ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา

ฟักเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์และสรรพคุณลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

ฟักเขียว สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักเขียว

ฟักเขียว พืชสมุนไพรริมรั่ว สรรพคุณสุดน่าทึ่ง ฟักเขียวสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเมร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงปอด และบำรุงเลือด แต่ประโยชน์ของฟักเขียวยังมีมากกว่านี้มาก สำหรับฟักเขียว เป็นอย่างไร การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ทางยา การรักษาโรค ทำอย่างไร วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับฟักเขียวอย่างละเอียด

ต้นฟักเขียว หรือ ต้นฟักแฟง ซึ่งคนไทยเรียกสั้นๆว่า “ฟัก” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Winter Melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ฟักเขียวถูกจัดให้เป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของฟักเขียว มีมากมาย เรียกต่างกันตามท้องถิ่น อาทิ เช่น ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม บักฟัง ฟักขาว ฟักจีน แฟง ขี้พร้า มะฟักหอม เป็นต้น

ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของฟักเขียว

ฟักเขียว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเดียวกับ บวบ มะระ และแตงกวา เป็นพืชที่มีการปลูกมากในประเทศเขตร้อน ตามทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกา ลักษณะของฟักเขียว เป็นพืชอายุสั้น

  • ลำต้นของฟักเขียว ลำต้นยาว เป็นลักษณะเถา มีสีเขียวมีขนปกคลุมตลอดทั้งลำต้น
  • ใบของฟักเขียว ใบเป็นหยัก ปลายใบแหลม โคนของใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวของใบจะหยาบมีขน สีเขียวเข้ม ส่วนก้านใบนั้นจะยาวประมาณ 10เซนติเมตร
  • ดอกของฟักเขียว จะออกดอกตามง่ามของใบ ลักษณะเป้นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกมีเกสรตัวผุ้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
  • ผลของฟักเขียว รูปกลมยาวเหมือนไข่ ผลมีความกว้างประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20 ถึง 40 เซนติเมตร เปลือกของฟักเขียว จะแข็งและมีสีเขียว  เนื้อของผลฟัก เป็นสีเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ เนื้อแน่น มีเมล็ดสีขาวอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดของฟักเขียว เป็นรูปไข่ ลักษณะแบน ผิวเรียบมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดของฟักเขียวสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สำหรับในบ้านเรานั้นผลฟักเขียวจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล ใช้บริโภคทั้งแบบดิบและแบบสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำมากกว่า

การปลูกต้นฟักเขียว

สำหรับ การปลูกต้นฟักเขียว นั้น ใช้การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของฟักเขียวจะอยู่ที่ผลสุกของฟักเขียว นำเมล็ดมาปลูก ง่าย ฟักเขียวชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำมาก แต่ต้องการให้ดินชื้นเสมอ การปลูกต้นฟักเขียว ให้เตรียมหลุมปลูกลึกสัก 5 เซ็นติเมตร นำเมล็ดฟักเขียวลงและฝังกลบ ต้นอ่อนจะงอกออกมาภายใน 3-5 วัน และจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ สำหรับผลฟักเขียวสามารถเก้บเกี่ยวผล ภายใน 60 วัน

คุณค่าทางอาหารของฟักเขียว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของฟักเขียว พบว่า ผลสดของฟักเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 กรัม แคลเซียม 19  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม โซเดียม 6 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 111 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 4 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม และวิตามินซี 13 มิลลิกรัม

ฟัก เป็นพืชที่ นิยมนำมาทำอาหาร สำหรับอาหารไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น อาหาร เมนูต้ม เมนูแกง เนื่องจากเนื้อฟักเมื่อต้มจนแล้วจะนุ่มและเปื่อย สำหรับ เมนูฟักเขียว ที่เป็นที่รู้จัก คือ แกงเขียวหวานไก่ แกงเลียงกุ้งสด เป็นต้น แต่นอกจากอาหารคาวเมนูต่างๆ ฟักเขียว ก็สามารถนำมาทำขนมไทย เมนูของหวานได้เช่นกัน อาทิเช่น ขนมฟักเชื่อม ฟักกวน เป็นต้น แต่ก็มี ข้อควรระวังในการรับประทานฟักเขียว ให้ระวังในการรับประทาน สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย และแน่นหน้าอก

สรรพคุณของฟักเขียว

สำหรับ การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ ด้านยา และการรักษาโรคนั้น เราจะแยก สรรพคุณของฟักเขียว ตามส่วนต่างๆของต้นฟัก ซึ่งนิยมนำฟักมาใช้ประโยชน์ในส่วน ผล เมล็ด ใบ เถา รากและเปลือก

  • รากของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหนองใน
  • เปลือกของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาบาดแผล
  • ใบของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยแก้พิษจากการถูกผึ้งต่อย
  • เมล็ดของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ บำรุงกำลัง บำรุงผิว ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ช่วยรักษาวัณโรค ช่วยบำรุงปอด ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาลำไว้อักเสบ เป็นยา ระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยลดอาการอักเสบ
  • เถาของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ รักษาเบาหวาน บำรุงกำลัง  บำรุงระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ  ช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด แก้ท้องอืด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน

การเลือกซื้อฟักเขียว

สำหรับ การรับประทานฟักเขียว หากไม่ได้ปลูกเอง แล้ว เทคนิคการเลือกฟักเขียว ที่ดี มีดังต่อไปนี้ ควรเลือกฟักเขียวที่มีเนื้อแข็ง เนื่องจากเนื้อที่แข็งเวลานำมาทำอาหารจะกรอบและมีรสหวาน น่ารับประทาน ลักษณะเนื้อฟักเขียวที่ดี จะมีสีเขียวบริเวณขอบและค่อยๆขาวขึ้นเมื่อเข้าไปในแกน สำหรับ การเก็บรักษาฟักเขียว สามารถเป็นไว้ได้นานเป็นเดือน

ฟักเขียว ( Winter Melon ) สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์ของฟักเขียว สรรพคุณของฟักเขียว ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ทำความรู้จักกับฟักเขียว คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove