บุก ( Konjac ) สมุนไพรสำหรับคนลดน้ำหนัก สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บุกมาทำอาหารเสริม บุกมีสารสำคัญ กลูโคลส แมนโนส ฟลุคโตส และ กลูโคแมนแนนบุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุก

ต้นบุก มีชื่อสามัญว่า Konjac อ่านออกเสียงว่า คอน-จัค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac K.Koch ชื่อเรียกอื่นๆของบุก เช่น บุกคุงคก เบีย เบือ มันซูรัน หัวบุก บุกคางคก บุกหนาม บุกหลวง หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว หมอยื่อ เป็นต้น หัวบุก มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ลักษณะของต้นบุก

ต้นบุก ถือเป็น พืชล้มลุกชนิกหนึ่ง เป็นไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของลำต้นอวบและมีสีเขียวเข้ม ใบบุกเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบของบุกจะแตกใบที่ยอดและใบแผ่ขึ้นเหมือนร่มกาง ดอกของบุกจะมีสีเหลือง จะบานในตอนเย็น มีกลิ่นฉุน ลักษณะเหมือนดอกหน้าวัว ลักษณะของต้นบุก มีดังนี้

  • ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
  • ใบบุก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอกบุก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
  • ผลบุก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สรรพคุณของบุก

สำหรับสรรพคุณของบุก เรานิยมใช่ประโยน์ทางยาของบุก จาก หัว รากและเนื้อของลำต้น รายละเอียด ดังนี้

  • หัวบุก มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
  • รากของบุก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ข้อควรระวังในการบริโภคบุก

สำหรับข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป ซึงข้อควรระวังในการบริโภคบุก มีรายละเอียดดังนี้

  • ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
  • ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
  • กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
  • ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
  • เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
  • กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

ชะมดต้น เทียนชะมด ( Abelmosk ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยคลายเครียด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชะมดต้น สมุนไพร ฝ้ายผี สมุนไพรไทย

ต้นชะมดต้น ทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า เทียนชะมด หรือ ฝ้ายผี สมุนไพร ไม้เนื้ออ่อน ไม้ล้มลุก ชื่ออื่นๆ ของชะมดต้น เช่น ชะมัดต้น ฝ้ายผี เทียนชะมด จั๊บเจี๊ยว หวงขุย เป็นต้น ภาษาอังกฤษ เรียก Abelmosk เป็นพืชตระกูลชบา

ลักษณะของต้นชะมดต้น

ต้นชะมดต้น จัดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อายุประมาณ 1-2 ปี สามารขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย สามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ ต้นชะมดต้น ความสูงของต้นไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นมีขน สีขาวขึ้นปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ออกเป็นดอกเดี่ยว ตามซอกใบ สีเหลืองและสีม่วง ผลของชะมดต้น เป็นทรงกลมยาวคล้ายผลมะเฟือง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีดำ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของชะมดต้น

ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศึกษาชะมดต้น พบว่าในผลของชะมดต้นมีน้ำมันหอมระเหย มีสารMyricetin, Methionine sulfoxide, a-Cephalin และในเมล็ด มีสาร Phosphatidylserine, Plasmalogen โดยน้ำมันหอมระเหยของชะมดต้น มี ambrettolide, ambrdttolic acid, decyl acetate, dodecyl acetate, alpha-macrocyclic lactone, farnesol, 5-dodecnyl acetate, 5-tetradecenyl acetate

สรรพคุณของต้นชะมดต้น

สามารถนำชะมดต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน เมล็ด ราก ดอกใบและผล โดบรายละเอียดของสรรพคุณของชะมดต้น มีดังนี้

  • เมล็ดของชะมดต้น สามารถช่วยเจริญอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุ ใช้แก้ปวดหัว รักษาการกระหาย ขับลม รักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • น้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของชะมดต้น เป็นยาระงับประสาท ช่วยคลายความเครียด ขับลม ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต
  • รากของชะมดต้น สามารถช่วยขับพิษร้อน ลดไข้ แก้ไอเรื้อรัง แก้บิด แก้ท้องผูก รักษานิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคกามโรค รักษาแผลพุพอง รักษาแผลไฟไหม้ แก้พิษฝีหนอง รักษารังแค ช่วยฆ่าเชื้อตามขุมขนและรากผม แก้ปวด รักษาโรคปวดข้อ ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังการคลอดบุตร
  • ดอกของชะมดต้น ช่วยแก้บิด แก้ท้องผูก รักษาโรคพยาธิและขับไส้เดือนรักษานิ่ว
  • ใบของชะมดต้น ใช้ขับพยาธิ  รักษาแผลพุพอง รักษาแผลไฟไหม้ รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคปวดข้อ
  • ผลของชะมดต้น ใช้รักษาฝี

สำหรับสรรพคุณของชะมดต้น คือ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุ ใช้แก้ปวดหัว รักษาการกระหาย ขับลม รักษาโรคกระเพาะอาหาร เป็นยาระงับประสาท ช่วยคลายความเครียด ขับลม ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ช่วยขับพิษร้อน ลดไข้ แก้ไอเรื้อรัง แก้บิด แก้ท้องผูก รักษานิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคกามโรค รักษาแผลพุพอง รักษาแผลไฟไหม้ แก้พิษฝีหนอง รักษารังแค ช่วยฆ่าเชื้อตามขุมขนและรากผม แก้ปวด รักษาโรคปวดข้อ ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังการคลอดบุตร รักษาโรคพยาธิ รักษานิ่ว รักษากลากเกลื้อน ใช้รักษาฝี

ประโยชน์อื่นๆของต้นชะมดต้น

สามารถรับประทานเป็นผัก ใยของเปลือกต้นชะมดต้นสามารถนำมาทำเชือกและกระสอบ เมล็ดของชะมดต้นนำมาโรยป้องกันแมลงได้ รากของชะมดต้นมีสารเหนียวสามารถนำมาทำกระดาษได้ กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยนำมาทำเป็นส่วนประกอบแต่งกลิ่นของอาหาร

ชะมดต้น เป็น สมุนไพร ที่มี สรรพคุณช่วยขับน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอด ส่วน สมุนไพรอื่นๆ ที่เป็น สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด อื่นๆ มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขามมะขาม
กานพลู สมุนไพร เครื่องเทศ สรพคุณของกานพลูกานพลู
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย

ชะมดต้น เทียนชะมด ( Abelmosk ) สมุนไพร ชื่ออื่นๆของชะมัดต้น เช่น ฝ้ายผี เทียนชะมด จั๊บเจี๊ยว หวงขุย เป็นต้น ประโยชน์ของชะมดต้น ลักษณะของต้นชะมดต้น สรรพคุณของชะมดต้น กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ปวดหัว ขับลม รักษาโรคกระเพาะ ช่วยคลายความเครียด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove