มะรุม Horse radish tree ผักพื้นบ้าน มีประโยชน์ด้านอาหารและการรักษาโรคมากมาย สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดัน โทษมะรุม

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม คือ Moringa oleifera Lam. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะรุม เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ เป็นต้น ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้าน มีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นพืชที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วน

น้ำมันมะรุม ช่วยละลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผม รักษาผมร่วง รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ แก้ปวดหัว รักษาสิว รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฆ่าพยาทในหู รักษาหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ รักษาอาการคันตามผิวหนัง รักษาแผลสด รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม พืชผักพื้นบ้าน มีประโยชน์ทั้งด้านอาหาร ยารวมถึงอุตสาหกรรม ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์และการปักชำ ลักษณะของมะรุม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของมะรุม ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลักษณะโปร่ง เปลือกของลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกเรียบ บาง ความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบมะรุม เป็นในเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบ และ ฐานใบ มน ใบมีขน ใบแตกออกจากก้าน ออกเรียงสลับกัน
  • ดอกมะรุม ออกเป็นช่อ ดอกมะรุมมีสีขาว ดอกออกตามข้อของกิ่ง ดอกมะรุมแก่ มีสีเหลืองนวล
  • ฝักมะรุม หรือ ผลมะรุม ฝักมะรุมอ่อน มีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล เปลือกหนา ลักษณะเป็นคลื่นนูนตามเมล็ด ภายในฝักมะรุมมีเมล็ด
  • เมล็ดมะรุม ลักษณะรี มีเยื่อหุ้มคล้ายกระดาษแก้วบางๆ ขนาดของเมล็ดประมาณ 1 เซ็นติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

สำหรับการบริโภคมะรุมเป็นอาหาร นิยมบริโภคส่วนของฝักและใบ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมและใบมะรุม รายะเอียดดังนี้

ฝักมะรุมขนาด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม

ใบมะรุมขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะรุมด้ารการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ใบมะรุม ฝักมะรุม เมล็ดมะรุม ยางจากต้นมะรุม รากมะรุม เปลือกมะรุม ดอกมะรุม สรรพคุณของมะรุม มีดังนี้

  • ใบมะรุม สรรพคุณรักษาไข้ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการอักเสบ รักษาแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงผิวพรรณ แก้ปวดหัว รักษาแผลสด
  • ฝักมะรุม สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดคอเรสเตอรัลในร่างกาย แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ดของมะรุม สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาลดไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง แก้ไอ
  • ยางมะรุม สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดฟัน แก้ปวดหู ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ รักษาซิฟิลิส
  • รากมะรุม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการบวม รักษาโรคไขข้อ
  • เปลือกลำต้น สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็ง
  • ดอกมะรุม สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงดวงตา บำรุงสายตา

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคมะรุม มีดังนี้

  • เปลือกของลำต้นมะรุม มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคนที่มีบุตรยาก หรือ ต้องการมีบุตร ไม่ควรกินมะรุม
  • มะรุมอาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากกว่าปรกติ จึงไม่ควรรับประทานมะรุม หากกำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ใบมะรุมรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ท้องเสียได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

หญ้าขัด ขัดมอน สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยกระตุ้นและบีบมดลูก ช่วยเจริญอาหาร ขับเลือด ขับเสมหะ ข้อควรระวังและโทษของขัดมอน สามารถทำให้แท้งลูกได้ขัดมอน หญ้าขัด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหญ้าขัด พืชตระกูลเดียวกันกับชบา มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น  Paddy’s lucerne , Queensland hemp , Arrowleaf sida , Common sida , Cuba juite ชื่อวิทยาศาสตร์ของขัดมอน คือ Sida rhombifolia L.  ชื่อเรียกอื่นๆของขัดมอน เช่น หญ้าขัดมอนใบยาว ขัดมอนใหญ่ ยุงปัด ยุงกวาด หญ้าขัดใบยาว เน่าะเค้ะ นาคุ้ยหมี่ ลำมะเท็ง อึ่งฮวยอิ๋ว อวกตักซั่ว หญ้าขัดใบยาว เป็นต้น

ชนิดของหญ้าขัด

สำหรับหญ้าขัด มี 4 ชนิด  คือ หญ้าขัดใบยาว , หญ้าขัดใบป้อม , หญ้าขัดหลวง และ หญ้าขัด

ลักษณะของต้นหญ้าขัด

ต้นหญ้าขัด จัดเป็นพืช ชนิดไม้พุ่ม สามารถพบได้ทั่วทุกภาคตามป่าเบญจพรรณ โดยลักษณะของต้นหญ้าขัด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของหญ้าขัด สูงไม่เกิน 1 เมตร ลำต้นกลม สีเขียว มีขน
  • ใบของหญ้าขัด เป็น ใบเดี่ยว เรียงกันตามก้านแบบห่าง ๆ ใบลักษณะเหมือนหอก รูปสามเหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบมีขน โคนใบกลม ขอบใบเป็นแฉกๆฟันเลื่อย โคนใบจะเรียบ
  • ดอกของหญ้าขัด ดอกจะออกตามง่ามใบ มีสีเหลืองอ่อน ลักษณะเป็นรูประฆัง
  • ผลของหญ้าขัด ลักษณะครึ่งวงกลม มีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มอยู่ โดยในแต่ละซีกจะมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด มีขนอยู่ที่ขั้วเมล็ด

สรรพคุณของหญ้าขัด

การใช้ประโยชน์ของหญ้าขัด และ สรรพคุณของหญ้าขัด ที่ใช้ในการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ ส่วนของ รากหญ้าขัด ใบหญ้าขัด ทั้งต้น โดยรายละเอียดของสรรพคุณของหญ้าขัด มีดังนี้

  • ต้นหญ้าขัด ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยลดไข้ รักษาโลหิตเป็นพิษ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง
  • รากของหญ้าขัด ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ร้อนใน รักษาโรคกระเพาะ ขับเลือด ขับรก รักษาอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการปวดมดลูก รักษางูกัด แก้ปวด
  • ใบของหญ้าขัด ใช้เป็นยาบ้วนปาก ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการสะอึก รักาาโรคปอด แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ แก้บวม

ประโยชน์ต้นหญ้าขัด

สำหรับประโยชน์อื่นๆของหญ้าขัด ที่นอกเหนือจากการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น หญ้าขัด สามารถนำมาทำไม้กวาดได้ และ นำมาทำอาหารสัตว์ ได้

โทษของหญ้าขัด

รากและลำต้นของหญ้าขัด มีสรรพคุณ ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก หากใช้ในสตรีมีครรภ์ จะเร่งให้เกิดการขับเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อเด็กใรครรภ์ หรือ อาจทำให้แท้งลูกได้

หญ้าขัด คือ สมุนไพร จัดเป็นพืชชนิดไม้พุ่ม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขัดมอน หญ้าขัดมอนใบรี หญ้าขัดใบมน ประโยชน์ และ สรรพคุณของหญ้าขัด เช่น ช่วยกระตุ้นและบีบมดลูก ช่วยเจริญอาหาร ขับเลือด ขับเสมหะ รักษาโรคปอด ข้อควรระวังในการใช้ขัดมอน หรือ โทษของขัดมอน สามารถทำให้แท้งลูกได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove