หืดหอบ หอบหืด ( Asthma ) ภาวะหลอดลมอักเสบ เกิดการหดตัวแบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโรคหืดหอบ โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก

ลักษณะของโรคหืดหอบ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกอาการของโรคหอบหืด ที่แสดงได้ชัดเจน คือ เหนื่อยหอบ หายใจเสียงหวีด แน่นหน้าอก หายใจลำบากและมีอาการไอ เกิดขึ้นถี่และรบกวนการใช้ชีวิต ต้องใช้ยาบรรเทาอาการหายใจไม่ออก

โรคหืดหอบ คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ชนิดเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต เพราะ ทำให้หายใจไม่ออก หากเกิดในเด็ก อาจทำให้พัฒนาการเรียนรู้ช้า หากเกิดในวัยผู้ใหญ่การทำงานก็จะไม่เต็มที่ ชีวิตประจำวันจะไม่ปรกติ ผู้ป่วยโรคหืดหอบ ต้องรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

โรคหืดหอบในประเทศไทย 

สำหรับโรคหืดหอบในประเทศไทย นั้น พบได้ร้อยละ 7 ของประชากรในประเทศ โรคนี้พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่อัตราการเกิดโรคในเด็กช่วงอายุ 10 – 12 ปี มากที่สุด โดยพบว่าเด็กร้อยละ 10-12% ของเด็กทั้งหมดมีโอกาสเป็นโรคหืดหอบ โดยเฉพาะประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วโลกพบว่าโรคนี้มีแนวโน้มเกิดมากขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2538 มีผู้ป่วย 66,679 คน และ ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยเป็น 102,273 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบมีปัจจัยต่างๆของการเกิดโรค หลายสาเหตุ สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคหอบหืด ได้ดังนี้

  • เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าคนที่มีประวัติการเป็นโรคหอบหืด คนในครอบครัวที่สืบเชื้อสายเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า
  • การเกิดโรคภูมิแพ้ สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทางเดินหายใจมีโอกาสเกิดโรคหืดหอบได้
  • การสูดดมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม หรือ ควันบุหรี่ สูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจนานๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจผิดปรกติได้
  • ภาวะการการออกกำลังกายน้อย หรือ ออกกำลังกายในสภาพอากาศเย็นทำให้ระบบทางเดินหายใจหดตัว
  • ภาวะความเครียดสะสม ความเครียดส่งผลให้ระบบการหายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว
  • การได้รับสารพิษ โดยเฉพาะสารในกลุ่มซัลไฟต์ ( Sulfites ) และ สารกันบูด โดยสารเหล่านี้มักจะเจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
  • ภาวะการเกิดโรคกรดไหลย้อน กรดในกระเพาะอาหารหากไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดได้
  • การติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

การกำเริบของโรคหืดหอบ

สำหรับการเกิดโรคหืดหอบกำเริบสามารถเกิดได้ตลอดเวลา โดยสัญญาณเตือนและอาการที่แสดงออกจากระบบหายใจอุดกั้น ต้องรับการรักษาจากแพทย์โดยด่วน สถานการณ์ต่างๆที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหืดหอม มีดังนี้

  • หืดหอบขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ หากออกกำลังกายหนักเกินไป ทำให้อาการกำเริบได้ แต่ผู้ป่วยโรคหืดหอมสามารถออกกำลังกายได้ โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังในสภาพอากาศแห้งและเย็น
  • หืดหอบขณะทำงาน สำหรับสภาพอากาศที่มีสารพิษ ฝุ่น ควันและแก๊ส สามารถทำให้เกิดอาการกำเริบของหืดหอบได้
  • หืดหอบจากการแพ้อากาศ สำหรับผู้ป่วยที่อาการแพ้อากาอยู่แล้ว หากถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ ในภาวะอากาศเย็น ทำให้เกิดอาการกำเริบได้

อาการของโรคหืด

สำหรับอาการของโรคหืดหอบนั้นจะแสดงอาการแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยอาการของโรคหืดหอบโดยทั่วไป มีการแสดงอาการ ดังนี้

  • ภาวะการหายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจลำบากหายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงวี้ด
  • เจ็บหน้าอก
  • มีอาการแน่นหน้าอก
  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไอ
  • มีปัญหานอนหลับ หลับไม่สนิท

สำหรับการแสดงอาการของโรคหืดหอบที่รุนแรงต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน มีดังนี้

  • มีอาการหายใจหอบและถี่
  • หายใจลำบากและมีเสียงดัง
  • หากใจลำบาก และ ใช้อุปกรณ์พ่นยาช่วยแต่ไม่ดีขึ้น
  • หายใจหอบ เมื่อทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบ หากเป็นภาวะโรคระดับเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและเป็นอันตรายต่อชีวิต มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของโรคหืดหอบ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ภาวะปอดแฟบ ภาวะหมดแรง ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใน เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบที่ร้ายแรง เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต จากโรคหืดหอบ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะปอดทะลุ ภาวะมีอากาศในประจันอกและใต้หนัง เป็นลมจากการไอ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนโรคหืดหอบในสตรีมีครรภ์ สำหรัยผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ จะไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหืดหอบได้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกตลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย หรือ ทารกตายในครรภ์ เป็นต้น

การรักษาโรคหืด

สำหรับการรักษาโรคหืดหอบในปัจจุบัน ไม่มีวิธีการรักษาให้โรคนี้หายขาดได้ แต่การรักษาทำเพื่อการควบคุมอาการให้เป็นปกติมากที่สุด ผู้ป่วยที่มีอาการหืดหอบบ่อย จะได้รับยาเพื่อลดอาการของโรค แนวทางการรักษามีแนวทาง คือ การให้ยาเพื่อควบคุมอาการของโรค การรักษาเพื่อบรรอาการของโรค และ การปรับพฤติกรรมเพื่อลดการกระตุ้นการเกิดโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาควบคุมการเกิดโรคหืดหอบ ผู้ป่วยต้องใช้เป็นประจำ เพื่อการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Inhaled Corticosteroid ) และ ยากลุ่มอื่น ๆ เช่น ยาต้านลิวโคไทรอีน ( Leukotriene Modifier Antagonist ) เป็นต้น
  • การบรรเทาอาการหอบหืด ได้แก่ การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม
  • การปรับพฤติกรรมต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหืดหอบ เช่น รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อม การไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป การไม่ออกแรงมากเกินไป เป็นต้น

การป้องกันโรคหืดหอบ  

แนวทางการป้องกันโรคหืดหอบ เป็นสิ่งที่สำคัณและควรทำมากที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดโรค เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหืดหอบให้หายขาด การดูแลตนเองและป้องกันการเกิดโรคหืดหอบ มีดังนี้

  • หมั่นตรวจร่างกาย ตรวจสอบการหายใจ ประจำปี
  • รับวัคซีนต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหิืดหอบ เช่น รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการถูกกระตุ้นให้เกิดโรคหืดหอบ เช่น ไม่อยู่ในสถานที่ที่สภาพอากาศไม่ดี ไม่ออกกำลังกายขณะอากาศเย็นจัด
  • หากมีอาการโรคหืดหอบ ต้องเข้าพบแพทย์และรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
  • เรียนรู้เรื่องการป้องกันตับพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม ถูกสุขอนามัย
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคหืดหอบ ( Asthma ) การอักเสบของหลอดลม ภาวะการหดตัว หรือ ตีบแคบของหลอดลม แบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ โรคของคนกรุง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร โรคระบบทางเดินหายใจ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove