อินทนิล ไม้ยืนต้น อินทนิลน้ำ สรรพคุณของอินทนิล รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมัน และ ลดความดันโลหิต ต้นอินทนิน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอินทนิน ต้นอินทนิล สมุนไพร สรรพคุณของอินทนิล

ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร และ จังหวัดระนอง คือ ต้นอินทนิน พบขึ้นกระจายในภาคอีสาน ตามที่ราบลุ่มและริมน้ำในป่าเบญจพรรณชื้น และชายป่าดงดิบ ดอกของต้นอินทนิน จะออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี โดย อินทนิล มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Pride of India ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Lagerstroemia speciosa (L.) Pers. มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ฉ่วงมู ฉ่องพนา ตะแบกดำ บางอบะซา บาเย บาเอ ชื่อเรียกของอินทนิล แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น

อินทนิล เป็น สมุนไพรไทย ที่มีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน รักษาเบาหวาน ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ รักษาแผลในปาก ลดน้ำตาลในเลือด

ลักษณะของต้นอินทนิน 

ต้นอินทนิล เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-20 เมตร มีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูง แผ่กว้าง เป็นพุ่มเหมือนร่ม เปลือกต้นอินทนิลมีสีเทา หรือบางทีพบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกค่อนข้างเรียบ ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ทรงใบเป็นรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 เซ็นติเมตร ยาว 11-25 เซ็นติเมตร ปลายใบลักษณะเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 1 เซ็นติเมตร ไม่มีขน ลักษณะของดอกอินทนิลมีสีม่วงสดอมชมพูป็นช่อโต สวยงาม

สรรพคุณของอินทนิน

อินทนิลมีประโยชน์ทางสมุนไพรอย่างไรบ้าง อินทนิลสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ทั้ง ใบ เปลือก เมล็ด แก่นและราก

  • ใบของอินทนิล จะมีรสจืด และขมฝาด นำใบไปต้มกับน้ำร้อน สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
  • เปลือกของอินทนิล จะมีรสขมฝาด นำไปต้มกับน้ำ สามารถใช้ลดไข้ แก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของอินทนิล จะมีรสขม สามารถนำไปใช้ แก้โรคเบาหวาน ช่วยผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับสบาย
  • แก่นของอินทนิล จะมีรสขม นำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
  • รากขิงอินทนิล จะมีรสขม สามารถนำมาใช้รักษาแผลในปากได้

นอกจากประโยชน์ของอินทนินด้านสมุนไพร แล้ว เนื้อไม้ของอินทนิน นิยมนำมาใช้ในกสร้างอาคารบ้านเรือน ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้องสำหรับมุงหลังคา ทำเรือ ทำเกวียน ทำเครื่องใช้ตกแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพ เป็นต้น

โทษของอินทนิล

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอินทนิล โดยนำมารับประทานเพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้เปลือก หรือ แก่นไม้ มาต้มดื่ม แต่ต้องกรองให้สะอาด เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเจือปน หากดื่มสิ่งสกปรกเจือปนเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้

อินทนิล พืชสมุนไพร ไม้ยืนต้น อินทนิลน้ำ สรรพคุณของอินทนิล คือ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมัน และ ลดความดันโลหิต ชื่อวิทยาศาสตร์ของอินทนิล ต้นอินทนิน สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ ใบ เปลือก ราก และ เมล็ด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กระท้อน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นชื่อ ผลไม้ ที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี ตำบักต้อง หรือ ตำกระท้อน เมนูบ้านๆ แต่กระท้อนมีสรรพคุณ สำหรับ คนรักสวยรักงาม กระท้อนป้องกันสิว กระชับผิว ลดหน้ามันได้ สนใจใน กระท้อน แล้วซิ มาทำความรู้จักกับกระท้อนกัน ว่าผลไม้ชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณการรักษาโรคอะไรบ้าง กระท้อนเป็นผลไม้ มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่คนไทยรู้จักกระท้อนนานมาก

กระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Sentul หรือ Santol หรือ Red sentol หรือ Yellow sentol กระท้อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. ชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน อาทิ เช่น เตียน, ล่อน, สะท้อน,มะต้อง, มะติ๋น ,สตียา, สะตู, สะโต เป็นต้น ผลกระท้อน มีวิตามินเอ วิตามินซีสูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ดีต่อระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระท้อนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ได้ดี ส่วนใบช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืน เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ที่ลำต้นมีกิ่งก้านตั้งแต่กลางลำต้นเป็นต้นไป ใบมีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มใหญ่

  • เปลือกของต้นกระท้อน เป็นผิวเรียบ สีน้ำตาล เนื้อไม้ของต้นกระท้อน เมื่อยังเป็นต้นอ่อนจะหักง่าย เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อไม้จะมีความแข็งปานกลาง
  • ใบของกระท้อน เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากปลายกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว ปลายใบมน ใบค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ มีขนอ่อนๆและสากมือ ขอบใบหยักเป็นลูกคลื่น
  • ดอกของกระท้อน จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและซอกกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีประมาณช่อดอก 4 ช่อ ดอกยาว ดอกตูมมีสีเขียว ดอกบานมีสีเหลือง ดอกของกระท้อนจะพัฒนาเป็นผล
  • ผลและเมล็ดของกระท้อน ผลกระท้อนมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเรียบ และมีขนทั่วผล ที่ผลจะมียางสีขาว ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกหยาบก้าน มีรอย่น เปลือกจะมีความหนา ภายในผลจะมีเนื้อผล และเมล็ด สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

นักโภชนาการได้มีการศึกษาผลกระท้อนขนาดต่อ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม แคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และวิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

คุณค่าทางสมุนไพร สำหรับการรักษาโรคของกระท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ผล ใบ เปลือกและเนื้อไม้ รายละเอียดดังนี้

  • ผลของกระท้อน ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดคอเรสเตอรอล
  • เปลือกของกระท้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อจุลินทรีย์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาการอักเสบ รักษาแผลในปาก ป้องกันฟันผุ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • ใบของกระท้อน ช่วยในการขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยลดไข้ ลดอาการหนาวสั่น รักษากลากเกลื้อน และรักษาโรคผิวหนัง
  • รากของกระท้อน ช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปลูกกระท้อน

กระท้อนชอบพื้นที่ลุ่ม สำหรับการปลูกกระท้อนให้ยกร่องสูง ทนน้ำท่วม

  • การเตรียมแปลง ต้องไถให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก ขุดลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นระยะห่างต่อหลุ่มประมาณ 6 เมตร
  • การปลูก แนะนำให้ปลูกช่วงฤดูฝน นำต้นพันธุ์ลงปลูกตรงกลาง ใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้คลุมรอบโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การให้น้ำ ให้น้ำสัปดาห์และ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ และให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นกระท้อนเริ่มออกดอกและติดผล
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลักในช่วง 2 ปีแรก ที่ยังไม่ให้ผล จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล
  • การเก็บเกี่ยวผล ให้ห่อผล เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวเปลือกผล เมื่อผลโต และมีสีเขียวอมเหลือง ให้ใช้กระดาษ ห่อ เพื่อป้องกันศัตรูพืชทำลาย และช่วยให้ผิวเรียบ สวย

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove