มะเร็งหลอดอาหาร เนื้อร้ายที่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการกลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร เสมหะมีเลือด อาเจียนมีเลือด มักเกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสมและสูบบุหรี่
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ภาษาอังกฤษ เรียก Esophageal cancer เป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร เป็นมะเร็งที่พบมากในอันดับ 7 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งโลก ซึ่งมะเร็งหลอดอาหารพบมกในประเทศกำลังพัฒนา เราจะมาศึกษา เรื่องของมะเร็งหลอดอาหาร ความรู้เรื่องมะเร็งหลอดอาหาร ว่า สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร อาการของมะเร็งหลอดอาหาร การรักษามะเร็งหลอดอาหารทำอย่างไร การดูแลและป้องกันการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร คือ โรคเนื้อร้ายที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปรกติ และเกิดการแพร่กระจายสู่ ระบบน้ำเหลือง และ กระแสโลหิต ส่งผลให้เนื้อร้ายกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกาย

สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้นเกิดจากปัจจัยการบริโภค พฤติกรรมส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อหลอดอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุปผปัจจัยของสาเหตุการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การเสพสิ่งเสพติด เช่น สุรา การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารที่มีสารไนโตรโซ อาหารที่มีสารกันบูด อาหารปิ้งย่าง
  • อาการแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ จนเกิดเนื้อร้ายของหลอดอาหาร
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิที่หลอดอาหาร
  • การอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งสาเหตุของกานอักเสบมีหลายสาเหตุ เช่น การกลืนสารพิษที่มีฤทธ์เป็นกรด โรคเรื้อรังที่หลอดอาหาร เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น มีทั้งหมด 4 ระยะ  ซึ่งโรคมะเร็งระยะต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 1 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งที่หลอดอาหารมีขนาดเล็ก และเนื้อร้ายยังอยู่เฉพาะภายในหลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งจะลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อชั้นนอกของหลอดอาหาร เกิดการลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 3 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งลุกลามจากเนื้อเยื้อด้านนอกของหลอดอาการ สู่อวัยวะที่อยู่ใกล้กับหลอดอาหาร เช่น ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 4 ในระยะสุดท้ายเนื้อร้ายลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่ห่างจากหลอดอาหารมากขึ้น เช่น ช่องท้อง ไหปลาร้า คอ กระแสเลือด ปอด กระดูก ตับ และผิวหนัง เป็นระยะสุดท้ายที่รักษาไม่ได้แล้ว

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น ผู้ป่วยในระยะแรกมักจะไม่มีอาการให้เห็น เมื่อถึงระยะของการเกิดโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กลืนอาหารลำบาก รู้สึกเหมือนมีอะไรติดเวลากลืนอาหาร มีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร นานๆไปจะสำลักเวลากลืน เสมหะมีเลือดปน และอาเจียนเป็นเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ผอม และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีโอกาสมะเร็งลามไปยังอวัยวะอื่นๆ

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

การวินิจฉัย โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น เริ่มจากการสอบประวัติของผู้ป่วย ตรวจร่างกายตรวจเลือด เพื่อดูความปรกติในการทำงานของตับ ไตและระดับเกลือแร่ในร่างกาย ตรวจต่อมน้ำเหลืองที่ไหปลาร้า จากนั้นเอกซเรย์ การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร และตัดชิ้นเนื้อหลอดอาหารไปตรวจ

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น มีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดวิธีการรักษา ว่าจะใช้วิธีการรักษาอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ ระยะของโรค ตำแหน่งของเนื้อร้ายและตัวผู้ป่วยเองว่ามีความพร้อมอย่างไร การรักษาวิธีต่างๆมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดใช้รักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มต้นๆ การผ่าตัดเนื้อร้ายออก เพื่อป้องกันการลุกลามของเนื้อร้ายและช่วยในเรื่องการกลืนอาหาร
  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร โดยการฉายรังสี เป็นการควบคุมเนื้อร้ายไม่ให้ลุกลาม การรักษาวิธีนี้จะรักษาร่วมกับการทำเคมีบำบัด
  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยารักษาตรงที่มะเร็งหลอดอาหาร การให้ยาเคมีบำบัดจะมีวัตถุประสงค์ในการรักษา เช่นเดียวกับการฉายรังสีรักษา คือ ป้องกันการแพร่กระจายของเนื้อร้าย

การป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร เราไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันการเกิดโรคที่ดีที่สุด คือ การลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค โดยแนวทางปฏิบัติตน มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารและเป็นปัญหาต่อสุขภาพ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้
  • ควบคุมน้ำหนัก และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่างกายที่ไม่อ้วนลดโอกาสเสี่ยงการเกิดดรคต่างๆได้
  • รักษาโรคต่างๆที่เกิดกับหลอดอาหาร การเกิดโรคที่หลอดอาหาร เพิ่มโอกาสเสี่ยงความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายโดยเฉพาะหลอดอาหาร

สมุนไพร ที่มีเบต้าแคโรทีนสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ สมุนไพรช่วยป้องกันมะเร็ง ได้ วันนี้เรารวมรวม สมุนไพรช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง มาให้เพื่อนเพื่อเป็นข้อมูล

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง

โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น สาเหตุสำคัญ จากพฤติกรรม การดำรงค์ชีวิต ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้น การใส่ใจสุขภาพ อย่าทำร้ายร่างกายมากนัก จะช่วยให้ ร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องไปหา สมุนไพร มากิน เพื่อรักษามะเร็งเลย

โรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร คือ โรคเนื้อร้ายที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปรกติ เกิดการแพร่กระจายสู่ ระบบน้ำเหลือง กระแสโลหิต และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการ กลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร เสมหะมีเลือด อาเจียนมีเลือด กลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร สาเหตุ อาการ การรักษา การดูแล การป้องกัน

 

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) เกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีก้อนที่คอ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก สามารถลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มะเร็งต่อมไทยรอยด์ โรคมะเร็ง ต่อมไทยลอยด์ โรคต่อมไร้ท่อ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ความรุนแรงของโรคไม่มาก การรักษาได้ผลสูงถึงร้อยละ 80 หากรักษาได้ทันท่วงที สามารถหายและอยู่ได้ถึง 10 ถึง 20 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ความรุนแรงของโรคจะสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ว่าคืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อร้ายที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน และ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน รายละเอียดของชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน ภาษาอังกฤษ เรียก Differentiated carcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ถึง ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน พบว่ามะเร็งชนิดนี้ มีไม่มาก ประมาณร้อยละ 5

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ คนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 80 ปี และโอกาสของการเกิดผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคได้ 3 ปัจจัยใหญ่ คือ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์  โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์บางชนิด มีรายงานว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้
  2. สิ่งแวดล้อม รังสีกัมมันตรังสีมีและรังสีไอออนไนซ์ผลต่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์
  3. การรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์

อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคคอพอก คือ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ไม่มีอาการปวด แต่ในบางครั้งก๋มีอาการปวด เมื่อกดที่ก้อนเนื้อจะมีเสียงแหบ  เนื่องจากก้อนเนื้อลุกลามไปถึงเส้นประสาท ทำให้หายใจลำบาก อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและหลอดอาหารได้ จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะถ้าไม่รักษาให้ทันอจากลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก ได้

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งสิ้น 4 ระยะโดย รายละเอียดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 1 มีโรคเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ และมีการลุกลามไปที่โรคกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 2 มะเร็งมีการเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก ศีรษะ สมองและตับ มากที่สุด ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 3 ระยะนี้มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ ลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 4 ระยะนี้มะเร็งมีการลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย และแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือด เข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

การตรวจโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สามารถตรวจได้จาก การสังเกตุอาการเบื้องต้น จากนั้นตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต เพื่อดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับแคลเซียม เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

การรรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ นี้ มีวิธีที่ใช้อยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การให้กินรังสีแร่ไอโอดีนและการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาทั้ง 3 วิธี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน การผ่าตัดจะเป็นขั้นตอนแรกในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่ในการผ่าตัดนิยมผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ส่วน
  • การให้กินแร่รังสีไอโอดีน เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลายน้ำ จะช่วยไม่ให้มะเร็งลุกลามหลังจากผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว ซึ่งการรักษาโดยให้กินแร่รังสีไอโอดีน อาจต้องกินมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เนื่องจากร่างกายถูกตัดต่อมไทรอยดืออกไป จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนการขาดหายไปอย่างเพียงพอ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) การเกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก หากไม่รักษามะเร็งจะลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก สาเหตุของโรค อาการและระยะของโรค การรักษาทำอย่างไร โรคระบบฮอร์โมน โรคนี้ต้องกินยาตลอดชีวิต มะเร็งต่อมไทรอยด์ รักษาได้ ปัจจัยของการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove