แก้วมังกร dragon fruit ผลไม้ยอดนิยม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ ลดความอ้วน ต้นแก้วมังกรเป็นอย่างไร โทษของแก้วมังกรมีอะไรบ้าง

แก้วมังกร ผลไม้ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ สรรพคุณของแก้วมังกร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. เป็นผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม มีเนื้อมาก รสหวาน คุณค่าทางอาหารสูง

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกากลาง และมีการนำเข้ามาเอเชียครั้งแรก ที่ประเทศเวียดนาม แหล่งเพาะปลูกแก้วมังกรสำคัญของไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม แก้วมังกร จะออกผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สรรพคุณเด่นของแก้วมังกร คือ ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคเบาหวาน แก้ท้องผูก ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ป้อกงันโรคโลหิตจาง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้นอนหลับ เป็นต้น

ประโยชน์ของแก้วมังกร นิยมรับประทานเป็นผลเป็นผลไม้สด เป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ กากใยสูง มีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้หลากหลาย สามารถรับประทานเพื่อลดดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดความอ้วน  บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย

สายพันธุ์แก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรที่นิยมปลูกกัน มี 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ แก้วมังกรพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. เปลือกจะมีสีชมพูสด กลีบสีเขียว รสชาติของเนื้อจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus megalanthus ผลจะมีขนาดเล็ดกว่าพันธ์อื่นๆ มีเปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาว และเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ รสชาติของเน้ือจะหวาน
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus costaricensis เปลือกจะมีสีแดงจัด เนื้อก็มีสีแดงภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รสชาติหวาน

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เลื้อย มีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง โดย ลักษณะของราก ลำตัน ดอกและผล มีลักษณะทั่วไป ดังนี้

  • รากของแก้วมังกร มีรากเป็นรากฝอย ขนาดเล็ก แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นของแก้วมังกร มีลำต้นคล้ายต้นกระบองเพชร เป็นสามเหลี่ยม อวบน้ำ ขอบมีรอยหยักเป็นระยะๆ ลำต้นเป็นปล้องๆ มีหนาม ผิวลำต้นมีสีเขียว
  • ดอกของแก้วมังกร เป็นดอกเดี่ยว ขึ้นบริเวณส่วนปลายของปล้องสุดท้าย แก้วมังกรจะออกดอกประมาณ 8 ถึง 10 เดือน ดอกแก้วมังกรในระยะแรกจะเป็นตุ่มสีเขียว เมื่อดอแก้วมังกรสมบูรณ์พร้อม จะบานออกกลีบเลี้ยงจะมีสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย คล้ายกับดอกโบตั๋น ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และจะหุบในช่วงเช้า
  • ผลแก้วมังกร ลักษณะของผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกสีบานเย็น เปลือกหนา ผิวเปลือกปกคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว เนื้อของแก้วมังกรมีสีขาวหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรนิยมรับประทานเป็นอาหาร ซึ่งมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม น้ำตาลกลูโคส 5.70 กรัม น้ำตาลฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าแก้วมังกร อุดมไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายชนิด ทั้ง วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น  แก้วมังกรจึงถูกจัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์ของแก้วมังกร เรานำผลของแก้วมังกรมาบริโภค เพื่อประโยชน์ต่างๆ โดย สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ชุ่มชื่น เพราะมีวิตามินซีสูง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีแคลอรีต่ำ และกากใยอาหารสูง
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย เช่น ตะกั่วที่มาจากควันท่อไอเสีย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

โทษของแก้วมังกร

สำหรับข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • แก้วมังกร เป็นผลไม้เย็น หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้มือเท้าเย็น ท้องเสียง่าย
  • สำหรับสตรีมีประจำเดือน ไม่ความกินแก้วมังกรมาก เนื่องจากความเย็นของแก้วมังกรมีผลต่อเลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้ประจำเดือนขัด
  • แก้วมังกรห้ามกินคู่กับนมสด เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อย

การเพาะปลูกแก้วมังกร

แก้วมังกร เป็นไม้เลื้อย ต้องมีหลักสำหรับให้ต้นแก้วมังกรยึดเกาะ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร โดยให้เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์ แก้วมังกร เป็นพืชที่เติบโตได้ทุกสภาพดิน แต่จะชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย และไม่ชอบดินชื้น และน้ำท่วมขัง พื้นที่มีการระบายน้ำดี

แก้วมังกร ( dragon fruit ) ผลไม้ยอดนิยม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ สรรพคุณของแก้วมังกร เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ ลดความอ้วน ลักษณะของต้นแก้วมังกรเป็นอย่างไร โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

กระเจี๊ยบเขียว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว ผักสด สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Lady‘s Finger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับ

ผลกระเจี๊ยบเขียว นิยมนำมาทำอาหาร โดยใช้ลวกเป็นผักเคียงกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังนิยานำมาทำอาหาร หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงใส่ปลาย่าง กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมาก กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรถ์

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียง 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว ลำต้นตั้งตรงความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกลำต้นบาง เนื้อลำต้นมีสีขาวนวล
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายใบละหุ่ง คือ ใบกลมเป็นแฉกแบบร่องลึก ปลายใบแหลม ใบหยักแหลมคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวใบหยาบสากมือ ใบมีสีเขียว
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมขาว บริเวณกลางดอกมีสีม่วง
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตมาจากดอก ฝักเรียวยาวปลายฝักแหลม เหมือนรูปนิ้วมือ ฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียวนิยมรับประทานผลสดกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน พลังงาน 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.215 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน ( Pectin ) และกัม ( Gum ) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด

สรรพคุณของกระเจียบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากกระเจี๊ยบเขียว สามารถใช้ประโยชน์จาก ฝักกระเจี๊ยบเขียว ใบกระเจี๊ยบเขียว รากกระเจี๊ยบเขียว และ เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณ ลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคซิฟิลิส
  • เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณแก้อาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ
  • ยางจากฝักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล ช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว หรือ ใช้ประโยชน์ส่วนต่างๆของกระเจี๊ยบเขียว ในการรักษาโรคมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีความเป็นพิษ ในเมล็ดแก่สารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ปวดบีบท้อง ท้องอืด หรือ ท้องเสียได้ เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดนิ่วได้ ้เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีออกซาเลตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวมีวิตามินเค ที่สรรพคุณช่วยต้านการเกิดลิ่มเลือด สำหรับกลุ่มคนที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady‘s Finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับคุณ ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียว พืชท้องถิ่น นิยมรับประทานผล ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น เป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove