มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) สมุนไพรตระกูลถั่ว ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย รักษาแผล ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาหนองใน ลดความดัน ต้นขี้เหล็กเทศเป็นอย่างไรขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจ

สมุนไพร สำหรับวันนี้ ขี้เหล็กเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Coffea senna ชื่อวิทยาศาสตร์ของขี้เหล็กเทศ คือ Senna occidentalis (L.) Link เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่ออื่น ๆของขี้เหล็กเทศ คือ ขี้เหล็กเผือก ผักเห็ด ลับมืนน้อย หมากกระลิงเทศ ขี้เหล็กผี ชุมเห็ดเล็ก พรมดาน ชุมเห็ดเทศ ผักจี๊ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ว่างเจียงหนาน คางเค็ด ผักเค็ด ผักเคล็ด เลนเค็ด

หากจะกล่าวถึง ขี้เหล็กเทศ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยจะขึ้นพื้นที่โล่ง รกร้าง ตามไหล่เขา ริมคลอง ยอดอ่อนและใบถูกนำมาเป็น ส่วนผสมสำหรับทำ แกงเลียง แกงเผ็ด ต่างก็ใช้ขี้เหล้กเทศ มีความอร่อยของอาหาร มีการนำเมล็ดของขี้เหล็กเทศมาบดดื่มแทนชาและกาแฟ แต่การรับประทานขี้เหล็กเทศต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสำ หากรับประทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศอยู่ที่เมล็ด แต่

ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ

สำหรับ ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กเทศ คือ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอ หอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรคเบาหวาน แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน ยาลดไข้ เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ต้นแลใบของขี้เหล็กเทศเป็นอาหารสัตว์ชั้นยอด เหมาะแก่การให้ โคและกระบือรับประทานเป็นอาหารเสริม เนื่องจากขี้เหล็กเทศ มีทั้ง โปรตีน ใยอาหาร ไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือนำมาทำปุ๋ยก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดี

จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศีกษาขี้เหล็กเทศ พบว่าในขี้เหล็กเทศมีสาร เช่น Aloe-emodin, Cassiollin, Chrysophanol, Dianthronie heteroside, Emodin, Homodianthrone, Islandicin, N-methylmorpholine alkaloid, Physcion, Physcion-l-glycoside, Physcion homodianthrone, Toxalbulmin, Rhein, กรดอะมิโน, น้ำมันหอมระเหย แต่มีงานวิจัย พบสารที่สกัดจากใบและเปลือกของขี้เหล็กเทศ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นหัวใจ และฆ่าได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ

ต้นขี้เหล็กเทศ เป็น พืชล้มลุก อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของขี้เหล็กเทศ ความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
  • ใบของต้นขี้เหล็กเทศ เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่
  • ดอกต้นขี้เหล็กเทศ ออกเป็นช่อจะออกตามปลายกิ่ง
  • ผลของต้นขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นน้ำตาล

สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ

การนำเอาขี้เหล็กเทศมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ต้องระมัดระวังการใช้งาน เนื่องจากตัวขี้เหล็กเทศ มีพิษ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ โดยประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง เมล็ด เปลือก รากและใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็นดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน
  • เมล็ดของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงธาตุ รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี
  • เปลือกของขี้เหล็กเทศ ใช้รักษาโรคเบาหวาน รักษาไข้มาลาเรีย รักษาโรคหนองใน
  • ใบของขี้เหล็กเทศ ใช้ แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ ยาลดไข้ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคหนองใน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากขี้หล็กเทศ

เนื่องจากขี้เหล็กเทศมีพิษ ซึ่งต้องกำจัดพิษของขีเหล็กเทศก่อน โดยพิษของขี้เหล็กเทศมีโปรตีนที่เป็นพิษ โดยการกำจัดพิษ สามารถทำได้โดยการนำเมล็ดไปคั่วจนเป็นสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอมเสียก่อน หากไม่กำจัดพิษ หรือกำจัดพิษไม่หมด จะมีอาการอาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรง ให้รีบล้างท้องและนำส่งแพทย์โดยด่วน

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) พืชตระกูลถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ บำรุงร่างกาย รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน ลดความดันโลหิต ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove