย่อยสีแดง มีเกสรสีเหลืองแซมข้างกลีบ ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม หนาและแข็ง สีเขียว นิยมปลูกตามบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นประปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท และต้นเข็มสามารถขึ้นได้เองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นเข็มแดงมีอะไรบ้าง

  • ต้นของเข็มแดง เป็นพุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว กิ่งใบมีสีน้ำตาล ขนาดเล็ก เหนียว มีใบเกาะแน่นตามกิ่ง
  • ใบของเข็มแดง ใบมีลักษณะ หนา และแข็ง สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกของเข็มแดง มีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ดอกเข็มแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาว ไม่มีกลิ่นหอม
  • ผลของเข็มแดง มีลักษณะกลม ผลอ่อน มีสีเขียว ผลสุก มีสีม่วงดำ

สรรพคุณของเข็มแดง

การใช้ประโยชน์ของเข็มแดง ในการรักษาโรค จะใช้ รากของเข็มแดง ใบและดอก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของเข็ม มีดังนี้

  • รากของต้นเข็ม รสเย็นหวาน แก้เสมหะและแก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ แก้ตาพิการ สามารถนำมาทำเป็น ยาบำรุงร่างกาย แก้อาการบวม ลดการอักเสบ รักษาตาพิการ ใช้หยุดเลือดกำเดา ขับเสมหะ ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ และ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของต้นเข็ม รสขื่น เป็นยาฆ่าพยาธิ
  • ดอกต้นเข็ม รสหวานเย็น แก้โรคตา

การปลูกต้นเข็ม

การปลูกต้นเข็มสามารถปลูกต้นเข็มได้ง่าย สามารถปลูกในกระถางต้นไม้ หรือปลูกลงดินก็ได้ โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มแดง มีดังนี้

  • การปลูกต้นเข็มแดงในกระถาง ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ แกลบ โดยใช้อัตราส่วนเท่ากัน ให้ใช้กระถางทรงสูง 12 นิ้ว ให้เติมดิน หรือ เปลี่ยนดินทุกปี หรือ หากต้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นให้เปลี่ยนกระถางให้ใหญ่มากขึ้น
  • การปลูกต้นเข็มแดงลงดิน ต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วนที่เท่ากันต้นเข็มเมื่อโตขึ้น จะมีลักษณะจับกลุ่มกัน ให้ตัดแต่งทรงต้นเข็มให้สวยงาม ควรปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออกของบ้าน

การให้น้ำสำหรับต้นเข็ม ต้นเข็มต้องการน้ำเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ชอบแดดจัด ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ทุกๆ 3 เดือน การขยายพันธุ์ต้นเข็มแดง สามารถขยายพันธ์ได้ทั้งการปักชำ ตอนกิ่ง หรือ การเพาะเมล็ด การใส่ปุ๋ยเร่งดอกให้ต้นเข็มแดง หากต้องการให้ต้นเข็มออกดอก ให้ใส่ได้เดือนละครั้ง

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove